Chonburi Sponsored

ห้องน้ำหน้าศาลากลางขอนแก่นสกปรกมาก สภาพเหมือนห้องน้ำร้าง ประชาชนไม่กล้าใช้

Chonburi Sponsored
Chonburi Sponsored
  • เน่ามาก ประชาชนเข้าไปใช้ ห้องน้ำ หน้าศาลากลางจังหวัดขอนแก่น ถึงกับ สะดุ้ง ภายนอกดูดีแต่เข้าไปข้างในแล้ว หายปวด เป็นปลิดทิ้ง สกปรก จนไม่น่าเชื่อ ทั้งคราบ ปัสสาวะ ขยะเกลื่อนทั่วห้องเหมือน ห้องน้ำร้าง แต่ยังเปิดไว้คนเข้าไปผวาทุกราย แถมมีคนใจดีนำอาหารหมามากองไว้ด้วย ช่วยทำความสะอาดด่วน…
  • กลิ่นเหม็น ชาวชุมชนซอย นกแก้ว หมู่ 6 ต.ท้ายบ้าน อ.เมืองสมุทรปราการ เดือดร้อนจากควันและ กลิ่นเหม็น โชยมาจากโรงงาน ผลิตซอส แห่งหนึ่งที่อยู่ใกล้ชุมชน ควันที่ถูกปล่อยออกมาหากสูดดมจะทำให้ เวียนหัว ต้องทนอยู่กันอย่างนี้มานานจนจะทนไม่ไหว เทศบาล ควรตรวจสอบให้ทางโรงงานป้องกันและแก้ไขจริงจังเสียที…
  • ไม่ซ่อม ถนนเลียบคลอง ชลประทาน ในพื้นที่หมู่ 5 ต.โคกเพลาะ อ.พนัสนิคม จ.ชลบุรี สภาพเป็น หลุมบ่อ ตลอดสาย เส้นทางนี้มีชาวบ้านหลายตำบลใช้สัญจรร่วมกัน และเกิด อุบัติเหตุกับผู้ใช้เส้นทางเป็นประจำ ร้องเรียนกันไปหลายหน่วยงานทั้ง อบต. และ ชลประทาน แต่ไม่เคยแก้ไข ไม่รู้ต้องทนกันอีกกี่ปี…
  • ล็อกระนาว คนในพื้นที่แจ้งมา สี่แยก สนามจันทร์ และสามแยก ทานตะวัน อ.เมืองนครปฐม มักมีคน ฝ่าฝืน กฎจราจรจอดรถฝั่งซ้ายที่ ห้ามจอด ส่งผลให้การจราจรติดขัดสัญจร ลำบาก ขอให้ สภ.เมืองนครปฐม เอาจริงกับพวก มักง่าย ต่อไป เพราะตอนนี้ถูก ล็อกล้อ กันระนาวจนเข็ดขยาดทำให้การจราจรย่านนี้คล่องตัวขึ้นมาก…
  • เร่งช่วย นายนันทพงศ์ แก้วศรี ผอ.เขตดอนเมือง ชี้แจงกรณีชาวชุมชน สะพานร่วมใจ ซอยวิภาวดี 80 เขตดอนเมือง ถูกกรมทางหลวง ไล่รื้อ พื้นที่ ได้มีการเชิญผู้แทนชุมชน ตรวจสอบ พื้นที่ร่วมกับกรมธนารักษ์เพื่อนำเข้าที่ประชุมคณะอนุกรรมการ แก้ปัญหา ที่ดินที่เกี่ยวข้องกับกระทรวงคมนาคม สำนักงานเขตดอนเมือง จะประสานเพื่อแก้ไขปัญหาให้กับชาวชุมชนต่อไป…
Chonburi Sponsored
อำเภอ พนัสนิคม

สมัยเมืองพนัสนิคม ในปี พ.ศ. 2371 กำเนิดเมืองขึ้นในสมัยรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระบรมราชานุญาตให้กลุ่มลาวอาสาปากน้ำมาสร้างภูมิลำเนาขึ้นในพื้นที่รกร้างระหว่างเมืองชลบุรีกับเมืองฉะเชิงเทรา พระราชทานนามเมืองว่าพนัสนิคม (บางเอกสารเขียน“พนัศนิคม”) มีฐานะเป็นเมืองจัตวา ขึ้นกับกรมท่า กรุงเทพมหานคร ให้ท้าวอินทิสาร (บางเอกสารเขียน”อินทพิศาล”) หรือ ท้าวทุม ปลัดลาว เมืองสมุทรปราการ บุตรชายคนโตของท้าวไชย (บางเอกสารเขียน”ศรีวิไชย”) อุปราชเมืองนครพนม ให้เป็นเจ้าเมืองพนัสนิคมคนแรกและพระราชทานราชทินนามและบรรดาศักดิ์ที่พระอินทอาษา (บางเอกสารเขียน“อินทรอาษา, อินทอาสา, อินทราษา“) มีข้อความในพระราชพงศาวดารว่า “พวกลาวอาสาปากน้ำ ตั้งขึ้นเมื่อครั้งในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้าสุลาลัย ภายหลังเมื่อปีชวดสัมฤทธิศก พวกลาวไม่สบาย ขอไปตั้งอยู่ที่เมืองพระรถ จึงโปรดให้ตัดเอาแขวงเมืองชลบุรี เมืองฉะเชิงเทรา มาตั้งเป็นเมืองขึ้นชื่อเมืองพนัศนิคม เจ้าเมืองชื่อพระอินทอาษา” (พระราชพงศาวดาร กรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 3 เล่ม 2 ของ เจ้าพระยาทิพากรวงศ์ ฉบับคุรุสภา พิมพ์ครั้งที่หนึ่ง พ.ศ. 2504 หน้า 180) โดยลาวบุกเบิกเมืองพนัสนิคม เป็นลาวเมืองนครพนม อ้างถึงการอพยพมาสยามครั้งแรกนำโดยท้าวไชย อุปราชเมืองนครพนม เป็นโอรสในพระบรมราชา (ท้าวกู่แก้ว) เจ้าเมืองนครพนม (เมืองนครพนมในอดีต เป็นหัวเมืองในราชอาณาจักรล้านช้างเวียงจันทน์ ประเทศราชของสยาม) ไม่สมัครใจอยู่ในปกครองของพระบรมราชา (มัง) เจ้าเมืองนครพนมคนใหม่ จึงอพยพพาสมัครพรรคพวก บุตรหลาน ท้าวเพี้ย ขอพึ่งพระบรมโพธิสมภารพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย เมื่อกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2352 และโปรดเกล้าฯให้ตั้งบ้านเรือนอยู่คลองมหาวงษ์ เมืองสมุทรปราการ ยุคนั้นจึงเรียกคนกลุ่มนี้ว่าพวกลาวอาสาปากน้ำ แต่ทนสภาพแวดล้อมไม่ไหว เพราะเป็นชาวดอนน้ำจืด ถูกให้ไปอยู่เมืองลุ่มน้ำกร่อยและเค็ม เลยขอเปลี่ยนไปอยู่ที่อื่น ซึ่งสภาพใกล้เคียงที่ดอน ลาวนครพนมกลุ่มนี้ได้บุกเบิกสร้างเมืองพนัสนิคม