Chonburi Sponsored

ในหลวง โปรดเกล้าฯ รับโครงการพัฒนาน้ำบาดาล 18 แห่ง เป็นโครงการในพระราชดำริ

Chonburi Sponsored
Chonburi Sponsored

เมื่อวันที่ 15 ส.ค.นายศักดิ์ดา วิเชียรศิลป์ อธิบดีกรมทรัพยากรน้ำบาดาล กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม(ทส.) เปิดเผยว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระราชปณิธาน สืบสาน รักษา ต่อยอด ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ รับโครงการพัฒนาน้ำบาดาลเพื่อการอุปโภคบริโภคขนาดใหญ่ ระยะที่ 2 จำนวน 18 แห่ง ครอบคลุม 10 จังหวัด ของกรมทรัพยากรน้ำบาดาล ไว้เป็นโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ เพื่อช่วยเหลือราษฎร จำนวน 36,798 ครัวเรือน 120,209 ราย ให้มีแหล่งน้ำต้นทุนสำหรับการอุปโภคบริโภคและทำการเกษตรได้อีก 12,789,600 ลูกบาศก์เมตรต่อปี

อธิบดีกรมทรัพยากรน้ำบาดาล กล่าวต่อว่า สำหรับโครงการพัฒนาน้ำบาดาลเพื่อการอุปโภคบริโภคขนาดใหญ่ ระยะที่ 2 จำนวน 18 แห่ง ครอบคลุม 10 จังหวัด ประกอบด้วย 1.พื้นที่บ้านหนองบัวหิ่ง หมู่ที่ 4 ต.สระลงเรือ อ.ห้วยกระเจา จ.กาญจนบุรี 2.พื้นที่บ้านคลองถนนตาล หมู่ที่ 3 ต.คลองสวนพลู อ.พระนครศรีอยุธยา จ.พระนครศรีอยุธยา 3.พื้นที่บ้านบ้านหนองใหญ่ หมู่ที่ 4 ต.หนองปลิง อ.เลาขวัญ จ.กาญจนบุรี 4.พื้นที่บ้านสามแสน หมู่ที่ 5 ต.พัฒนานิคม อ.พัฒนานิคม จ.ลพบุรี 5.พื้นที่บ้านศรีสุข หมู่ที่ 7 ต.บ้านพร้าว อ.เมือง จ.หนองบัวลำภู 6.พื้นที่บ้านหนองแวง หมู่ที่ 7 ต.ยางคำ อ.หนองเรือ จ.ขอนแก่น 7.พื้นที่บ้านหนองโสน หมู่ที่ 12 ต.กุดดินจี่ อ.นากลาง จ.หนองบัวลำภู 8.พื้นที่บ้านโคกสะแกราช หมู่ที่ 3 ต.สะแกราช อ.ปักธงชัย จ.นครราชสีมา 9.พื้นที่บ้านตลุกหิน หมู่ที่ 8 ต.โนนเมือง อ.ขามสะแกแสง จ.นครราชสีมา 10.พื้นที่บ้านสระแดงพัฒนา หมู่ที่ ต.วังโพธิ์ อ.บ้านเหลี่ยม จ.นครราชสีมา 11.พื้นที่บ้านสันติสุข หมู่ที่ 15 ต.บ้านเหลื่อม อ.บ้านเหลื่อม จ.นครราชสีมา 12.พื้นที่บ้านเนินหิน หมู่ที่ 11 ต.หนองเหียง อ.พนัสนิคม จ.ชลบุรี 13.พื้นที่บ้านพัฒนา หมู่ที่ 2 ต.กุดเรือคำ อ.วานรนิวาส จ.สกลนคร 14.พื้นที่บ้านดอนส้มโฮง หมู่ที่ 4 ต.ดงมอน อ.เมืองมุกดาหาร จ.มุกดาหาร 15.พื้นที่บ้านดงนาเทา หมู่ที่ 8 ต.สระใคร อ.สระใคร จ.หนองคาย 16.พื้นที่บ้านหลังเขา หมู่ที่ 6 ต.หนองกร่าง อ.บ่อพลอย จ.กาญจนบุรี 17.พื้นที่บ้านหนองข่อย หมู่ที่ 9 ต.หนองนกแก้ว จ.กาญจนบุรี และ 18.พื้นที่บ้านหนองงิ้วโล้ง หมู่ที่ 9 ต.หนองโสน อ.เลาขวัญ จ.กาญจนบุรี

