Chonburi Sponsored

ภาพเก่าเล่าตำนาน : ป่าช้าวัดดอน…150 ไร่…ฝังไว้นับหมื่นร่าง โดย พลเอก นิพัทธ์ ทองเล็ก

Chonburi Sponsored
Chonburi Sponsored

“ป่าช้า” เป็นคำศัพท์ที่คนไทยยุคสมัยปัจจุบันไม่ค่อยคุ้นหู

ตามพจนานุกรม ป่าช้า หมายถึง ป่าหรือที่ซึ่งจัดไว้เป็นที่ฝังหรือเผาศพ หรือพื้นที่จัดการกับศพ …อาจจะนำมาเพียงแค่ทิ้งไว้

เมื่อเอ่ยถึงคำนี้ มันหดหู่ ไม่น่าไปเกี่ยวข้อง น่ากลัว

สุสาน …เป็นที่เก็บศพ ฝังศพ

ขอแนะนำสุสานขนาดใหญ่ที่กาญจนบุรี…สไตล์ตะวันตก

“สุสานทหารสัมพันธมิตรดอนรัก” หรือที่ชาวจังหวัดกาญจนบุรีทั่วไปเรียกว่า “ป่าช้าอังกฤษ” เป็นสุสานขนาดใหญ่บนพื้นที่ 17 ไร่ บรรจุกระดูก ชิ้นส่วน สัญลักษณ์ ของบรรดาเชลยศึกที่เสียชีวิตระหว่างการสร้างทางรถไฟสายมรณะถึง 6,982 หลุม

ปลาย พ.ศ.2484 เปิดฉากสงครามโลกครั้งที่ 2 ในเอเชียแปซิฟิก กองทัพญี่ปุ่นบุกตะลุยยึดดินแดนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รบชนะ กวาดเกลี้ยงทุกสมรภูมิ ญี่ปุ่นต้องการเป็นมหาอำนาจ 1 เดียวในเอเชีย…มหาอำนาจตะวันตกต้องออกไปให้พ้น

กองทัพลูกซามูไร มุ่งเน้นการจับเชลยศึก ส่วนใหญ่เป็นทหารออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ อเมริกัน แคนาดา เนเธอร์แลนด์ จับกุมมาจากประเทศมาเลเซีย สิงคโปร์

จำนวนเชลยศึกนับหมื่นคนถูกจับใส่รถไฟมาจากภาคใต้ของไทย ให้มาตั้งค่ายที่ จ.ราชบุรี แล้วขยับเชลยนับหมื่นไปที่บริเวณก่อสร้างทางรถไฟ ในป่าดงดิบกาญจนบุรี

เอาตัวมาเป็นทาส สร้างทางรถไฟจากกาญจนบุรีให้กองทัพญี่ปุ่นรุกเข้าสู่ดินแดนพม่าเพื่อเข้าไปรบกับทหารอังกฤษที่ปกครองพม่า

มีบันทึกว่า…เชลยศึกราว 300 คน เสียชีวิต ฝังไว้ที่ค่ายนิเกะ (ประมาณ 15 กิโลเมตรก่อนถึงด่านเจดีย์สามองค์)

(หลังสงคราม…ไปเก็บโครงกระดูกเอามารวมไว้ในสุสาน)

ส่วนที่เหลือได้จากหลุมฝังศพเชลยศึกตามค่ายต่างๆ และยังมี “สุสานช่องไก่” ซึ่งรัฐบาลไทยและฝ่ายสัมพันธมิตรได้ตกลงกันเมื่อวันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ.2497 เพื่อสร้างสุสาน 2 แห่งนี้ขึ้น

(ในแผ่นดินเมียนมา ก็มีสุสานของทหารสัมพันธมิตรที่เสียชีวิตในฝั่งเมียนมา)

ภูมิสถาปัตย์ในสุสานที่กาญจนบุรีเป็นแบบตะวันตก

มิใช่ป่าช้า ไม่น่ากลัว

บรรยากาศในสุสานเงียบสงบ ร่มรื่น พื้นที่ภายในได้รับการออกแบบเป็นระเบียบสวยงาม เหนือหลุมฝังศพทุกหลุมมีแผ่นทองเหลืองจารึกชื่อ อายุ และประเทศของผู้เสียชีวิต

ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา…มีการดูแลรักษาความสะอาด ตัดแต่งต้นไม้ หญ้าเขียวขจี มีดอกไม้สร้างสีสัน เป็นสถานที่ที่น่าเดินชม ญาติพี่น้องของผู้วายชนม์จากทั่วโลก นักท่องเที่ยว เข้ามาเยี่ยมชม เป็นหน้าเป็นตาของกาญจนบุรี

รัฐบาลไทยและฝ่ายสัมพันธมิตรได้ตกลงกันเมื่อวันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ.2497 ในการสร้างสุสาน 2 แห่งคือ สุสานทหารสัมพันธมิตรดอนรัก (สุสานดอนรัก) และสุสานทหารสัมพันธมิตรเขาปูน (หรือสุสานช่องไก่) อยู่ที่จังหวัดกาญจนบุรี

จะมีพิธีเล็กๆ จัดขึ้นในสุสาน…เพื่อเคารพ รำลึกถึง…

วัน Anzac Day 25 เมษายน ของชาวออสเตรเลียและนิวซีแลนด์

วัน Armistice Day 5 พฤษภาคม ของชาวเนเธอร์แลนด์

วัน Remembrance Day 11 พฤศจิกายน ของชาวอังกฤษ

ชนเผ่าในโลกนี้มีวิธีการจัดการกับ “ผู้เสียชีวิต” ในลักษณะแตกต่างกัน ตามหลักศาสนา ความเชื่อ จารีต

วิธีการจัดการศพของชาวอินเดีย ณ ริมฝั่งแม่น้ำคงคา เป็นที่น่าสนใจของคนทั่วโลก

สำหรับชาวจีน…ประเพณีที่สืบสานต่อกันมาก็คล้ายกัน คือ “ขอพื้นที่” เพื่อฝังร่างของผู้เสียชีวิตแบบมีหลักการ-ความเชื่อ

พิธีกรรมในวงจรชีวิตของชาวจีนโดยเฉพาะประเพณีเกี่ยวกับความตาย ยิ่งเป็นพิธีศพของบุพการีด้วยแล้ว ผู้เป็นบุตรหลานจะต้องจัดอย่างดีที่สุด เพื่อเป็นการแสดงความกตัญญู

ตลอดนับพันปี….ประวัติศาสตร์ของคนจีน การจัดพิธีศพ โดยเฉพาะสุสานศพที่ต้องมีศิลปะ มีปรัชญา

เมืองซีอาน มีรูปปั้นดินเผาในลักษณะกองทัพประมาณ 9,000 ตัว ที่ถูกฝังอยู่ในการปกป้องจิ๋นซีฮ่องเต้ จักรพรรดิของจีน

ชาวจีนมีความเชื่ออย่างแรงกล้าในชีวิตหลังความตายและความจำเป็นในการเคารพบรรพบุรุษ

ตามพจนานุกรมของ อ.เปลื้อง ณ นคร…

“ฮวงซุ้ย” (ฮวง = ลม + ซุ้ย = น้ำ) สถานที่ฝังศพตามประเพณีจีน การแสวงหาสถานที่นั้นต้องพิจารณาทิศทางลมและน้ำรอบๆ ที่จะฝัง ต้องเป็นที่สดชื่น สว่าง หล่อเลี้ยงด้วยลมและน้ำ

ชาวจีนที่อพยพมาตั้งรกรากในสยามตั้งแต่โบราณกาลจะฝังศพของผู้เสียชีวิตในฮวงซุ้ยที่กระจายกันในหลายจังหวัดในประเทศไทย

กรุงเทพฯ คือจังหวัดที่มีชาวจีนทยอยอพยพเข้ามานับแสน

บันทึกประวัติศาสตร์ที่ค่อนข้างชัดเจนคือ สุสานวัดดอน

สุสานวัดดอน… ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ.2442 หรือในช่วงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในหลวง ร.5

ร้อยกว่าปีที่แล้ว กรุงเทพฯยังเป็นพื้นที่ป่า ทุ่งนา เมื่อมีการเลือกพื้นที่ทำสุสานต้องไปหาพื้นที่ชานเมืองที่เป็นป่าและทุ่งนา

