Chonburi Sponsored

เศร้า! เผาศพหนุ่ม17เหยื่อไฟไหม้ผับชลบุรี น้ำตาท่วมเพื่อนร้องเพลงให้เป็นครั้งสุดท้าย

Chonburi Sponsored
Chonburi Sponsored

วันพุธ ที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2565, 15.05 น.

Tag :

10 สิงหาคม 2565 ที่ศาลาเมรุวัดสัตหีบ อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี ทางครอบครัวของนายกรวิทย์ เม็งคำมี อายุ 17 ปี เหยื่อเพลิงไหม้ผับ ได้ประกอบพิธีฌาปนกิจศพตามประเพณีศาสนา โดยมี นายนริศ นิรามัยวงศ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดชลบุรี มาเป็นประธานในพิธี โดยมี นายณรงค์ บุญบรรเจิดศรี นายกเทศมนตรีเมืองสัตหีบ พร้อมด้วย หน่วยงาน ทั้งภาครัฐ เอกชน ข้าราชการ นักเรียนร่วมในพิธีเป็นจำนวนมาก 

นางสาวรำไพ ชิงชาติ อายุ 37 ปี มารดาของ นายกรวิทย์ เม็งคำมี ในระหว่างประกอบพิธี อยู่ในอาการร้องไห้โศกเศร้า ตลอดเวลา ท่ามกลางเพื่อนๆ นักเรียนโรงเรียนสิงห์สมุทร สัตหีบ กว่า 1,000 คน ที่มาร่วมในพิธี และขณะกำลังประชุมเพลิงศพ เพื่อนๆ สนิทกว่า 50 ได้นำกีตาร์ มาร่วมร้องเพลง ฉันจะมีเธออยู่ ท่ามกลางน้ำตาที่ไหลออกมาเสียใจกับการจากไป ท่ามกลางบรรยากาศที่โศกเศร้า ของครอบครัวและเพื่อนๆ 

ด้านเพื่อนผู้ตาย กล่าวว่าผู้ตาย เป็นคนดี นิสัยดีมาก โดยวันเกิดเหตุเป็นวันพฤหัสบดี เพื่อนๆไม่มีใครคิดว่า เพื่อน จะไปเที่ยวผับดังกล่าว เพราะว่าวันรุ่งขึ้นต้องไปเรียนหนังสือตามปกติ ซึ่งตนคิดว่าถ้ามีทางหนีไฟเพียงพอ เพื่อนคงไม่ตาย เพราะเพื่อนเป็นนักกีฬา และวิ่งเร็วมาก คงไม่ตายอย่างแน่นอน  เพราะ เจ้าหน้าที่ไปพบศพเพื่อนในห้องน้ำ คงจะวิ่งไปหลบเปลวไฟได้ทันในห้องน้ำ แต่มาสำลักควันไฟเสียชีวิตดังกล่าว

โดยในวันนี้จะมีการฌาปนกิจศพ ผู้ที่เสียชีวิตในกองเพลิงผับ ดังกล่าว ทั้งหมด 4 ศพ ในพื้นที่อำเภอสัตหีบ ได้แก่ นายกรวิทย์ เม็งคำ  หรือน้องกั๊ก อายุ 17 ปี ที่วัดสัตหีบ ต.สัตหีบ ในเวลา 13.00 น. , พ.จ.ต.รังสิมันต์ วนิชโรจนาการ หรือวิน อายุ 30 ปี นักดนตรีมือคีย์บอร์ด ณ ฌาปนสถาน กองทัพเรือ ต.สัตหีบ ในเวลา 16.00 น. น.ส.พรหมพร พูลสวัสดิ์ อายุ 18 ปี  ณ  วัดรังสีสุนทร กม. 5 ต.สัตหีบ ในเวลา 16.00 น. และ  นายสุเทพ มงคลแก้ว อายุ 33 ปี ณ วัดสามัคคีบรรพต ต.บางเสร่

Chonburi Sponsored
อำเภอ สัตหีบ

ช่วงประมาณรัชกาลที่ 5 และรัชกาลที่ 6 สัตหีบเป็นเพียงหมู่บ้านชายทะเล ชาวบ้านประกอบอาชีพทำไร่ ทำนา หาของป่า และประมง การคมนาคมจะใช้ทางน้ำโดยเรือเมล์หรือเรือใบ ส่วนทางบกมีแต่ทางเกวียน ถนนไปชลบุรียังไม่มี ภูมิประเทศส่วนใหญ่ยังเป็นป่ารกทึบ การเดินทางระหว่างเมืองจึงใช้เรือเป็นหลัก ในหมู่บ้านสัตหีบ มีผู้ที่ชาวบ้านนับหน้าถือตามากอยู่คนหนึ่ง ชาวบ้านเรียกว่า "ยายแจง" แกมีฐานะดีมี ที่ดิน เรือ สวน ไร่นามากมาย ตลาดสัตหีบ หนองตะเคียนและโรงเรียนสิงห์สมุทรรวมถึงบริเวณเขาแหลมเทียนอันเป็นที่ตั้งของฐานทัพเรือสัตหีบในปัจจุบันก็เคยเป็นของแก ต่อมา เมื่อกรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ทรงฝึกภาคทะเลกับกองเรือและทรงพักที่อ่าวสัตหีบ ทรงเห็นว่าอ่าวสัตหีบเหมาะเป็นที่ตั้งหน่วยเรือ เพราะมีเกาะใหญ่น้อยช่วยกำบังคลื่นลม พระองค์จึงได้บอกถึงพระประสงค์ที่จะใช้บริเวณเขาแหลมเทียนเป็นที่ตั้งหน่วยทหารเรือ ยายแจงก็ยินดีที่จะถวายให้