Chonburi Sponsored

เช้านี้วิถีไทย : ท่องเที่ยงเชิงสุขภาพที่ ชุมชนบ้านตม จ.ชลบุรี

Chonburi Sponsored
Chonburi Sponsored

เช้านี้ที่หมอชิต -เช้านี้วิถีไทย วันนี้จะพาไปบำบัดสุขภาพ ทั้งกายและใจที่ชุมชนเล็ก ๆ แห่งหนึ่ง ซึ่งซ่อนตัวอยู่ในอำเภอพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี แหล่งท่องเที่ยวเชิงสุขภาพที่กำลังมาแรงในยุคที่สถานการณ์โควิด 19 เบาบางลง ติดตามกับคุณบัวบูชา ปุณณนันท์

จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่ยังไม่มีทีท่าว่าจะจบลงง่าย ๆ บวกกับโรคภัยไข้เจ็บที่อุบัติขึ้นใหม่อย่างต่อเนื่อง ได้กลายเป็นตัวจุดกระแสให้ผู้คนรักและหันมาใส่ใจในสุขภาพมากขึ้น ซึ่งแน่นอนว่าการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพจึงเป็นตลาดใหม่ที่กำลังมาแรงในปัจจุบันเช่นกัน 

เช้านี้วิถีไทย ขอพาทุกคนหลีกหนีความวุ่นวาย พากันไปผ่อนคลายที่จังหวัดชลบุรี ทิ้งความเจริญในเมืองพัทยา ไว้เบื้องหลัง หันมาปั่นจักรยาน เลาะเลียบคันนา สูดอากาศบริสุทธิ์ แวะชมพระอาทิตย์ตกดินกัน

ชุมชนบ้านตม เป็นชุมชนเล็ก ๆ อยู่ที่ตำบลสระสี่เหลี่ยม อำเภอพนัสนิคม เป็นแหล่งรวมสมุนไพรไทย และมีการทำผลิตภัณฑ์เสริมความงามจากสมุนไพรในพื้นที่ ที่ส่งไปขายทั่วประเทศ

เดินทางมาไกล มีอาการเมื่อยล้า แวะมาพักทำสปาเท้า ย่ำเกลือ ย่ำสมุนไพร กันก่อน

นอกจากนี้ ยังมีการทำ unlock จักสานใบลาน ที่ช่วยบรรเทาอาการนิ้วล็อกจากการทำงาน หรือการเล่นโทรศัพท์มือถือนาน ๆ แถมยังมีการทำยาดมสูตรเฉพาะบ้านตม แก้วิงเวียนศีรษะได้เป็นอย่างดี เป็นของฝากที่ใคร ๆ ก็ชื่นชอบ

นอกจากการบำบัดสุขภาพจากภายนอกแล้ว ภายในก็สำคัญ ที่นี่มีเมนูอาหารสุขภาพมากมาย ที่จะเน้นการกินอาหารตามธาตุเจ้าเรือน ปรับสมดุลให้กับร่างกาย  

ได้วัตถุดิบมาครบแล้ว ก็เริ่มทำกันเลย กับเมนูนี้ ยำพอเพียง เป็นอาหารตามธาตุเจ้าเรือน ดิน น้ำ ลม ไฟ กินแล้วจะช่วยบำรุงเลือด 

ส่วนเครื่องดื่ม ฟ้าอำไพ หรือ น้ำเฟื่องฟ้า นอกจากสีสันจะสวยแล้ว ยังช่วยบำรุงธาตุดิน และ ธาตุไฟ

ทุกเมนูของที่นี่ล้วนมีคุณค่าทางโภชนาการ ดีต่อสุขภาพ แถมถูกใจสายมังสวิรัติ อีกด้วย

ถ้ากิจกรรมแน่น ๆ ขนาดนี้ ใครคิดว่า 1 วันไม่พอ ที่นี่มีโฮมสเตย์ให้ได้พัก ตื่นพร้อมไก่ขัน และเสียงนกร้อง