พื้นที่โดยรอบวัดดอนเรียกว่า “ทุ่งวัดดอน” เป็นทุ่งทางตอนใต้ของพระนคร ด้านที่ติดริมแม่น้ำเจ้าพระยานั้น เดิมเรียกว่า “บ้านทวาย”…

ในเดือนเมษายน พ.ศ.2443 เริ่มมีการฝังศพในสุสานตรงนี้แบบมีการจัดการ

บุคคลแรกที่ฝังในสุสานนี้ชื่อ “อื้อกิมไถ่” เป็นชาวจีนแต้จิ๋ว มาจากสิงคโปร์

การบริหารก่อตั้งสุสานเริ่มต้นเอาแบบมาจากสิงคโปร์ คือระบบกงซีซัว (ลักษณะเป็นหลุมฮวงซุ้ย) ซึ่งไม่มีการเก็บเงิน

ก่อตั้งสุสานนี้ 6 ปี มีรายชื่อที่นำมาฝังรวมแล้วถึง 4,267 ชื่อ โดยส่วนใหญ่จะเป็นผู้ชาย ผู้หญิงมีไม่ถึง 8% รุ่นอายุ 20-30 ปี มากที่สุดประมาณ 70% รองลงมาคืออายุ 40-50 ปี ส่วน 60-70 ปี น้อยมาก

แปลว่า ชาวจีนอพยพเสียชีวิตตั้งแต่ยังเป็นหนุ่ม เป็นสาว เพราะคนจีนโพ้นทะเลส่วนใหญ่ที่อพยพมาได้รับการสาธารณสุขและการรักษาสุขภาพไม่ดี เมื่อต้องทำงานหนักก็เจ็บป่วยเสียชีวิต

เรื่องการบริหารจัดการสุสานในบางช่วง …ไม่มีข้อมูลแน่ชัด หากแต่ต่อมาได้มีการโอนการบริหารให้แก่สมาคมแต้จิ๋วฯ เป็นผู้ดำเนินการ

สมาคมแต้จิ๋วฯ เป็นผู้ก่อสร้างหลุมฝังศพเอง และให้ถือเป็นลักษณะการเช่า ไม่ใช่การซื้อ จากนั้นหลายปีต่อมาทางสมาคมแต้จิ๋วฯได้ก่อตั้งสำนักงานขึ้นในเนื้อที่ 10 ไร่ ส่วนที่เป็นสุสานเหลือเนื้อที่อยู่ประมาณ 85 ไร่ เนื่องจากทางการได้เวนคืนที่ดินไป จำนวน 4 ไร่ เพื่อก่อสร้างแนวถนนเจริญราษฎร์

ศพ…ทยอยเข้ามามากขึ้น ตามการเติบโตของประชากร

ข้อมูลจากสำนักข่าว Spring เมื่อ 25 มิ.ย.65…

จากคำบอกเล่าของ คุณสุจิตต์ สุจินัย ทายาทรุ่น 3 ที่บอกว่า ผืนดินที่นี่แต่เดิมเคยเป็นกรรมสิทธิ์ของ หลวงสิทธิ์ สุโรปกรณ์ ยกให้ทำสุสาน ยุคแรก ฝังศพผู้ป่วยที่เสียชีวิตที่ รพ.เทียนฟ้า

พอช่วงสงครามศพก็ถูกหามมาที่นี่มากขึ้น โดยมากเป็นศพไร้ญาติ คนจีนอพยพ ต่อมาถูกเปลี่ยนมาอยู่ในความดูแลของสมาคมแต้จิ๋วแห่งประเทศไทย มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง และสมาคมไหหลำด่านเกเต้

สุสานเริ่มแออัด ขาดการดูแล กลายเป็นสถานที่รกรุงรัง

พื้นที่กว้างใหญ่ รกรุงรัง มืด มีแต่หลุมศพ…ก็ไม่มีใครอยากไปยุ่งเกี่ยว เกิดเป็นตำนานมากมาย เล่าสู่กันปากต่อปาก แบบขนหัวลุก ความน่ากลัวของ “ป่าช้าวัดดอน”

