Chonburi Sponsored

สลด! สาวกรุงเทพ ฝึกดำน้ำเชือกทุ่นพันแขน สิ้นใจก้นอ่าวแสมสาร

Chonburi Sponsored
Chonburi Sponsored

13 มิ.ย.2565 – พ.ต.ท.สำราญ สุขโต สารวัตรสอบสวน สภ.สัตหีบ รับแจ้งเหตุนักท่องเที่ยวจมน้ำเสียชีวิต ด้านทิศตะวันออก เกาะจวง ขณะนี้ นักประดาน้ำ หน่วยสงครามพิเศษทางเรือ กองเรือยุทธการ และหน่วยกู้ภัยสว่างโรจนธรรมสถานสัตหีบ ทำการกู้ร่างขึ้นจากทะเล นำขึ้นฝั่งยัง ท่าเทียบเรือเขาหมาจอ ต.แสมสาร อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี

จากการตรวจสอบ ผู้เสียชีวิต ทราบชื่อคือ น.ส.หธญา ริมพนาเวศ อายุ 35 ปี ชาวจังหวัดกรุงเทพฯ สภาพในชุดดำน้ำ ที่แขนข้อมือขวาพันติดกับเชือกผูกทุ่นถ่วงน้ำหนัก 10 กิโลกรัม โดยมี นายพลพัตร ถนอมทรัพย์ อายุ 35 ปี สามีผู้ตาย ที่กำลังอุ้มลูกน้อย ยืนเฝ้าดูด้วยความเศร้าโศกเสียใจ ซึ่งพากันเดินทางมาจากกรุงเทพฯ พักผ่อนหลังวันเกิดผู้ตายเพียง 1 วัน โดยไม่คาดคิดว่า จะเป็นวันแห่งการพลัดพรากแสนเศร้าสลดเช่นนี้

ด้าน นายพิชิต เกียกกุทัณ หัวหน้าหน่วยกู้ภัยสัตหีบ เผยว่า ได้รับการร้องขอความช่วยเหลือจากเรือนำเที่ยวแห่งหนึ่ง ในพื้นที่แสมสาร ได้มีนักท่องเที่ยวมาฝึกดำน้ำใต้ทะเล ในลักษณะฟรีไดฟ์วิ่ง (ไม่ใช้อุปกรณ์ช่วยหายใจ) จมสูญหายไปตั้งแต่ช่วงเที่ยง ซึ่งในขณะนั้น ใต้ทะเลมีคลื่นแรง ทำให้สมอเรือเกิดเคลื่อนตัวห่างไปจากจุดเดิม ประกอบกับแรงคลื่นทำให้เชือกพันติดแขนผู้ตาย จนไม่สามารถขึ้นเหนือน้ำได้ทัน กู้ภัยได้ร่วมกับทหารเรือ ทำการค้นหาในระดับความลึก 13-14 เมตร นานกว่า 2 ชั่วโมง จึงพบร่างจมอยู่ใต้ทะเล ในลักษณะแขนพันติดอยู่กับเชือกทุ่นถ่วง เบื้องต้น ได้นำศพส่งชันสูตรยัง สถาบันนิติเวช ก่อนให้ญาติรับศพไปบำเพ็ญกุศลต่อไป

Chonburi Sponsored
อำเภอ สัตหีบ

ช่วงประมาณรัชกาลที่ 5 และรัชกาลที่ 6 สัตหีบเป็นเพียงหมู่บ้านชายทะเล ชาวบ้านประกอบอาชีพทำไร่ ทำนา หาของป่า และประมง การคมนาคมจะใช้ทางน้ำโดยเรือเมล์หรือเรือใบ ส่วนทางบกมีแต่ทางเกวียน ถนนไปชลบุรียังไม่มี ภูมิประเทศส่วนใหญ่ยังเป็นป่ารกทึบ การเดินทางระหว่างเมืองจึงใช้เรือเป็นหลัก ในหมู่บ้านสัตหีบ มีผู้ที่ชาวบ้านนับหน้าถือตามากอยู่คนหนึ่ง ชาวบ้านเรียกว่า "ยายแจง" แกมีฐานะดีมี ที่ดิน เรือ สวน ไร่นามากมาย ตลาดสัตหีบ หนองตะเคียนและโรงเรียนสิงห์สมุทรรวมถึงบริเวณเขาแหลมเทียนอันเป็นที่ตั้งของฐานทัพเรือสัตหีบในปัจจุบันก็เคยเป็นของแก ต่อมา เมื่อกรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ทรงฝึกภาคทะเลกับกองเรือและทรงพักที่อ่าวสัตหีบ ทรงเห็นว่าอ่าวสัตหีบเหมาะเป็นที่ตั้งหน่วยเรือ เพราะมีเกาะใหญ่น้อยช่วยกำบังคลื่นลม พระองค์จึงได้บอกถึงพระประสงค์ที่จะใช้บริเวณเขาแหลมเทียนเป็นที่ตั้งหน่วยทหารเรือ ยายแจงก็ยินดีที่จะถวายให้