Chonburi Sponsored

ยันต์เสือหัวขาด เหนียว ฟัน ยิงไม่เข้า เรื่องเล่าผู้สืบทอดคนเดียว

Chonburi Sponsored
Chonburi Sponsored

ยันต์เสือหัวขาด กลายเป็นที่รู้จักมากขึ้นสำหรับคนในวงการนักสัก และในบรรดารูปสัตว์มหาอำนาจ เสือ มักจะได้รับความนิยมอยู่ในอันดับต้นๆ เช่น ยันต์เสือเผ่น ‘หลวงพ่อเปิ่น ฐิตคุโณ’ เกจิอาจารย์แห่งวัดบางพระ ขณะที่ ยันต์เสือเหลียวหลัง ของ อ.หนู กันภัย ก็ได้รับความนิยมไม่แพ้กัน

นอกจากนี้ยังมียันต์อีกหลายชนิด เช่น ยันต์พญาเสือ ยันต์พญาเสือสมิงมหาเวทย์ ยันต์พญาเสือตะปบเหยื่อ ยันต์พญาเสือโคร่งมหาอำนาจ ยันต์พญาเสือคู่มหาลาภ ยันต์เสือคู่เมตตาศัตรูพ่าย หรือศัตรูกลับเป็นมิตร เป็นต้น

แต่มียันต์เสืออยู่สำนักหนึ่งที่แปลกตาและไม่ค่อยพบเห็น คือ ‘ยันต์เสือหัวขาด’ ของหลวงพ่อไฉน ฉนฺทสาโร แห่งวัดคุณากร ที่เหล่าบรรดาผู้นิยมลายสักยันต์ไปให้หลวงพ่อลงเข็มอย่างไม่ขาดสาย ทำความรู้จักที่มาของ ยันต์เสือหัวขาด พร้อมพุทธคุณที่ยิ่งใหญ่ เหนียวจนตำรวจต้องขอร้องให้เลิกสัก 

เรื่องเล่า ‘ยันต์เสือหัวขาด’

กลุ่มโจรกลุ่มหนึ่งที่ได้มีวิชาทั้งปล้นฆ่า ข่มขืน ตำรวจไม่สามารถทำอะไรได้ ทั้งมีดปืนผาหน้าไม้ต่างๆ ก็ไม่ระคายผิว จนกระทั่งเมื่อตำรวจจับได้จะต้องประหาร หรือฆ่าโดยจับถ่างขาแล้วเอาไม้แหลมสวนทวารจนตาย พอตำรวจจับโจรกลุ่มนี้ได้นั้น ก็ได้เปิดเสื้อดูที่หน้าอก ปรากฏว่าก็ได้พบลายสักแบบนี้เหมือนกันหมดก็คือ ลายสักเสือหัวขาด

ปรากฏโจรชุกชุม และเมื่อถูกจับได้ ทำการทำโทษ หรือประหารไม่ได้ เพราะอาวุธพวกนี้ไม่ระคายผิว ทำให้ตำรวจต้องเอ่ยปากให้หาตัวคนที่สักยันต์เสือหัวขาดนี้ให้ได้ และปรากฏพบผู้ที่สักยันต์ลายเสือหัวขาดนี้เป็นหลวงปู่เจ้าอาวาสวัดเขานางนม อ.พนัสนิคม จังหวัดชลบุรี ตำรวจจึงได้ขอให้ท่านนั้นเลิกสัก จนมีอยู่วันหนึ่งหลวงพ่อไฉน ท่านได้เดินทางไปที่จังหวัดชลบุรี มีชาวบ้านได้เล่าเรื่องราวถึงลายสักของหลวงปู่ท่านนี้ เมื่อหลวงพ่อได้ฟัง หลวงพ่อท่านจึงเดินทางไปกราบท่าน และขอเรียนวิชากับท่านที่วัดเขานางนม พอไปถึงพระลูกวัดก็บอกท่านว่า หลวงปู่ท่านอยู่ข้างบนศาลา

สิ่งที่น่าแปลกใจก็คือ พอหลวงพ่อท่านได้ขึ้นไปกราบ ก็ไม่พบหลวงปู่ท่านจึงลงมาถามพระลูกวัดอีกครั้ง พระลูกวัดก็บอกว่าหลวงปู่นั่งอยู่ที่เดิมนั่นแหละ ท่านจึงกลับขึ้นไปอีกครั้ง ปรากฏว่าหลวงปู่ท่านนั่งยิ้มให้หลวงพ่อท่านนั่งกำบังตัวอยู่ ตั้งแต่ตอนแรกหลวงพ่อจึงเข้าไปกราบและขอเรียนวิชานี้ ทีแรกนั้นหลวงปู่ท่านจะไม่สอนให้

เพราะเห็นว่าลูกศิษย์ที่สักไปเป็นเสือเป็นโจรกันหมด

โดยปัญญาที่เฉียบแหลมของหลวงพ่อไฉนนั้นท่านจึงได้คิดที่จะตั้งเป็นหลักที่ปักไว้ที่ธรณี ล่ามโซ่เสือหัวขาดไว้