ความเปลี่ยนแปลง เกิดจากวิสัยทัศน์และความกล้าลงมือทำ

ปี 2539 เกิดโครงการ “สวนสวยในป่าช้า” ตามนโยบายของ คุณนิคม ไวยรัชพานิช ผู้อำนวยการเขตสาธร

ผอ.เขต นิคม ลุยงานแบบไม่ต้องใช้งบประมาณ ปรับพื้นที่ ล้างป่าช้าในส่วนสุสานให้พื้นที่สาธารณะ ท่านยังเขียนเอกสารยุทธศาสตร์เมืองน่าอยู่ กับการพัฒนาป่าช้าวัดดอน

นี่เป็นยุทธศาสตร์อย่างหนึ่งของการทำให้ “เมืองน่าอยู่” (HEALTHY CITY) ….

ผู้เขียนมีโอกาสได้พบกับคุณนิคม เมื่อก่อนเปิดการแสดงดนตรี (เมื่อราวกลางเดือน มิ.ย.65) …ท่านทบทวนความหลังว่า…

“…การพัฒนาป่าช้าวัดดอนให้เป็นป่าช้าน่าอยู่ เป็นยุทธศาสตร์หนึ่งในหลายๆ ยุทธศาสตร์ของสำนักงานเขตสาธร ที่มุ่งจะสร้างเขตสาธรให้เป็นส่วนหนึ่งของเมืองน่าอยู่

ป่าช้าวัดดอนเป็นสุสานขนาดใหญ่ มีพื้นที่มากกว่า 150 ไร่ ตั้งอยู่บริเวณซอยเจริญกรุง 57 เชื่อมต่อจนถึงเซนต์หลุยส์ ซอย 3 อยู่ในพื้นที่แขวงทุ่งวัดดอน เขตสาธร

100 กว่าปีที่ผ่านมา มีศพทยอยเข้ามาฝังอยู่ที่บริเวณนี้
มากกว่าหมื่นศพ สภาพโดยทั่วไป โดยเฉพาะพื้นที่ที่อยู่ในความดูแลของสมาคมแต้จิ๋วฯมีศพที่ฝังในลักษณะของฮวงซุ้ย จำนวน 7,961 ศพ ศพที่บรรจุเฉพาะอัฐิอีก 1,800 กว่าศพ และศพที่ไม่มีญาติ บรรจุรวมกันไว้อีกมากกว่าหมื่นศพ

ในส่วนนี้มีพื้นที่ประมาณ 87 ไร่ ตั้งอยู่ด้านหลังของสมาคมแต้จิ๋วแห่งประเทศไทย มีรั้วรอบขอบชิด ประชาชนจะเข้าไปในสุสานก็เฉพาะในฤดูกาลเช็งเม้งเท่านั้น ทำให้บรรยากาศโดยทั่วไปเงียบสงบ หญ้าขึ้นรก ดูแล้ววังเวงน่ากลัว…”

อดีต ผอ.เขตสาธร ทบทวนความหลังต่อไปว่า….

…“สุสานในส่วนของสมาคมแต้จิ๋วฯที่อยู่บริเวณด้านนอกรั้ว ตั้งอยู่บริเวณสองข้างทางของซอยเจริญกรุง 57 สภาพของฮวงซุ้ยส่วนใหญ่จะชำรุดทรุดโทรม ขาดการดูแลเอาใจใส่ของทายาท หรือญาติของผู้ล่วงลับไปแล้ว จึงทำให้มีหญ้าขึ้นรกปกคลุมศพ สภาพพื้นที่เป็นแอ่ง มีน้ำท่วมขังตลอดปี ศพส่วนใหญ่จึงนอนแช่น้ำ ประชาชนมักเอาขยะ เศษหิน เศษปูน มาทิ้งทับถม ดูแล้วสกปรก วังเวง น่ากลัวเป็นอย่างยิ่ง ยามค่ำคืนไม่ค่อยมีคนเดินผ่าน แต่ต่อมาพื้นที่บางส่วนถูกเวนคืนไปสร้างเป็นทางด่วนขั้นที่สอง ส่วน B…