จบวันด้วยการ ปั่นจักรยานเลียบคันนา ชมชายทุ่ง พร้อมพระอาทิตย์ตกดิน เป็นการมาเที่ยวที่ได้พักผ่อนพร้อมกลับไปทำงาน เหนื่อยอีกเมื่อไหร่แวะกลับมาได้เสมอ ที่นี่ ชุมชนบ้านตม จังหวัดชลบุรี

Chonburi Sponsored
อำเภอ พนัสนิคม

สมัยเมืองพนัสนิคม ในปี พ.ศ. 2371 กำเนิดเมืองขึ้นในสมัยรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระบรมราชานุญาตให้กลุ่มลาวอาสาปากน้ำมาสร้างภูมิลำเนาขึ้นในพื้นที่รกร้างระหว่างเมืองชลบุรีกับเมืองฉะเชิงเทรา พระราชทานนามเมืองว่าพนัสนิคม (บางเอกสารเขียน“พนัศนิคม”) มีฐานะเป็นเมืองจัตวา ขึ้นกับกรมท่า กรุงเทพมหานคร ให้ท้าวอินทิสาร (บางเอกสารเขียน”อินทพิศาล”) หรือ ท้าวทุม ปลัดลาว เมืองสมุทรปราการ บุตรชายคนโตของท้าวไชย (บางเอกสารเขียน”ศรีวิไชย”) อุปราชเมืองนครพนม ให้เป็นเจ้าเมืองพนัสนิคมคนแรกและพระราชทานราชทินนามและบรรดาศักดิ์ที่พระอินทอาษา (บางเอกสารเขียน“อินทรอาษา, อินทอาสา, อินทราษา“) มีข้อความในพระราชพงศาวดารว่า “พวกลาวอาสาปากน้ำ ตั้งขึ้นเมื่อครั้งในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้าสุลาลัย ภายหลังเมื่อปีชวดสัมฤทธิศก พวกลาวไม่สบาย ขอไปตั้งอยู่ที่เมืองพระรถ จึงโปรดให้ตัดเอาแขวงเมืองชลบุรี เมืองฉะเชิงเทรา มาตั้งเป็นเมืองขึ้นชื่อเมืองพนัศนิคม เจ้าเมืองชื่อพระอินทอาษา” (พระราชพงศาวดาร กรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 3 เล่ม 2 ของ เจ้าพระยาทิพากรวงศ์ ฉบับคุรุสภา พิมพ์ครั้งที่หนึ่ง พ.ศ. 2504 หน้า 180) โดยลาวบุกเบิกเมืองพนัสนิคม เป็นลาวเมืองนครพนม อ้างถึงการอพยพมาสยามครั้งแรกนำโดยท้าวไชย อุปราชเมืองนครพนม เป็นโอรสในพระบรมราชา (ท้าวกู่แก้ว) เจ้าเมืองนครพนม (เมืองนครพนมในอดีต เป็นหัวเมืองในราชอาณาจักรล้านช้างเวียงจันทน์ ประเทศราชของสยาม) ไม่สมัครใจอยู่ในปกครองของพระบรมราชา (มัง) เจ้าเมืองนครพนมคนใหม่ จึงอพยพพาสมัครพรรคพวก บุตรหลาน ท้าวเพี้ย ขอพึ่งพระบรมโพธิสมภารพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย เมื่อกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2352 และโปรดเกล้าฯให้ตั้งบ้านเรือนอยู่คลองมหาวงษ์ เมืองสมุทรปราการ ยุคนั้นจึงเรียกคนกลุ่มนี้ว่าพวกลาวอาสาปากน้ำ แต่ทนสภาพแวดล้อมไม่ไหว เพราะเป็นชาวดอนน้ำจืด ถูกให้ไปอยู่เมืองลุ่มน้ำกร่อยและเค็ม เลยขอเปลี่ยนไปอยู่ที่อื่น ซึ่งสภาพใกล้เคียงที่ดอน ลาวนครพนมกลุ่มนี้ได้บุกเบิกสร้างเมืองพนัสนิคม