“โครงการพระราชดำริ ทั้ง18 แห่ง ครอบคลุม 10 จังหวัด จะเป็นโครงการต้นแบบในการพัฒนาพื้นที่แห้งแล้งและอยู่นอกเขตชลประทานโดยใช้น้ำบาดาลเป็นแหล่งน้ำต้นทุนหลักในการพัฒนาทุกๆ ด้าน เมื่อดำเนินการแล้วเสร็จจะมีราษฎรได้รับประโยชน์ 36,798 ครัวเรือน 120,209 ราย ปริมาณน้ำที่สามารถพัฒนาได้ 12,789,600 ลูกบาศก์เมตรต่อปี” นายศักดิ์ดา กล่าว

เกาะติดทุกสถานการณ์จาก
Line @Matichon ได้ที่นี่

Chonburi Sponsored
อำเภอ พนัสนิคม

สมัยเมืองพนัสนิคม ในปี พ.ศ. 2371 กำเนิดเมืองขึ้นในสมัยรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระบรมราชานุญาตให้กลุ่มลาวอาสาปากน้ำมาสร้างภูมิลำเนาขึ้นในพื้นที่รกร้างระหว่างเมืองชลบุรีกับเมืองฉะเชิงเทรา พระราชทานนามเมืองว่าพนัสนิคม (บางเอกสารเขียน“พนัศนิคม”) มีฐานะเป็นเมืองจัตวา ขึ้นกับกรมท่า กรุงเทพมหานคร ให้ท้าวอินทิสาร (บางเอกสารเขียน”อินทพิศาล”) หรือ ท้าวทุม ปลัดลาว เมืองสมุทรปราการ บุตรชายคนโตของท้าวไชย (บางเอกสารเขียน”ศรีวิไชย”) อุปราชเมืองนครพนม ให้เป็นเจ้าเมืองพนัสนิคมคนแรกและพระราชทานราชทินนามและบรรดาศักดิ์ที่พระอินทอาษา (บางเอกสารเขียน“อินทรอาษา, อินทอาสา, อินทราษา“) มีข้อความในพระราชพงศาวดารว่า “พวกลาวอาสาปากน้ำ ตั้งขึ้นเมื่อครั้งในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้าสุลาลัย ภายหลังเมื่อปีชวดสัมฤทธิศก พวกลาวไม่สบาย ขอไปตั้งอยู่ที่เมืองพระรถ จึงโปรดให้ตัดเอาแขวงเมืองชลบุรี เมืองฉะเชิงเทรา มาตั้งเป็นเมืองขึ้นชื่อเมืองพนัศนิคม เจ้าเมืองชื่อพระอินทอาษา” (พระราชพงศาวดาร กรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 3 เล่ม 2 ของ เจ้าพระยาทิพากรวงศ์ ฉบับคุรุสภา พิมพ์ครั้งที่หนึ่ง พ.ศ. 2504 หน้า 180) โดยลาวบุกเบิกเมืองพนัสนิคม เป็นลาวเมืองนครพนม อ้างถึงการอพยพมาสยามครั้งแรกนำโดยท้าวไชย อุปราชเมืองนครพนม เป็นโอรสในพระบรมราชา (ท้าวกู่แก้ว) เจ้าเมืองนครพนม (เมืองนครพนมในอดีต เป็นหัวเมืองในราชอาณาจักรล้านช้างเวียงจันทน์ ประเทศราชของสยาม) ไม่สมัครใจอยู่ในปกครองของพระบรมราชา (มัง) เจ้าเมืองนครพนมคนใหม่ จึงอพยพพาสมัครพรรคพวก บุตรหลาน ท้าวเพี้ย ขอพึ่งพระบรมโพธิสมภารพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย เมื่อกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2352 และโปรดเกล้าฯให้ตั้งบ้านเรือนอยู่คลองมหาวงษ์ เมืองสมุทรปราการ ยุคนั้นจึงเรียกคนกลุ่มนี้ว่าพวกลาวอาสาปากน้ำ แต่ทนสภาพแวดล้อมไม่ไหว เพราะเป็นชาวดอนน้ำจืด ถูกให้ไปอยู่เมืองลุ่มน้ำกร่อยและเค็ม เลยขอเปลี่ยนไปอยู่ที่อื่น ซึ่งสภาพใกล้เคียงที่ดอน ลาวนครพนมกลุ่มนี้ได้บุกเบิกสร้างเมืองพนัสนิคม