Chonburi Sponsored

“ที่ปรึกษาอนุ กมธ.จัดระเบียบสายไฟ”ขีดเส้นตาย 7 วัน เรียกประชุมแก้ปัญหาสายไฟพาดผ่านบ้าน

Chonburi Sponsored
Chonburi Sponsored
สยามรัฐออนไลน์ 11 มิถุนายน 2565 18:09 น. ประชาสัมพันธ์

เมื่อวันที่ 9 มิ.ย.65 นายสำราญ  สินธ์ทอง ที่ปรึกษาประจำคณะอนุกรรมาธิการการจัดระเบียบสายไฟฟ้า สายสื่อสาร และการบริหารจัดการไฟฟ้าส่องสว่างในเขตพื้นที่ภาคกลาง ภาคใต้ ภาคตะวันออก และเขตพิเศษอำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี  สภาผู้แทนราษฎร พร้อมด้วยนายอรรถพล อึ๋งชินกรรม หัวหน้างานตรวจสอบเนื้อหาและคุ้มครองผู้บริโภค กสทช.เขต 42

 

นายสมศักดิ์ อังกินันทน์ พนักงานช่างระดับ 7 การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคป่าตอง นายโชคชัย กักกอ นายโสภณ พัฒกอ นายไตรภพ กีรติวัฒนารูศาสน์ และนางสาวน้ำฝน หนูปลอด สมาชิกสภาเทศบาลตำบลกะรน เขต 1 อำเภอเมืองภูเก็ต จังหวัดภูเก็ต ลงพื้นที่ติดตามความคืบหน้ากรณีนางดุรณี ดาบเพชร ร้องเรียนผ่านที่ปรึกษาประจำคณะอนุกรรมาธิการการจัดระเบียบสายไฟฟ้า สายสื่อสาร และการบริหารจัดการไฟฟ้าส่องสว่างในเขตพื้นที่ภาคกลาง ภาคใต้ ภาคตะวันออก และเขตพิเศษอำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี  สภาผู้แทนราษฎร ได้รับความเดือดร้อนจากสายไฟฟ้าพาดผ่านหลังคาบ้านยาวนานกว่า 20 ปี ที่บ้านเลขที่231 ถนนปถัฎ หมู่3 ตำบลกะรน อำเภอเมืองภูเก็ต โดยทางกสทช.เรียกหน่วยงานเอกชนที่วางสายสื่อสารพาดผ่านมาแก้ไขโดยการตัดออก เพื่อแก้ปัญหาดังกล่าวในเบื้องต้น จนทำใหเจ้าของบ้านพึ่งพอใจ 


       
จากนั้นนายสำราญ และคณะเดินทางสำรวจเส้นทางสายใหม่เพื่อแก้ปัญหาสายไฟฟ้าพาดผ่านบ้าน แต่ก็ไม่สามารถสรุปได้ เนื่องจากต้องผ่านที่ดินส่วนบุคคล จึงให้ทางท้องถิ่นหารือเพื่อหาเส้นทางพาดผ่านใหม่อีกครั้งหนึ่ง ต่อจากนั้นก็ไปสำรวจสายสื่อสารที่มีปัญหาที่ซอย 23 หลังวัดสุวรรณคีรีเขตและที่บ้านเลขที่ 58 ซอยปภัฎ ต.กะรน อ.เมือง จ.ภูเก็ต โดยทางกสทช.ก็ได้สั่งการให้เอกชนดำเนินการจัดระเบียบสายสื่อสาร เพื่อปัญหาให้กับชาวบ้านที่ได้รับความเดือดร้อน


นายสำราญ กล่าวภายหลังสำรวจเส้นทางใหม่เพื่อแก้ปัญหาเรื่องสายพาดผ่านหลังคาบ้านให้ชาวบ้าน แต่ขณะนี้ยังติดปัญหาเรื่องที่ดินซึ่งเป็นส่วนบุคคล จึงได้มอบหมายให้ท้องถิ่นเข้าไปเจรจาขอใช้ที่ดินส่วนบุคคล โดยขีดเส้นตายไว้ 7 วัน หลังจากนี้ทั้งท้องถิ่น การไฟฟ้า กสทช.จะต้องมาร่วมประชุมแก้ปัญหาในครั้งนี้ต่อไป 
  
อย่างไรก็ตาม ส่วนตัวตนจะนำร่องจัดระเบียบสายไฟฟ้าในตำบลกะรนทั้งระบบ เพื่อสร้างความสวยงามอวดสายตานักท่องเที่ยวทั่วโลกที่มาเยือนกะรนและภูเก็ตในอนาคต

Chonburi Sponsored
อำเภอ สัตหีบ

ช่วงประมาณรัชกาลที่ 5 และรัชกาลที่ 6 สัตหีบเป็นเพียงหมู่บ้านชายทะเล ชาวบ้านประกอบอาชีพทำไร่ ทำนา หาของป่า และประมง การคมนาคมจะใช้ทางน้ำโดยเรือเมล์หรือเรือใบ ส่วนทางบกมีแต่ทางเกวียน ถนนไปชลบุรียังไม่มี ภูมิประเทศส่วนใหญ่ยังเป็นป่ารกทึบ การเดินทางระหว่างเมืองจึงใช้เรือเป็นหลัก ในหมู่บ้านสัตหีบ มีผู้ที่ชาวบ้านนับหน้าถือตามากอยู่คนหนึ่ง ชาวบ้านเรียกว่า "ยายแจง" แกมีฐานะดีมี ที่ดิน เรือ สวน ไร่นามากมาย ตลาดสัตหีบ หนองตะเคียนและโรงเรียนสิงห์สมุทรรวมถึงบริเวณเขาแหลมเทียนอันเป็นที่ตั้งของฐานทัพเรือสัตหีบในปัจจุบันก็เคยเป็นของแก ต่อมา เมื่อกรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ทรงฝึกภาคทะเลกับกองเรือและทรงพักที่อ่าวสัตหีบ ทรงเห็นว่าอ่าวสัตหีบเหมาะเป็นที่ตั้งหน่วยเรือ เพราะมีเกาะใหญ่น้อยช่วยกำบังคลื่นลม พระองค์จึงได้บอกถึงพระประสงค์ที่จะใช้บริเวณเขาแหลมเทียนเป็นที่ตั้งหน่วยทหารเรือ ยายแจงก็ยินดีที่จะถวายให้