Chonburi Sponsored

กรมส่งเสริมการเกษตร คว้า 13 รางวัลเลิศรัฐ ประจำปี 2565

Chonburi Sponsored
Chonburi Sponsored

คณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.) ประกาศรางวัลเมื่อวันที่ 30 สิงหาคม 2565 ให้กับหน่วยงาน
ที่มีผลการดำเนินการเป็นเลิศทั้งในด้านการเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการภาครัฐ การพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐและเปิดระบบราชการให้ภาคส่วนอื่นเข้ามามีส่วนร่วม โดยกรมส่งเสริมการเกษตร ได้รับรางวัลจำนวน รวม 13 รางวัล แบ่งเป็นรางวัลระดับดีเด่น จำนวนรวม 4 รางวัล และระดับดี จำนวนรวม 9 รางวัล พร้อมเข้ารับรางวัลในวันที่ 12 กันยายนนี้

นายเข้มแข็ง ยุติธรรมดำรง อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร กล่าวว่า กรมส่งเสริมการเกษตร ได้รับ 13 รางวัลเลิศรัฐ ประจำปี 2565 โดยได้รับรางวัลการบริหารราชการแบบมีส่วนร่วม ประเภทร่วมใจแก้จน ระดับดีเด่น จำนวน 4 รางวัล

จากผลงาน “มังคุดแก้จนคนทำแปลงใหญ่ มังคุดคิชฌกูฏ” โดยสำนักงานเกษตรจังหวัดจันทบุรี, “วิสาหกิจชุมชนพัฒนาผลิตภัณฑ์พืชผักสมุนไพรและผลไม้ อ.บ้านโฮ่ง จ.ลำพูน” โดยสำนักงานเกษตรจังหวัดลำพูนและสำนักงานการปฏิรูปที่ดินจังหวัดลำพูน, “ฟักทองเงินล้าน@สุพรรณบุรี” โดยสำนักงานเกษตรจังหวัดสุพรรณบุรี และ “โครงการหนองเม็กโมเดล พลิกวิถีผักอินทรีย์ ร่วมใจแก้จน คนอำนาจเจริญ” โดยสำนักงานเกษตรจังหวัดอำนาจเจริญ และรางวัลการบริหารราชการแบบมีส่วนร่วม ระดับดี จำนวน 8 รางวัล ได้แก่ 1.รางวัลการบริหารราชการแบบมีส่วนร่วม ประเภทร่วมใจแก้จน ระดับดี จำนวน 4 รางวัล จากผลงาน “วิสาหกิจชุมชนแปลงใหญ่ผู้ปลูกไผ่ ร่วมใจแก้จน ชุมชนบ้านอ่างเตย”

โดยสำนักงานเกษตรจังหวัดฉะเชิงเทรา, “จิ้งหรีดแปลงใหญ่แก้จนแบบคนบุรีรัมย์” โดยสำนักงานเกษตรจังหวัดบุรีรัมย์, “หนองค้าพารวย ด้วยศูนย์จัดการดินปุ๋ยชุมชน” โดยสำนักงานเกษตรจังหวัดศรีสะเกษ และ “ท่องเที่ยวเกษตรวิถีใหม่ ขจัดภัยยากจนสู่ชุมชนบ้านปรก” โดยสำนักงานเกษตรจังหวัดสมุทรสงคราม 2. รางวัลการบริหารราชการแบบมีส่วนร่วม ประเภทสัมฤทธิผลประชาชนมีส่วนร่วม ระดับดี จำนวน 4 รางวัล จากผลงาน การพัฒนาวิสาหกิจชุมชนแปลงใหญ่ขนุน ต.หนองเหียง อ.พนัสนิคม จ.ชลบุรี โดยสำนักงานเกษตรจังหวัดชลบุรี, โครงการส่งเสริมเกษตรแบบแปลงใหญ่ไม้ดอกบ้านตาติด ต.โนนผึ้ง อ.วารินชำราบ จ.อุบลราชธานี โดยสำนักงานเกษตรจังหวัดอุบลราชธานี, การควบคุมหนอนหัวดำมะพร้าวแบบมีส่วนร่วม ต.โรงเข้ อ.บ้านแพ้ว จ.สมุทรสาคร โดยสำนักงานเกษตรจังหวัดสมุทรสาคร และศูนย์จัดการศัตรูพืชชุมชนต้นแบบการแก้ไขปัญหาและพัฒนาที่ยั่งยืน ต.แม่ตืน อ.ลี้ จ.ลำพูน โดยศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านการอารักขาพืช จังหวัดเชียงใหม่ และรางวัลบริการภาครัฐ ประเภทพัฒนาการบริการ ระดับดี จำนวน 1 รางวัล จากผลงาน “กรมส่งเสริมการเกษตรแก้วิกฤตศัตรูพืชอุบัติใหม่ใบด่างมันสำปะหลัง” โดย กองส่งเสริมการอารักขาพืชและจัดการดินปุ๋ย และกองขยายพันธุ์พืช

อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร กล่าวเพิ่มเติมว่า ที่มาแห่งความสำเร็จในการได้รับรางวัลครั้งนี้คือ เจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาคในพื้นที่ต่างๆ ได้ดำเนินการส่งเสริมเกษตรกรตามระบบส่งเสริมการเกษตร (T&V system) โดยถ่ายทอดความรู้ เยี่ยมเยียน สนับสนุน เป็นพี่เลี้ยง ตลอดจน ส่งเสริมการจัดการข้อมูลเพื่อให้เกษตรกรร่วมกันวิเคราะห์วางแผนดำเนินงานกลุ่มและเชื่อมโยงเครือข่ายระหว่างกลุ่ม ชุมชน และบูรณาการร่วมกับหน่วยงานอื่นๆ เพื่อให้เกษตรกรสามารถทำการเกษตรได้อย่างมีประสิทธิภาพ ลดปัญหาด้านศัตรูการเกษตรอย่างเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ปลอดภัยต่อผู้บริโภค ผลิตสินค้าเกษตรที่หลากหลายลดปริมาณผลผลิตเหลือทิ้งอย่างมีคุณภาพได้มาตรฐาน ตรงตามความต้องการของตลาด และตอบสนองต่อ BCG model ทำให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้น มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น และชุมชนเกิดความยั่งยืน

Chonburi Sponsored
อำเภอ พนัสนิคม

สมัยเมืองพนัสนิคม ในปี พ.ศ. 2371 กำเนิดเมืองขึ้นในสมัยรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระบรมราชานุญาตให้กลุ่มลาวอาสาปากน้ำมาสร้างภูมิลำเนาขึ้นในพื้นที่รกร้างระหว่างเมืองชลบุรีกับเมืองฉะเชิงเทรา พระราชทานนามเมืองว่าพนัสนิคม (บางเอกสารเขียน“พนัศนิคม”) มีฐานะเป็นเมืองจัตวา ขึ้นกับกรมท่า กรุงเทพมหานคร ให้ท้าวอินทิสาร (บางเอกสารเขียน”อินทพิศาล”) หรือ ท้าวทุม ปลัดลาว เมืองสมุทรปราการ บุตรชายคนโตของท้าวไชย (บางเอกสารเขียน”ศรีวิไชย”) อุปราชเมืองนครพนม ให้เป็นเจ้าเมืองพนัสนิคมคนแรกและพระราชทานราชทินนามและบรรดาศักดิ์ที่พระอินทอาษา (บางเอกสารเขียน“อินทรอาษา, อินทอาสา, อินทราษา“) มีข้อความในพระราชพงศาวดารว่า “พวกลาวอาสาปากน้ำ ตั้งขึ้นเมื่อครั้งในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้าสุลาลัย ภายหลังเมื่อปีชวดสัมฤทธิศก พวกลาวไม่สบาย ขอไปตั้งอยู่ที่เมืองพระรถ จึงโปรดให้ตัดเอาแขวงเมืองชลบุรี เมืองฉะเชิงเทรา มาตั้งเป็นเมืองขึ้นชื่อเมืองพนัศนิคม เจ้าเมืองชื่อพระอินทอาษา” (พระราชพงศาวดาร กรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 3 เล่ม 2 ของ เจ้าพระยาทิพากรวงศ์ ฉบับคุรุสภา พิมพ์ครั้งที่หนึ่ง พ.ศ. 2504 หน้า 180) โดยลาวบุกเบิกเมืองพนัสนิคม เป็นลาวเมืองนครพนม อ้างถึงการอพยพมาสยามครั้งแรกนำโดยท้าวไชย อุปราชเมืองนครพนม เป็นโอรสในพระบรมราชา (ท้าวกู่แก้ว) เจ้าเมืองนครพนม (เมืองนครพนมในอดีต เป็นหัวเมืองในราชอาณาจักรล้านช้างเวียงจันทน์ ประเทศราชของสยาม) ไม่สมัครใจอยู่ในปกครองของพระบรมราชา (มัง) เจ้าเมืองนครพนมคนใหม่ จึงอพยพพาสมัครพรรคพวก บุตรหลาน ท้าวเพี้ย ขอพึ่งพระบรมโพธิสมภารพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย เมื่อกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2352 และโปรดเกล้าฯให้ตั้งบ้านเรือนอยู่คลองมหาวงษ์ เมืองสมุทรปราการ ยุคนั้นจึงเรียกคนกลุ่มนี้ว่าพวกลาวอาสาปากน้ำ แต่ทนสภาพแวดล้อมไม่ไหว เพราะเป็นชาวดอนน้ำจืด ถูกให้ไปอยู่เมืองลุ่มน้ำกร่อยและเค็ม เลยขอเปลี่ยนไปอยู่ที่อื่น ซึ่งสภาพใกล้เคียงที่ดอน ลาวนครพนมกลุ่มนี้ได้บุกเบิกสร้างเมืองพนัสนิคม