Chonburi Sponsored

ครบรอบ 1 เดือน โศกนาฏกรรม ไฟไหม้ Mountain B ญาติถามหาความรับผิดชอบ

Chonburi Sponsored
Chonburi Sponsored

ครบรอบ 1 เดือน เหตุไฟไหม้ Mountain B ญาติผู้เสียชีวิต รวมตัวมาสถานบันเทิงแห่งนี้ เพื่อไว้อาลัย และถามหาความรับผิดชอบเรื่องค่าเสียหายที่ยังไร้คำตอบ

บรรยากาศในช่วงเช้าที่สถานบันเทิงเมาท์เทน บี ผับ อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี ในวันครอบรอบ 1 เดือนแห่งเหตุการณ์ไฟไหม้ผับ  โดยวันนี้ทางทนายรณณรงค์ แก้วเพชร ประธานเครือข่ายรณรงค์ทวงคืนความยุติธรรมในสังคม ได้พาครอบครัวของเหยื่อผู้เสียชีวิตและผู้ที่ได้รับบาดเจ็บ กว่า 50 ชีวิต เดินมาเพื่อทำกิจกรรมเชิงสัญลักษณ์ ยืนไว้อาลัยแด่ผู้จากไปจากเหตุการณ์ไฟไหม้เมื่อคืนวันที่ 5 สิงหาคมที่ผ่านมา ทำให้มีผู้เสียชีวิตจำนวน 23 คน และบาดเจ็บอีกหลายราย

คปภ. พบผับ “Mountain B” ไม่มีประกันภัย

เจ้าของ “เมาน์เทน บี” อ้างไม่ได้ตั้งใจเปิดผับ

ซึ่งบรรยากาศในวันนี้ยังคงเต็มไปยังคงมีกลิ่นอายความโศกเศร้า ญาติของเหยื่อต่างเตรียมดอกไม้สีขาว และรูปภาพของผู้เสียชีวิตมาด้วย ก่อนนำดอกไม้ไปวางไว้ที่หน้าประตูทางเข้าสถานบันเทิง และยืนไว้อาลัยประมาณ 1 นาทีก่อนเสร็จพิธี

หลังจบพิธีไว้อาลัย ทางผู้ได้รับบาดเจ็บจากเหตุไฟไหม้ได้มีการเปิดบาดแผลร่องรอยบนร่างกายให้สื่อมวลชนดู ซึ่งทุกคนกล่าวตรงกันว่า กังวลเรื่องการงาน ที่ยังไม่แน่นอน เนื่องจากบาดแผลสาหัส ต้องลาหยุดงานเป็นเดือนๆ ซึ่งทุกคนพูดตรงกันว่า
เงินเยียวยาเพียงไม่กี่หมื่น ไม่เพียงพอต่อค่ารักษาพยาบาลที่ผ่านมา

ด้านนายภูรี นีน้อย บิดาผู้เสียชีวิตจากเหตุไฟไหม้ บอกว่า อยากให้ทางญาติและผู้อยู่เบื้องหลังทุกคน ช่วยติดตามเรื่องราวและเรียกร้องเอาผิดกับทางเจ้าของผับ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งทางตำรวจ และภาคปกครอง ที่ปล่อยปะละเลยให้เกิดเหตุการณ์ความสูญเสีย

ด้านทนายรณรงค์ เปิดเผยความคืบหน้าเรื่องการเยียวยาว่า จนถึงขณะนี้มีผู้เสียหายติดต่อมาทั้งหมด 33 ครอบครัว จำนวนเงิน 261 ล้านบาท ซึ่งญาติและครอบครัวผู้เสียหายต้องได้รับเงินเยียวยา

ทนายรณณรงค์ ทิ้งท้ายไว้ว่าส่วนตัว ยังอยากให้ทางกองปราบปราม เข้ามาทำคดีเองแทนตำรวจท้องที่ เพราะตอนนี้ผ่านไปแล้ว 1 เดือนยังไม่เห็นความคืบหน้า ยอมรับว่ากังวล กับกระบวนการยุติธรรมเพราะท้องถิ่นย่อมมีอิทธิพล ส่งผลให้ยืดเยื้ออยู่ ซึ่งยืนยันว่าจะไม่ยอมให้เป็นแบบเหตุการณ์ซานติก้าผับเมื่อ 13 ปีก่อน

อัปเดตข่าวเศรษฐกิจ และการลงทุน ได้ที่ @PPTVOnline

Chonburi Sponsored
อำเภอ สัตหีบ

ช่วงประมาณรัชกาลที่ 5 และรัชกาลที่ 6 สัตหีบเป็นเพียงหมู่บ้านชายทะเล ชาวบ้านประกอบอาชีพทำไร่ ทำนา หาของป่า และประมง การคมนาคมจะใช้ทางน้ำโดยเรือเมล์หรือเรือใบ ส่วนทางบกมีแต่ทางเกวียน ถนนไปชลบุรียังไม่มี ภูมิประเทศส่วนใหญ่ยังเป็นป่ารกทึบ การเดินทางระหว่างเมืองจึงใช้เรือเป็นหลัก ในหมู่บ้านสัตหีบ มีผู้ที่ชาวบ้านนับหน้าถือตามากอยู่คนหนึ่ง ชาวบ้านเรียกว่า "ยายแจง" แกมีฐานะดีมี ที่ดิน เรือ สวน ไร่นามากมาย ตลาดสัตหีบ หนองตะเคียนและโรงเรียนสิงห์สมุทรรวมถึงบริเวณเขาแหลมเทียนอันเป็นที่ตั้งของฐานทัพเรือสัตหีบในปัจจุบันก็เคยเป็นของแก ต่อมา เมื่อกรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ทรงฝึกภาคทะเลกับกองเรือและทรงพักที่อ่าวสัตหีบ ทรงเห็นว่าอ่าวสัตหีบเหมาะเป็นที่ตั้งหน่วยเรือ เพราะมีเกาะใหญ่น้อยช่วยกำบังคลื่นลม พระองค์จึงได้บอกถึงพระประสงค์ที่จะใช้บริเวณเขาแหลมเทียนเป็นที่ตั้งหน่วยทหารเรือ ยายแจงก็ยินดีที่จะถวายให้