Chonburi Sponsored

เฉลย! เส้นจราจรแปลกตาโผล่พัทยา ที่แท้เส้นชะลอความเร็วแบบใหม่

Chonburi Sponsored
Chonburi Sponsored

เฉลยแล้ว! ปมเส้นจราจรลายแปลกตาโผล่บนผิวจราจร ก่อนถึงแยกถนนเลียบทางรถไฟ ต.หนองหรือ อ.บางละมุง จ.ชลบุรี ที่แท้เป็นเส้นชะลอความเร็วรูปแแบบใหม่ มีความหนากว่า ลวดลายที่มองเห็นทำให้เตือนผู้ขับขี่ช่วยลดอุบัติเหตุ

กรณีชาวโซเชียลโพสต์ตั้งคำถามในในกลุ่ม พัทยาทอล์ก เกี่ยวกับเส้นจราจรลวดลายแปลกตาบนผิวถนน พรัอมถ่ายภาพประกอบ ซึ่งส่วนใหญ่ไม่รู้ว่าเป็นเส้นอะไร แต่บางส่วนได้ให้ความรู้ว่า เป็นเส้นชะลอความเร็วก่อนถึงทางม้าลาย

วันนี้ (11 มิ.ย.2565) ผู้สื่อข่าวลงพื้นที่ตรวจสอบ บริเวณถนนชัยพฤกษ์ ก่อนถึงแยกถนนเลียบทางรถไฟ ต.หนองหรือ อ.บางละมุง จ.ชลบุรี ซึ่งเป็นจุดมีการได้โพสต์ภาพไว้ ตรวจพบว่ามีเส้นดังกล่าวอยู่บนผิวจราจรจริง เป็นเส้นลายซิกแซก มีระยะประมาน 15-20 เมตร จำนวน 2 เลน ก่อนถึงทางม้าลายสีแดงทั้ง 2 ด้านการจราจร

นายเจม พ่อค้าไก่ย่าง บอกว่า เส้นจราจรลวดลายแปลกตานี้ เพิ่งถูกทำขึ้นเมื่อ 3 วันก่อน ไม่เคยเห็นเส้นลักษณะนี้มาก่อน และทราบจากเจ้าหน้าที่ทาสีตีเส้นในภายหลังว่าเป็นเส้นจราจร เอาไว้ชะลอความเร็ว แต่เส้นลายซิกแซก ไม่เคยเห็นก่อน และไม่ทราบความหมายเช่นกัน

เส้นจราจรแปลกตาใช้ชะลอความเร็ว

ด้านนางพิชญ์สินี กุลเอกสรชา นักวิเคราะห์นโยบายและแผน ส่วนจราจรและขนส่ง สำนักการช่างเมืองพัทยา กล่าวว่า เส้นจราจรลวดลายแปลกตาดังกล่าวคือ เส้นซิกแซก เป็นเส้นจราจร สำหรับชะลอความเร็วรูปแบบใหม่

ลักษณะเส้นชะลอความเร็วที่เป็นชุด มีความหนาจะทำให้มีการสั่นสะเทือนไปถึงผู้ขับขี่เพื่อเป็นการเตือน ประกอบกับลวดลายที่ส่งผลถึงระบบการมองเห็น ทำให้ผู้ขับขี่ชะลอรถ ก่อนที่จะถึงเส้นทางม้าลาย เพื่อลดการเกิดอุบัติเหตุกับผู้เดินข้ามถนนทางม้าลาย

สำหรับเส้นซิกแซก เป็นเครื่องหมายจราจรที่ใช้แพร่หลายในหลายประเทศ เช่น สหราชอาณาจักร ออสเตรเลีย ฮ่องกง ส่วนประเทศไทย มีการนำเส้นซิกแซกมาริเริ่มทดสอบใช้ในปี 2558 กับถนนในกรุงเทพมหานคร และพบว่าได้ผลดีในการลดอุบัติเหตุบริเวณทางม้าลาย

Chonburi Sponsored
อำเภอ บางละมุง

อำเภอบางละมุงแต่เดิมมีฐานะเป็นเมืองบางละมุง ตั้งอยู่ที่บ้านบางละมุง ตำบลบางละมุง จนถึง พ.ศ. 2444 ได้ยุบเมืองบางละมุงเป็นอำเภอขึ้นต่อจังหวัดชลบุรี โดยมีที่ว่าการอำเภอตั้งอยู่บริเวณริมคลองนกยาง ซึ่งขณะนั้นบริเวณดังกล่าวเป็นท่าน้ำที่สำคัญทั้งทางด้านการคมนาคมและเป็นที่ชุมนุมของเรือสินค้าต่าง ๆ ต่อมาคลองนกยางตื้นเขินไม่สะดวกต่อเรือสินค้าต่าง ๆ จะล่องเข้าออก ทั้งสภาพพื้นที่ไม่เหมาะสมที่จะขยายชุมชนให้กว้างขวาง นายอำเภอสมัยนั้น คือ นายเจิม (ต่อมาได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นพระยาสัตยานุกูล) จึงย้ายที่ว่าการอำเภอไปตั้งที่ใหม่บริเวณริมทะเลในตำบลนาเกลือ เมื่อ พ.ศ. 2452