Chonburi Sponsored

ทต.เกล็ดแก้วช่วยเหลือพ่อเหยื่อเมาท์เท่น บี เหตุศาลาวัดในพื้นที่เต็มหมด

Chonburi Sponsored
Chonburi Sponsored
สยามรัฐออนไลน์ 10 สิงหาคม 2565 22:07 น. ภูมิภาค

วันที่ 10 ส.ค.65 ผู้สื่อข่าวรายงาน ว่า ที่ศาลาประชาคม หมู่ 7 บ้านหนองหญ้า ต.บางเสร่ อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี นายยศวัฒน์ ภูวรัตน์เลิศคุณ นายกเทศมนตรีตำบลเกล็ดแก้ว พร้อมคณะผู้บริหาร สมาชิกสภา หัวหน้าส่วนราชการ ข้าราชการ พนักงานเทศบาลตำบลเกล็ดแก้ว ร่วมเป็นประธาน ในงานสวดพระอภิธรรมศพ นายธนกฤต อายุ 36 ปี เหยื่อเหตุการณ์ไฟไหม้  ซึ่งเป็นเจ้าของงานวันเกิด ที่ไปร่วมฉลองกับเพื่อนกว่า 10 คน ในคืนวันเกิดเหตุ  ก่อนจะไปเสียชีวิตที่โรงพยาบาลระยอง เมื่อวันที่ 6 ส.ค. ที่ผ่านมา ทำให้มีเพื่อนในกลุ่มรวมผู้ตายเสียชีวิตไปแล้ว 3 ราย ซึ่งบรรยากาศเป็นไปด้วยความเศร้าโศกเสียใจ โดยมีกำหนดการ งานฌาปนกิจศพ ในวันอาทิตย์ที่ 14 ส.ค. ที่จะถึงนี้ ณ วัดเขาคันธมาทน์ อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี ในเวลา 16.00 น.

ด้านนายภูรี พ่อผู้เสียชีวิต กล่าวว่า ตอนแรกไปติดต่อวัดในพื้นที่ รับแจ้งว่าศาลาสวดศพเต็มหมด ก็เลยคุยกับทางโรงพยาบาลขอฝากศพลูกไว้ก่อนสัก 3 คืน 4 คืน เพื่อจะรอศาลาสวดศพที่วัดว่าง หลังนายกเทศมนตรีตำบลเกล็ดแก้ว ทราบเรื่องก็ได้ประสานงานมาว่า ให้มาใช้สถานที่ศาลาประชาคมได้ จึงได้รีบติดต่อรับศพออกไปสวดพระอภิธรรมศพในทันที

พร้อมกับได้เดินทางมาพร้อมศพลูกชาย โดยทางเทศบาลได้เข้ามาช่วยเหลือจัดการให้หมดเลย ทั้งสถานที่ตั้งศพ จอดรถ  ยืมโลงเย็น อาสนะสงฆ์ ร่วมถึงเครื่องใช้ในพิธีกรรมของสงฆ์ทั้งหมด ขอบคุณอย่างเดียวมันไม่พอ มันปลาบปลื้มมากกว่า จนพูดไม่ออก แม้กระทั้งโฆษกในงานศพ ท่านนายกเทศมนตรีก็เป็นให้ ตั้งแต่คืนแรก ยาวมาเลย

ด้าน นายยศวัฒน์ ภูวรัตน์เลิศคุณ นายกเทศมนตรีตำบลเกล็ดแก้ว กล่าวว่า ได้รับการประสานจากพ่อผู้ตาย แจ้งว่า ศาลาวัดในเขตพื้นที่ ต.สัตหีบ และภายในเขตเทศบาลตำบลเกล็ดแก้ว เต็มทุกศาลา จากเหตุการณ์ไฟไหม้ผับเมาท์เท่น บี ทางเทศบาลจึงตัดสินใจ เปิดใช้ศาลาประชาคมแห่งนี้ ซึ่งเคยเป็นอาคารกองอำนวยการโควิด-19 ประจำหมู่บ้าน แต่เมื่อมีความจำเป็นในเหตุการณ์นี้ ทางเทศบาลจึงจัดให้ เป็นสถานที่สวดอภิธรรมศพผู้เสียชีวิตรายนี้ ซึ่งเป็นลูกบ้านในหมู่บ้านหนองหญ้า

พร้อมกับประสานกับทางวัด จัดยืม โลงเย็น อาสนะสงฆ์ ร่วมถึงเครื่องใช้ในพิธีกรรมของสงฆ์ทั้งหมด มาเตรียมไว้ให้ทุกอย่าง โดยเทศบาลตำบลเกล็ดแก้ว ยังได้อำนวยความสะดวกการจราจร และอื่นๆตามที่ญาติจะร้องขอ ตลอดทุกคืน จนกว่าจะทำการฌาปนกิจศพแล้วเสร็จ  ซึ่งเราพร้อมจะให้การช่วยเหลือประชาชนในพื้นที่อย่างเต็มกำลังความสามารถ

Chonburi Sponsored
อำเภอ สัตหีบ

ช่วงประมาณรัชกาลที่ 5 และรัชกาลที่ 6 สัตหีบเป็นเพียงหมู่บ้านชายทะเล ชาวบ้านประกอบอาชีพทำไร่ ทำนา หาของป่า และประมง การคมนาคมจะใช้ทางน้ำโดยเรือเมล์หรือเรือใบ ส่วนทางบกมีแต่ทางเกวียน ถนนไปชลบุรียังไม่มี ภูมิประเทศส่วนใหญ่ยังเป็นป่ารกทึบ การเดินทางระหว่างเมืองจึงใช้เรือเป็นหลัก ในหมู่บ้านสัตหีบ มีผู้ที่ชาวบ้านนับหน้าถือตามากอยู่คนหนึ่ง ชาวบ้านเรียกว่า "ยายแจง" แกมีฐานะดีมี ที่ดิน เรือ สวน ไร่นามากมาย ตลาดสัตหีบ หนองตะเคียนและโรงเรียนสิงห์สมุทรรวมถึงบริเวณเขาแหลมเทียนอันเป็นที่ตั้งของฐานทัพเรือสัตหีบในปัจจุบันก็เคยเป็นของแก ต่อมา เมื่อกรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ทรงฝึกภาคทะเลกับกองเรือและทรงพักที่อ่าวสัตหีบ ทรงเห็นว่าอ่าวสัตหีบเหมาะเป็นที่ตั้งหน่วยเรือ เพราะมีเกาะใหญ่น้อยช่วยกำบังคลื่นลม พระองค์จึงได้บอกถึงพระประสงค์ที่จะใช้บริเวณเขาแหลมเทียนเป็นที่ตั้งหน่วยทหารเรือ ยายแจงก็ยินดีที่จะถวายให้