Chonburi Sponsored

ตร.แจงรายละเอียดเงินเยียวยา-ครอบครัวผู้เสียชีวิตไฟไหม้ “เมาน์เทน บี”

Chonburi Sponsored
Chonburi Sponsored

เมื่อวันที่ 8 ส.ค.65 พล.ต.ต.ชัยต์พจน สูวรรณรักษ์ รองผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 2 (รอง ผบช.ภ.2) และโฆษกตำรวจภูธรภาค 2 เปิดเผยว่า ตามที่ผู้ว่าราชการจังหวัดชลบุรีได้มีคำสั่ง ที่ 3625/2565 ลงวันที่ 5 สิงหาคม 2565 จัดตั้งศูนย์อำนวยการให้ความช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบจากกรณีเพลิงไหม้ ร้านเมาน์เทน บี จังหวัดชลบุรี เพื่อบูรณาการหน่วยงานต่างๆ ในการให้ความช่วยเหลือเยียวยาผู้ประสบภัย โดยมีผลในวันที่ 6 สิงหาคม 2565 นั้น

สำหรับสถานการณ์ผู้บาดเจ็บและเสียชีวิตรวม 15 ราย เป็นชาย 11 ราย หญิง 4 ราย 2.ยอดผู้บาดเจ็บ 40 ราย (เพิ่มขึ้น 2 ราย เนื่องจากไปรักษาแบบผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ 1 ราย และโรงพยาบาลสัตหีบ 1 ราย แล้วมาลงทะเบียนขอรับความช่วยเหลือภายหลัง) ผู้ป่วยสีแดงใส่ท่อช่วยหายใจ 20 ราย ผู้ป่วยสีเหลือง 11 ราย ผู้ป่วยสีเขียว 9 ราย ผู้ป่วยสีเหลืองอาการหนักขึ้นเป็นสีแดง 5 ราย ผู้ป่วยสีแดงอาการดีขึ้นมาอยู่สีเหลือง 1 ราย

โดยการปฏิบัติและการให้ความช่วยเหลือ 1.สำนักงานยุติธรรมจังหวัดชลบุรี กำหนดประขุมคณะอนุกรรมการพิจารณาค่าตอบแทนผู้เสียหายและค่าทดแทนและค่าใช้จ่ายแก่จำเลยในคดีอาญาประจำจังหวัดชลบุรี ในวันที่ 10 สิงหาคม 2565 และมีกำหนดจ่ายเงินให้ทายาทผู้เสียชีวิตในวันที่ 19 สิงหาคม 2565 รายละ 110,000 บาท ติดต่อญาติผู้เสียชีวิตได้ครบทั้ง 15 ราย

2.สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดชลบุรี กำหนดส่งเรื่องให้ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี เพื่อพิจารณาในวันที่ 7 สิงหาคม 2565 คาดว่าจะได้รับพิจารณาอนุมัติภายใน 1 สัปดาห์ โดยมียอดจ่ายเงินกรณีผู้เสียชีวิตรายละ 80,000 บาท ติดต่อญาติผู้เสียชีวิตได้ครบทั้ง 15 ราย

3.เทศบาลเมืองสัตหีบ กำหนดจ่ายเงินให้ญาติผู้เสียชีวิตในวันที่ 10 สิงหาคม 2565 ซึ่งทายาทจะได้รับเงินรายละ 29,700 บาท หากผู้เสียชีวิตเป็นหัวหน้าครอบครัวจะได้รับเงินเพิ่มอีกรายละ 29,700 บาท ติดต่อญาติผู้เสียชีวิตได้ครบทั้ง 15 ราย ลงทะเบียนผู้ได้รับบาดเจ็บ 30 ราย

4.สำนักงานประกันสังคมจังหวัดชลบุรี ตรวจสอบพบว่า ผู้เสียชีวิตเป็นผู้ประกันตน 5 ราย เคยเป็นผู้ประกันตน 5 ราย ได้ติดต่อญาติเพื่อให้เข้าถึงสิทธิประกันสังคมแล้วทั้งหมด 10 ราย และตรวจสอบผู้บาดเจ็บเป็นผู้ประกันตน 9 ราย และได้ติดต่อเพื่อให้เข้าถึงสิทธิประกันสังคมแล้วทั้ง 9 ราย

5.สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) ได้ตรวจสอบพบผู้เสียชีวิตได้ทำประกันภัยไว้ 9 ราย ได้ติดต่อเพื่อให้เข้าถึงสิทธิตามกรมธรรม์แล้วทั้ง 9 ราย ได้มีกำหนดจ่ายค่าสินไหมทดแทน 1 ราย นายกรวิทย์ เม็งคำมี จำนวนเงิน 120,000 บาท ในวันที่ 8 สิงหาคม 2565 เวลา 16.00 น. ณ วัดสัตหีบ อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี

6.สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดชลบุรีและสำนักงานสาธารณสุขอำเภอสัตหีบ จัดทีมช่วยเหลือเยียวยาจิตใจผู้ได้รับผลกระทบแล้ว 38 ราย และมีกำหนดร่วมกับจิตแพทย์จากสถาบันจิตเวชศาสตร์ สมเด็จเจ้าพระยา ลงพื้นที่ประเมินผู้รับผลกระทบบริเวณชุมชนโดยรอบที่เกิดเหตุในวันที่ 8 สิงหาคม 2565

7.สำนักงานอัยการคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือเพื่อให้ได้รับสิทธิตามประมวลกฎหมาย ได้จัดพนักงานอัยการและเจ้าหน้าที่ให้คำแนะนำและช่วยเหลือเพื่อให้ได้รับสิทธิตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 44/1 ให้แก่ผู้ได้รับผลกระทบ

Chonburi Sponsored
อำเภอ สัตหีบ

ช่วงประมาณรัชกาลที่ 5 และรัชกาลที่ 6 สัตหีบเป็นเพียงหมู่บ้านชายทะเล ชาวบ้านประกอบอาชีพทำไร่ ทำนา หาของป่า และประมง การคมนาคมจะใช้ทางน้ำโดยเรือเมล์หรือเรือใบ ส่วนทางบกมีแต่ทางเกวียน ถนนไปชลบุรียังไม่มี ภูมิประเทศส่วนใหญ่ยังเป็นป่ารกทึบ การเดินทางระหว่างเมืองจึงใช้เรือเป็นหลัก ในหมู่บ้านสัตหีบ มีผู้ที่ชาวบ้านนับหน้าถือตามากอยู่คนหนึ่ง ชาวบ้านเรียกว่า "ยายแจง" แกมีฐานะดีมี ที่ดิน เรือ สวน ไร่นามากมาย ตลาดสัตหีบ หนองตะเคียนและโรงเรียนสิงห์สมุทรรวมถึงบริเวณเขาแหลมเทียนอันเป็นที่ตั้งของฐานทัพเรือสัตหีบในปัจจุบันก็เคยเป็นของแก ต่อมา เมื่อกรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ทรงฝึกภาคทะเลกับกองเรือและทรงพักที่อ่าวสัตหีบ ทรงเห็นว่าอ่าวสัตหีบเหมาะเป็นที่ตั้งหน่วยเรือ เพราะมีเกาะใหญ่น้อยช่วยกำบังคลื่นลม พระองค์จึงได้บอกถึงพระประสงค์ที่จะใช้บริเวณเขาแหลมเทียนเป็นที่ตั้งหน่วยทหารเรือ ยายแจงก็ยินดีที่จะถวายให้