Chonburi Sponsored

สลด! ฆ่าปาดคอ สาวปั๊มน้ำมัน ด้านสามีหอบลูกหนีหลังเกิดเหตุ

Chonburi Sponsored
Chonburi Sponsored

วันนี้ (11 พ.ค. 65) ตำรวจ สภ.พนัสนิคม ได้รับแจ้งว่ามีคนถูกทำร้ายร่างกายจนเสียชีวิตภายในปั๊มน้ำมัน  ในตำบลหนองปรือ  อำเภอพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี จึงรุดไปที่เกิดเหตุที่บ้านพักหลังปั๊มน้ำมัน 

จากการตรวจสอบพบว่ามีผู้เสียชีวิตถูกของมีคนปาดที่บริเวณลำคอเกือบขาด แต่ไม่พบร่องลอยของการต่อสู้แต่อย่างใด และได้ตรวจสอบในที่เกิดเหตุพบมีดขอยาวประมาณ 1 เมตร ตกอยู่ใกล้ๆ กับศพ โดยมีคาบเลือดติดอยู่ทางเจ้าหน้าที่ตำรวจจึงเก็บไว้เป็นหลักฐาน  และตรวจสอบคาบลายนิ้วมือของคนร้ายที่ก่อเหตุ  และกั้นที่เกิดเหตุไม่ให้ผู้เกี่ยวข้องเข้าไปเกรงว่าจะทำลายหลักฐานในที่เกิดเหตุ

จากการสอบถามเพื่อนคนงานด้วยกันเล่าว่าที่ปั๊มนี้มีผู้ตายซึ่งมีหน้าตาดี  โดยมีสามี คือนายณัฐวุฒิ อายุ 35 ปี เป็นลูกจ้างเติมน้ำมันและพักที่หลังปั๊ม  ในช่วงเช้ามืดนายณัฐวุฒิ ได้โทรศัพท์ไปบอกตนเองว่า เช้านี้จะกลับบ้านที่โคราชให้มาเติมน้ำมันแทนด้วย ตนเองก็มาถึงบ้านพักมีกุญแจคล้องอยู่พอเปิดเข้าไปในห้อง  ก็พบว่าผู้ตายนอนในมุ้งจึงไปดูก็พบกองเลือด  จึงรีบแจ้งเจ้าหน้าที่ตำรวจทันที

เบื้องต้นทางเจ้าหน้าที่ตำรวจได้ตรวจสอบพบว่านายรัฐวุฒิ  สามีได้พาลูกชาย 6 ขวบ ขึ้นรถกระบะสีดำออกไปจากปั๊มตั้งแต่ช่วงดึก จึงจะทำการติดตามมาสอบปากคำว่าได้ก่อเหตุใช้อาวุธมีดปาดคอหรือไม่ต่อไป

Chonburi Sponsored
อำเภอ พนัสนิคม

สมัยเมืองพนัสนิคม ในปี พ.ศ. 2371 กำเนิดเมืองขึ้นในสมัยรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระบรมราชานุญาตให้กลุ่มลาวอาสาปากน้ำมาสร้างภูมิลำเนาขึ้นในพื้นที่รกร้างระหว่างเมืองชลบุรีกับเมืองฉะเชิงเทรา พระราชทานนามเมืองว่าพนัสนิคม (บางเอกสารเขียน“พนัศนิคม”) มีฐานะเป็นเมืองจัตวา ขึ้นกับกรมท่า กรุงเทพมหานคร ให้ท้าวอินทิสาร (บางเอกสารเขียน”อินทพิศาล”) หรือ ท้าวทุม ปลัดลาว เมืองสมุทรปราการ บุตรชายคนโตของท้าวไชย (บางเอกสารเขียน”ศรีวิไชย”) อุปราชเมืองนครพนม ให้เป็นเจ้าเมืองพนัสนิคมคนแรกและพระราชทานราชทินนามและบรรดาศักดิ์ที่พระอินทอาษา (บางเอกสารเขียน“อินทรอาษา, อินทอาสา, อินทราษา“) มีข้อความในพระราชพงศาวดารว่า “พวกลาวอาสาปากน้ำ ตั้งขึ้นเมื่อครั้งในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้าสุลาลัย ภายหลังเมื่อปีชวดสัมฤทธิศก พวกลาวไม่สบาย ขอไปตั้งอยู่ที่เมืองพระรถ จึงโปรดให้ตัดเอาแขวงเมืองชลบุรี เมืองฉะเชิงเทรา มาตั้งเป็นเมืองขึ้นชื่อเมืองพนัศนิคม เจ้าเมืองชื่อพระอินทอาษา” (พระราชพงศาวดาร กรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 3 เล่ม 2 ของ เจ้าพระยาทิพากรวงศ์ ฉบับคุรุสภา พิมพ์ครั้งที่หนึ่ง พ.ศ. 2504 หน้า 180) โดยลาวบุกเบิกเมืองพนัสนิคม เป็นลาวเมืองนครพนม อ้างถึงการอพยพมาสยามครั้งแรกนำโดยท้าวไชย อุปราชเมืองนครพนม เป็นโอรสในพระบรมราชา (ท้าวกู่แก้ว) เจ้าเมืองนครพนม (เมืองนครพนมในอดีต เป็นหัวเมืองในราชอาณาจักรล้านช้างเวียงจันทน์ ประเทศราชของสยาม) ไม่สมัครใจอยู่ในปกครองของพระบรมราชา (มัง) เจ้าเมืองนครพนมคนใหม่ จึงอพยพพาสมัครพรรคพวก บุตรหลาน ท้าวเพี้ย ขอพึ่งพระบรมโพธิสมภารพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย เมื่อกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2352 และโปรดเกล้าฯให้ตั้งบ้านเรือนอยู่คลองมหาวงษ์ เมืองสมุทรปราการ ยุคนั้นจึงเรียกคนกลุ่มนี้ว่าพวกลาวอาสาปากน้ำ แต่ทนสภาพแวดล้อมไม่ไหว เพราะเป็นชาวดอนน้ำจืด ถูกให้ไปอยู่เมืองลุ่มน้ำกร่อยและเค็ม เลยขอเปลี่ยนไปอยู่ที่อื่น ซึ่งสภาพใกล้เคียงที่ดอน ลาวนครพนมกลุ่มนี้ได้บุกเบิกสร้างเมืองพนัสนิคม