Chonburi Sponsored

เช็กผลเลือกตั้ง อบต.ชลบุรี 'ก้าวหน้า' พ่ายสนามบ่อวิน อดีตนายก อบต.หนองข้างคอก ปราชัย

Chonburi Sponsored
Chonburi Sponsored

เช็กผลเลือกตั้ง อบต.ชลบุรี ‘ก้าวหน้า’ พ่ายสนามบ่อวิน ด้านอดีตนายก อบต.หนองข้างคอก ปราชัย ‘กำนันยศ’ ชนะนายก อบต.ท่าบุญมี

เมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน ผู้สื่อข่าวรายงานจาก จ.ชลบุรี ถึงผลการเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนตำบลและสมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบลอย่างไม่เป็นทางการ โดยเฉพาะการเลือกตั้ง อบต.ท่าบุญมี อ.เกาะจันทร์ ซึ่งมีการแข่งขันกันสูงมาก ระหว่าง นายสมยศ พนัสอนุสรณ์ หรือกำนันยศ เบอร์ 1 กับ นายสุทธินันท์ ทรายสุวรรณ เบอร์ 2

ผลปรากฏว่า จากการเดินหาเสียงของกำนันยศอย่างถึงลูกถึงคน สามารถคว้าชัยชนะมาได้อย่างสวยงาม

ส่วนการเลือกตั้ง อบต.หนองข้างคอก อ.เมืองชลบุรี ซึ่งเป็นการแข่งขันระหว่าง นายภิรมย์ อาจวารินทร์ เบอร์ 1 อดีตนายก อบต.หนองข้างคอก หัวหน้ากลุ่มพลังใหม่หนองข้างคอก ปราชัยให้กับ นายวินัย สุนทรสวัสดิ์ เบอร์ 2 ด้วยคะแนนประมาณ 500 คะแนน

ส่วน อบต.ที่ไม่มีผู้แข่งขันและได้รับการเลือกตั้งประกอบไปด้วย อ.บ่อทอง อบต.เกษตรสุวรรณ นายกัปนาท พรพรหมวินิจ อบต.บ่อทอง นายศักดา ธัญญาวาส อ.บางละมุง อบต.เขาไม้แก้ว นายจำเนียร กีทีปกูล อ.บ้านบึง อบต.หนองไผ่แก้ว นายทนงศักดิ์ ผลเจริญสมบูรณ์ อบต.หนองอิรุณ นางอารีรัตน์ สิงห์โตทอง อ.พนัสนิคม อบต.ท่าข้าม นายนิยม ราชนิยม อบต.บ้านช้าง นายเสน่ห์ พุ่มฤทธิ์ อบต.ไร่หลักทอง นายยงยุทธ ตาดเดิม อบต.หนองขยาด นายสมชาย โยคาพจร

อบต.หนองปรือ นายสมานมิตร เหลืองอ่อน อ.ศรีราชา อบต.หนองขาม นายสมหมาย จันทร์ฉาย อ.หนองใหญ่ อบต.เขาซก นายสมพงษ์ ชลวิริยะกุล อบต.หนองเสือช้าง นายไพโรจน์ กังวลกิจ อบต.ห้างสูง นายอนันต์ จิรารัตนกุลชัย

ขณะที่ อบต.บ่อวิน อ.ศรีราชา ซึ่งเป็นการแข่งขันระหว่าง นายสิรวิชฐ์ อำไพวงษ์ เบอร์ 1 อดีตรองนายก อบต.บ่อวิน ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากนายรุ่งเพชร แจ่มเจริญ (นายกแขก) อดีตนายก อบต.บ่อวินสมัยที่ผ่านมา กับ นายชูเกียรติ เทพอารีนันท์ เบอร์ 2 (นายกบ๊วย) อดีตนายก อบต.บ่อวินเมื่อ 8 ปีที่แล้ว โดยได้รับการสนับสนุนจากคณะก้าวหน้า พร้อมทั้งส่ง น.ส.พรรณิการ์ วานิช ลงพื้นที่มาช่วยเดินหาเสียงให้กับผู้สมัครอีกด้วย

