Chonburi Sponsored

รถกระบะเสียหลักพุ่งชนร้านข้าวต้มปลาซดหมดชาม – TOPNEWS

Chonburi Sponsored
Chonburi Sponsored
  • เผยแพร่ : 04/09/2022 11:51

รถกระบะเสียหลักพุ่งชนร้านข้าวต้มปลาซดหมดชาม บริเวณปากทางเข้าถนนจรัญญานนท์ ตำบลบางวัว อำเภอบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา จนร้านข้าวต้มปลาพังยับ

เวลา 00.30น.วันที่ 4 กันยายน 2565 เจ้าหน้าที่ตำรวจสภ.บางปะกง ได้รับแจ้งมีรถยนต์เสียหลักพุ่งชนบ้านเรือน บริเวณปากทางเข้าถนนจรัญญานนท์ ตำบลบางวัว อำเภอบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา หลังรับแจ้งร้อยเวรสอบสวน สภ.บางปะกง พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่อาสาสมัครหน่วยกู้ภัยฉะเชิงเทรา จึงได้เดินทางไปตรวจสอบยังที่เกิดเหตุ เมื่อไปถึงพบรถยนต์กระบะยี่ห้อมิตซูบิชิ ไทรทัน 4 ประตู สีเทา หมายเลขทะเบียน 7 กม 9139 กทม.พุ่งชนเข้าไปในร้านข้าวต้มปลาซดหมดชาม

ในสภาพด้านหน้ารถพังยับ ข้าวของในร้านพังเสียหาย ใกล้กับพบนายสุรศักดิ์ เหลืองสุขเจริญ เพื่อนเจ้าของรถที่นั่งมาด้วยยืนดูเหตุการณ์อยู่ในที่เกิดเหตุ ได้เล่าว่า ตนนั่งรถมากับนายมานะ สายสา คนขับ พึ่งเลิกงานกำลังจะกลับบ้านที่ตำบลแสนภูดาษ อำเภอบ้านโพธิ์ จังหวัดฉะเชิงเทรา เมื่อมาถึงที่เกิดเหตุ มีแอ่งน้ำอยู่ ทำให้รถเลี้ยวหลุดโค้ง ประกอบด้วยรถมาด้วยความเร็ว จึงควบคุมรถไม่ได้ ก่อนเสียหลักพุ่งเข้าชนร้านข้าวต้มปลาดังกล่าว
ปล่อยสัมภาษณ์นายสุรศักดิ์ เหลืองสุขเจริญ ผู้ชายใส่ชุดทำงานสีขาว

ด้านนายธนภัทร ธนวงค์เกษม อายุ 63 ปี พักอาศัยอยู่บ้านเลขที่ตามบัตรประจำตัวประชาชนที่ 45/1หมู่ที่ 6 ตำบลหน้าพระธาตุ อำเภอพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี ได้เล่าเพิ่มเติมว่า ตนเองมาเช่าตึกดังกล่าวเปิดร้านข้าวต้มอยู่ตรงนี้มานานแล้ว และจะเปิดขายทุกวัน ตั้งแต่ 5-โมงเย็นถึงตีหนึ่ง แต่วันนี้ตนเองโชคดีมาก เนื่องจากวันนี้ตนเองปิดร้าน และนอนพักอยู่บนตึก ไม่งั้นคงได้รับบาดเจ็บหนักแน่นอน ด้านเจ้าหน้าที่ตำรวจ สภ.บางปะกง จะได้ทำการรวบรวมหลักฐานพร้อมเรียกคู่กรณีทั้ง 2 ฝ่าย เข้าให้ปากคำเพิ่มเติม เพื่อหาสาเหตุของการเกิดเหตุที่แท้จริงต่อไป

สราวุฒิ บุญสร้าง ผู้สื่อข่าวTOPNEWS ประจำ จ.ฉะเชิงเทรา

Chonburi Sponsored
อำเภอ พนัสนิคม

สมัยเมืองพนัสนิคม ในปี พ.ศ. 2371 กำเนิดเมืองขึ้นในสมัยรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระบรมราชานุญาตให้กลุ่มลาวอาสาปากน้ำมาสร้างภูมิลำเนาขึ้นในพื้นที่รกร้างระหว่างเมืองชลบุรีกับเมืองฉะเชิงเทรา พระราชทานนามเมืองว่าพนัสนิคม (บางเอกสารเขียน“พนัศนิคม”) มีฐานะเป็นเมืองจัตวา ขึ้นกับกรมท่า กรุงเทพมหานคร ให้ท้าวอินทิสาร (บางเอกสารเขียน”อินทพิศาล”) หรือ ท้าวทุม ปลัดลาว เมืองสมุทรปราการ บุตรชายคนโตของท้าวไชย (บางเอกสารเขียน”ศรีวิไชย”) อุปราชเมืองนครพนม ให้เป็นเจ้าเมืองพนัสนิคมคนแรกและพระราชทานราชทินนามและบรรดาศักดิ์ที่พระอินทอาษา (บางเอกสารเขียน“อินทรอาษา, อินทอาสา, อินทราษา“) มีข้อความในพระราชพงศาวดารว่า “พวกลาวอาสาปากน้ำ ตั้งขึ้นเมื่อครั้งในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้าสุลาลัย ภายหลังเมื่อปีชวดสัมฤทธิศก พวกลาวไม่สบาย ขอไปตั้งอยู่ที่เมืองพระรถ จึงโปรดให้ตัดเอาแขวงเมืองชลบุรี เมืองฉะเชิงเทรา มาตั้งเป็นเมืองขึ้นชื่อเมืองพนัศนิคม เจ้าเมืองชื่อพระอินทอาษา” (พระราชพงศาวดาร กรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 3 เล่ม 2 ของ เจ้าพระยาทิพากรวงศ์ ฉบับคุรุสภา พิมพ์ครั้งที่หนึ่ง พ.ศ. 2504 หน้า 180) โดยลาวบุกเบิกเมืองพนัสนิคม เป็นลาวเมืองนครพนม อ้างถึงการอพยพมาสยามครั้งแรกนำโดยท้าวไชย อุปราชเมืองนครพนม เป็นโอรสในพระบรมราชา (ท้าวกู่แก้ว) เจ้าเมืองนครพนม (เมืองนครพนมในอดีต เป็นหัวเมืองในราชอาณาจักรล้านช้างเวียงจันทน์ ประเทศราชของสยาม) ไม่สมัครใจอยู่ในปกครองของพระบรมราชา (มัง) เจ้าเมืองนครพนมคนใหม่ จึงอพยพพาสมัครพรรคพวก บุตรหลาน ท้าวเพี้ย ขอพึ่งพระบรมโพธิสมภารพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย เมื่อกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2352 และโปรดเกล้าฯให้ตั้งบ้านเรือนอยู่คลองมหาวงษ์ เมืองสมุทรปราการ ยุคนั้นจึงเรียกคนกลุ่มนี้ว่าพวกลาวอาสาปากน้ำ แต่ทนสภาพแวดล้อมไม่ไหว เพราะเป็นชาวดอนน้ำจืด ถูกให้ไปอยู่เมืองลุ่มน้ำกร่อยและเค็ม เลยขอเปลี่ยนไปอยู่ที่อื่น ซึ่งสภาพใกล้เคียงที่ดอน ลาวนครพนมกลุ่มนี้ได้บุกเบิกสร้างเมืองพนัสนิคม