ซึ่งหมายถึง ไม่ทำใครก่อน แต่ใครอย่ามาทำเราก่อน หลวงปู่ท่านจึงสอนให้ เพราะต้นฉบับนั้นเสือหัวขาดจะไม่มีหลักมาปักและล่ามโซ่ไว้ และลายสักเสือหัวขาดนี้เป็นรายแรกที่หลวงพ่อท่านได้เปิดสักในอำเภอปากช่อง และมีลูกศิษย์ลูกหาเยอะมาก

หลวงพ่อไฉน ได้เป็นพระอีกรูปหนึ่งที่มีความเมตตาต่อศิษย์เป็นอย่างมากและยังเป็นพระที่ปฏิบัติดีมีความแตกฉานในวิชาอาคมต่างๆ ท่านเป็นลูกศิษย์ในสายของหลวงปู่ศุขวัดปากคลองมะขามเฒ่า

ผู้สืบทอดเพียงคนเดียว

ทุกวันนี้จึงถือว่าหลวงพ่อไฉนเป็นพระผู้สืบทอด ‘ลายสักเสือหัวขาด’ เพียงผู้เดียวที่สืบทอดวิชามาจากหลวงพ่อวิชิต สิริภัทโท

ฟัน ยิงไม่เข้า ไม่ระคายผิว

คงกระพัน แคล้วคลาด เจริญก้าวหน้า มีโชคลาภ เมตตามหานิยม

อย่างไรก็ตาม การสักยันต์ ให้คุณหากผู้สักนำไปทำเรื่องดีก็ย่อมส่งผลดีต่อตัวผู้สัก แต่หากสักไปแล้วแกร่งกล้าท้าประลองไปทั่ว แน่นอน ย่อมได้รับผลร้ายเช่นกัน.

Chonburi Sponsored
อำเภอ พนัสนิคม

สมัยเมืองพนัสนิคม ในปี พ.ศ. 2371 กำเนิดเมืองขึ้นในสมัยรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระบรมราชานุญาตให้กลุ่มลาวอาสาปากน้ำมาสร้างภูมิลำเนาขึ้นในพื้นที่รกร้างระหว่างเมืองชลบุรีกับเมืองฉะเชิงเทรา พระราชทานนามเมืองว่าพนัสนิคม (บางเอกสารเขียน“พนัศนิคม”) มีฐานะเป็นเมืองจัตวา ขึ้นกับกรมท่า กรุงเทพมหานคร ให้ท้าวอินทิสาร (บางเอกสารเขียน”อินทพิศาล”) หรือ ท้าวทุม ปลัดลาว เมืองสมุทรปราการ บุตรชายคนโตของท้าวไชย (บางเอกสารเขียน”ศรีวิไชย”) อุปราชเมืองนครพนม ให้เป็นเจ้าเมืองพนัสนิคมคนแรกและพระราชทานราชทินนามและบรรดาศักดิ์ที่พระอินทอาษา (บางเอกสารเขียน“อินทรอาษา, อินทอาสา, อินทราษา“) มีข้อความในพระราชพงศาวดารว่า “พวกลาวอาสาปากน้ำ ตั้งขึ้นเมื่อครั้งในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้าสุลาลัย ภายหลังเมื่อปีชวดสัมฤทธิศก พวกลาวไม่สบาย ขอไปตั้งอยู่ที่เมืองพระรถ จึงโปรดให้ตัดเอาแขวงเมืองชลบุรี เมืองฉะเชิงเทรา มาตั้งเป็นเมืองขึ้นชื่อเมืองพนัศนิคม เจ้าเมืองชื่อพระอินทอาษา” (พระราชพงศาวดาร กรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 3 เล่ม 2 ของ เจ้าพระยาทิพากรวงศ์ ฉบับคุรุสภา พิมพ์ครั้งที่หนึ่ง พ.ศ. 2504 หน้า 180) โดยลาวบุกเบิกเมืองพนัสนิคม เป็นลาวเมืองนครพนม อ้างถึงการอพยพมาสยามครั้งแรกนำโดยท้าวไชย อุปราชเมืองนครพนม เป็นโอรสในพระบรมราชา (ท้าวกู่แก้ว) เจ้าเมืองนครพนม (เมืองนครพนมในอดีต เป็นหัวเมืองในราชอาณาจักรล้านช้างเวียงจันทน์ ประเทศราชของสยาม) ไม่สมัครใจอยู่ในปกครองของพระบรมราชา (มัง) เจ้าเมืองนครพนมคนใหม่ จึงอพยพพาสมัครพรรคพวก บุตรหลาน ท้าวเพี้ย ขอพึ่งพระบรมโพธิสมภารพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย เมื่อกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2352 และโปรดเกล้าฯให้ตั้งบ้านเรือนอยู่คลองมหาวงษ์ เมืองสมุทรปราการ ยุคนั้นจึงเรียกคนกลุ่มนี้ว่าพวกลาวอาสาปากน้ำ แต่ทนสภาพแวดล้อมไม่ไหว เพราะเป็นชาวดอนน้ำจืด ถูกให้ไปอยู่เมืองลุ่มน้ำกร่อยและเค็ม เลยขอเปลี่ยนไปอยู่ที่อื่น ซึ่งสภาพใกล้เคียงที่ดอน ลาวนครพนมกลุ่มนี้ได้บุกเบิกสร้างเมืองพนัสนิคม