…มีการ ‘ล้างป่าช้า’ ครั้งหนึ่ง สำหรับในส่วนของ
มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง พื้นที่ประมาณ 30 ไร่ ถูกเช่าเป็นที่ฝังศพไม่มีญาติ ศพที่ตายอุบัติเหตุ หรือโรคร้ายแรงต่างๆ จะถูกนำมาฝังไว้บริเวณนี้ สถานที่แห่งนี้สามารถฝังศพได้ประมาณ 4,000 ศพ จะถูกหมุนเวียนล้างป่าช้าแล้วนำศพใหม่มาฝังตลอดเวลา

นักวิ่งสุขภาพสมาคมแต้จิ๋วซึ่งเป็นหนึ่งกิจกรรมของสมาคม ได้เข้ามาบริหารลานสุขภาพให้สุสานมีความสวยงาม ร่มรื่น ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อประชาชนและเยาวชนมาใช้เป็นที่ออกกำลังกาย…”

แถมเป็นข้อมูลเรื่อง “การล้างป่าช้า”…

คำว่า “ล้างป่าช้า” ผู้ร่วมพิธีมีศรัทธา จะไปเก็บกระดูกตามป่าช้าตามวัด พื้นที่ที่มีคนนำศพไปฝัง แล้วปล่อยไว้ไม่ได้ดูแล วัวควายไปเหยียบย่ำกระดูกก็โผล่ขึ้นมา เป็นที่อุจาดตา อาสาสมัครจะไปเก็บเอากระดูกทั้งหมดมาสวดพระอภิธรรม มาทำบุญการกุศล และเผา

ผู้ใจบุญนิยมไปร่วมงานด้วยศรัทธาและความเชื่อที่ว่า เป็นงานมหากุศลที่ยิ่งใหญ่ เชื่อกันว่าได้ทั้งบุญและมิตรภาพในกลุ่ม

พิธีล้างป่าช้าที่ชลบุรี สุสานพุทธสมาคมสว่างเหตุธรรมสถาน อ.พนัสนิคม จ.ชลบุรี เมื่อ 13 พ.ย.64 มีการขุดขึ้นมา 3,452 ศพ

ผู้ใจบุญทั้งหลายจะพบเห็นสัจธรรมของชีวิตว่า วันหนึ่งทุกคนก็จะมีสภาพไม่ต่างจากโครงกระดูกเบื้องหน้าเหล่านี้

การพัฒนา “สวนสวยแต้จิ๋ว” เป็นไปอย่างต่อเนื่อง

มีการจัดแบ่งพื้นที่สุสานอย่างเป็นระบบ

ส่วนนันทนาการ ประกอบด้วย สนามบาสเกตบอล 2 สนาม สนามตะกร้อ 1 สนาม สนามแบดมินตัน 1 สนาม สนามเด็กเล่น 2 แห่ง ฟิตเนสในร่ม 1 หลัง อาคารเรียนและฝึกซ้อมเทควันโด ลานแอโรบิก ลานโยคะ ซุ้มศาลา สนามหญ้าขนาดหย่อม และทางสัญจรสำหรับการวิ่งหรือเดิน

ข้อมูลจากบีบีซีไทย เมื่อ 30 ตุลาคม 2018 ระบุว่า…

…“เมื่อราว 20 ปีก่อน รัฐบาลเวนคืนพื้นที่สุสานของมูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง 4 ไร่ จากที่มีอยู่ 13 ไร่ เพื่อตัดเป็นถนนเจริญราษฎร์ ทางมูลนิธิเล็งเห็นว่านี่คือสัญญาณความเจริญที่จะเข้ามาอีก ประกอบกับศพไร้ญาติที่ล้นสุสาน จึงตัดสินใจย้ายสุสานไปอยู่ อ.บ้านแพ้ว จ.สมุทรสาคร ด้วยพื้นที่เพิ่มขึ้น จาก 4 พันหลุม เป็น 7 พันหลุม…”

ปรากฏการณ์ครั้งแรกในประวัติศาสตร์…

26 มิถุนายน 2565 ที่ผ่านมา ช่วงแดดร่มลมตก ผู้ว่าฯกทม. ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ให้ทีมงานมาจัดงาน “ดนตรีในสวน” ประกาศให้สาธารณชนทั้งหลายได้ทราบ ณ ที่นี้คือ สวนสวยที่เชิญชวนให้มาพักผ่อน ออกกำลังกาย

