Chonburi Sponsored

ชลบุรีเชิญเที่ยวงาน เทศกาลแห่โคม ชมพระฉาย สืบสายศิลป์ ถิ่นหนองจับเต่า เขาชีจรรย์

Chonburi Sponsored
Chonburi Sponsored

ภูมิภาค

ชลบุรีเชิญเที่ยวงาน เทศกาลแห่โคม ชมพระฉาย สืบสายศิลป์ ถิ่นหนองจับเต่า เขาชีจรรย์

วันพฤหัสบดี ที่ 07 กรกฎาคม พ.ศ. 2565, 19.21 น.

ติดตามข่าวด่วน กระแสข่าวบน Facebook คลิกที่นี่

เมื่อวันที่ 7 ก.ค.65 นายนิติ วิวัฒน์วานิช รองผู้ว่าราชการจังหวัดชลบุรี เป็นประธานในพิธีแถลงข่าวการจัดงานเทศกาลแห่โคม ชมพระฉาย สืบสายศิลป์ ถิ่นหนองจับเต่า เขาชีจรรย์ ครั้งที่ 8 ประจำปี 2565 โดยมี พลเรือโท พงศ์ศักดิ์ ภูรีโรจน์ ประธานมูลนิธิพระพุทธรูปแกะสลักหน้าผาเขาชีจรรย์ นางอำไพ ศักดานุกูลจิต สไลวินสกี้ ท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดชลบุรี พลเรือตรี อภิชาต ทรัพย์ประเสริฐ รองประธานมูลนิธิพระพุทธรูปแกะสลักหน้าผาเขาชีจรรย์ ว่าที่พันตรีชาติชาย ศรีโพธิ์อ่อน นายอำเภอสัตหีบ และนายธนพง โคตรมณี นายกเทศมตรีตำบลเขาชีจรรย์ เข้าร่วมแถลงข่าวการจัดงาน ณ ลานกิจกรรม พระพุทธรูปแกะสลักหน้าผาเขาชีจรรย์ ต.นาจอมเทียน อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี

จังหวัดชลบุรี เชิญชวนพี่น้องประชาชนคนไทย เที่ยวงานเทศกาลแห่โคม ชมพระฉาย สืบสายศิลป์ ถิ่นหนองจับเต่า เขาชีจรรย์ ที่จัดต่อเนื่องยาวนานเป็นปีที่ 8 เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม โดยภายในงานมีการจัดขบวนแห่โคมประทีป เพื่อน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และเพื่อเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 10 รวมทั้ง เพื่อสืบสานประเพณีท้องถิ่นของชาวสัตหีบจัดขึ้นในระหว่างวันที่ 22 – 23 ก.ค.65

กำหนดการจัดงาน ในวันศุกร์ที่ 22 ก.ค.งานเริ่มตั้งแต่เวลา 16.30 น.เป็นต้นไป มีขบวนแห่โคมประทีปจากชุมชนต่าง ๆ ส่วนในวันเสาร์ที่ 23 ก.ค. มีการแสดงโขนรามเกียรติ์ ตอน ธรรมมิกราชา นอกจากนี้ ตลอดการจัดงานทั้งสองวัน ยังมีการจำหน่ายสินค้าของดีอำเภอสัตหีบ กิจกรรมสาธิตการสร้างงาน สร้างอาชีพ และการแสดงศิลปวัฒนธรรมต่าง ๆ หมุนเวียนให้ได้ชมกันตลอดงาน อีกด้วย 

ติดตามข่าวด่วน กระแสข่าวบน Facebook คลิกที่นี่

Chonburi Sponsored
อำเภอ สัตหีบ

ช่วงประมาณรัชกาลที่ 5 และรัชกาลที่ 6 สัตหีบเป็นเพียงหมู่บ้านชายทะเล ชาวบ้านประกอบอาชีพทำไร่ ทำนา หาของป่า และประมง การคมนาคมจะใช้ทางน้ำโดยเรือเมล์หรือเรือใบ ส่วนทางบกมีแต่ทางเกวียน ถนนไปชลบุรียังไม่มี ภูมิประเทศส่วนใหญ่ยังเป็นป่ารกทึบ การเดินทางระหว่างเมืองจึงใช้เรือเป็นหลัก ในหมู่บ้านสัตหีบ มีผู้ที่ชาวบ้านนับหน้าถือตามากอยู่คนหนึ่ง ชาวบ้านเรียกว่า "ยายแจง" แกมีฐานะดีมี ที่ดิน เรือ สวน ไร่นามากมาย ตลาดสัตหีบ หนองตะเคียนและโรงเรียนสิงห์สมุทรรวมถึงบริเวณเขาแหลมเทียนอันเป็นที่ตั้งของฐานทัพเรือสัตหีบในปัจจุบันก็เคยเป็นของแก ต่อมา เมื่อกรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ทรงฝึกภาคทะเลกับกองเรือและทรงพักที่อ่าวสัตหีบ ทรงเห็นว่าอ่าวสัตหีบเหมาะเป็นที่ตั้งหน่วยเรือ เพราะมีเกาะใหญ่น้อยช่วยกำบังคลื่นลม พระองค์จึงได้บอกถึงพระประสงค์ที่จะใช้บริเวณเขาแหลมเทียนเป็นที่ตั้งหน่วยทหารเรือ ยายแจงก็ยินดีที่จะถวายให้