ปรากฏว่าผลการเลือกตั้ง นายสิรวิชฐ์คว้าชัยชนะไปครองได้สำเร็จด้วยคะแนนชนะขาดลอย

เกาะติดทุกสถานการณ์จาก
Line @Matichon ได้ที่นี่

Chonburi Sponsored
อำเภอ พนัสนิคม

สมัยเมืองพนัสนิคม ในปี พ.ศ. 2371 กำเนิดเมืองขึ้นในสมัยรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระบรมราชานุญาตให้กลุ่มลาวอาสาปากน้ำมาสร้างภูมิลำเนาขึ้นในพื้นที่รกร้างระหว่างเมืองชลบุรีกับเมืองฉะเชิงเทรา พระราชทานนามเมืองว่าพนัสนิคม (บางเอกสารเขียน“พนัศนิคม”) มีฐานะเป็นเมืองจัตวา ขึ้นกับกรมท่า กรุงเทพมหานคร ให้ท้าวอินทิสาร (บางเอกสารเขียน”อินทพิศาล”) หรือ ท้าวทุม ปลัดลาว เมืองสมุทรปราการ บุตรชายคนโตของท้าวไชย (บางเอกสารเขียน”ศรีวิไชย”) อุปราชเมืองนครพนม ให้เป็นเจ้าเมืองพนัสนิคมคนแรกและพระราชทานราชทินนามและบรรดาศักดิ์ที่พระอินทอาษา (บางเอกสารเขียน“อินทรอาษา, อินทอาสา, อินทราษา“) มีข้อความในพระราชพงศาวดารว่า “พวกลาวอาสาปากน้ำ ตั้งขึ้นเมื่อครั้งในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้าสุลาลัย ภายหลังเมื่อปีชวดสัมฤทธิศก พวกลาวไม่สบาย ขอไปตั้งอยู่ที่เมืองพระรถ จึงโปรดให้ตัดเอาแขวงเมืองชลบุรี เมืองฉะเชิงเทรา มาตั้งเป็นเมืองขึ้นชื่อเมืองพนัศนิคม เจ้าเมืองชื่อพระอินทอาษา” (พระราชพงศาวดาร กรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 3 เล่ม 2 ของ เจ้าพระยาทิพากรวงศ์ ฉบับคุรุสภา พิมพ์ครั้งที่หนึ่ง พ.ศ. 2504 หน้า 180) โดยลาวบุกเบิกเมืองพนัสนิคม เป็นลาวเมืองนครพนม อ้างถึงการอพยพมาสยามครั้งแรกนำโดยท้าวไชย อุปราชเมืองนครพนม เป็นโอรสในพระบรมราชา (ท้าวกู่แก้ว) เจ้าเมืองนครพนม (เมืองนครพนมในอดีต เป็นหัวเมืองในราชอาณาจักรล้านช้างเวียงจันทน์ ประเทศราชของสยาม) ไม่สมัครใจอยู่ในปกครองของพระบรมราชา (มัง) เจ้าเมืองนครพนมคนใหม่ จึงอพยพพาสมัครพรรคพวก บุตรหลาน ท้าวเพี้ย ขอพึ่งพระบรมโพธิสมภารพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย เมื่อกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2352 และโปรดเกล้าฯให้ตั้งบ้านเรือนอยู่คลองมหาวงษ์ เมืองสมุทรปราการ ยุคนั้นจึงเรียกคนกลุ่มนี้ว่าพวกลาวอาสาปากน้ำ แต่ทนสภาพแวดล้อมไม่ไหว เพราะเป็นชาวดอนน้ำจืด ถูกให้ไปอยู่เมืองลุ่มน้ำกร่อยและเค็ม เลยขอเปลี่ยนไปอยู่ที่อื่น ซึ่งสภาพใกล้เคียงที่ดอน ลาวนครพนมกลุ่มนี้ได้บุกเบิกสร้างเมืองพนัสนิคม