ผู้คนทั้งหลายแห่กันไปฟังดนตรี สร้างบรรยากาศแปลกใหม่ ป่าช้าวัดดอนเป็นที่รู้จักกันกระหึ่มว่านี่คือ พื้นที่สีเขียวที่น่ารื่นรมย์

มีแสงสว่างในยามเช้ามืด กลางคืน

นี่เป็นมรดกทางความคิด มีจิตสาธารณะ ของชาวจีนเชื้อสายไทยที่ผ่านมา 122 ปีที่แล้ว

Chonburi Sponsored
อำเภอ พนัสนิคม

สมัยเมืองพนัสนิคม ในปี พ.ศ. 2371 กำเนิดเมืองขึ้นในสมัยรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระบรมราชานุญาตให้กลุ่มลาวอาสาปากน้ำมาสร้างภูมิลำเนาขึ้นในพื้นที่รกร้างระหว่างเมืองชลบุรีกับเมืองฉะเชิงเทรา พระราชทานนามเมืองว่าพนัสนิคม (บางเอกสารเขียน“พนัศนิคม”) มีฐานะเป็นเมืองจัตวา ขึ้นกับกรมท่า กรุงเทพมหานคร ให้ท้าวอินทิสาร (บางเอกสารเขียน”อินทพิศาล”) หรือ ท้าวทุม ปลัดลาว เมืองสมุทรปราการ บุตรชายคนโตของท้าวไชย (บางเอกสารเขียน”ศรีวิไชย”) อุปราชเมืองนครพนม ให้เป็นเจ้าเมืองพนัสนิคมคนแรกและพระราชทานราชทินนามและบรรดาศักดิ์ที่พระอินทอาษา (บางเอกสารเขียน“อินทรอาษา, อินทอาสา, อินทราษา“) มีข้อความในพระราชพงศาวดารว่า “พวกลาวอาสาปากน้ำ ตั้งขึ้นเมื่อครั้งในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้าสุลาลัย ภายหลังเมื่อปีชวดสัมฤทธิศก พวกลาวไม่สบาย ขอไปตั้งอยู่ที่เมืองพระรถ จึงโปรดให้ตัดเอาแขวงเมืองชลบุรี เมืองฉะเชิงเทรา มาตั้งเป็นเมืองขึ้นชื่อเมืองพนัศนิคม เจ้าเมืองชื่อพระอินทอาษา” (พระราชพงศาวดาร กรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 3 เล่ม 2 ของ เจ้าพระยาทิพากรวงศ์ ฉบับคุรุสภา พิมพ์ครั้งที่หนึ่ง พ.ศ. 2504 หน้า 180) โดยลาวบุกเบิกเมืองพนัสนิคม เป็นลาวเมืองนครพนม อ้างถึงการอพยพมาสยามครั้งแรกนำโดยท้าวไชย อุปราชเมืองนครพนม เป็นโอรสในพระบรมราชา (ท้าวกู่แก้ว) เจ้าเมืองนครพนม (เมืองนครพนมในอดีต เป็นหัวเมืองในราชอาณาจักรล้านช้างเวียงจันทน์ ประเทศราชของสยาม) ไม่สมัครใจอยู่ในปกครองของพระบรมราชา (มัง) เจ้าเมืองนครพนมคนใหม่ จึงอพยพพาสมัครพรรคพวก บุตรหลาน ท้าวเพี้ย ขอพึ่งพระบรมโพธิสมภารพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย เมื่อกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2352 และโปรดเกล้าฯให้ตั้งบ้านเรือนอยู่คลองมหาวงษ์ เมืองสมุทรปราการ ยุคนั้นจึงเรียกคนกลุ่มนี้ว่าพวกลาวอาสาปากน้ำ แต่ทนสภาพแวดล้อมไม่ไหว เพราะเป็นชาวดอนน้ำจืด ถูกให้ไปอยู่เมืองลุ่มน้ำกร่อยและเค็ม เลยขอเปลี่ยนไปอยู่ที่อื่น ซึ่งสภาพใกล้เคียงที่ดอน ลาวนครพนมกลุ่มนี้ได้บุกเบิกสร้างเมืองพนัสนิคม