Chonburi Sponsored

คอลัมน์ผู้หญิง – อีกหนึ่งโครงการดีๆ ของนิสิตสัตวแพทย์จุฬาฯ ในการป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า ณ หมอนนาง ชลบุรี

Chonburi Sponsored
Chonburi Sponsored

สวัสดีครับทุกท่าน เมื่อวันเสาร์ที่ 30 เมษายน 2565 ที่ผ่านมา คณะสัตวแพทยศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดย “ชมรมต่อต้านพิษโรคสุนัขบ้า”ร่วมกับ เทศบาลตำบลหมอนนาง จังหวัดชลบุรี ได้จัด “โครงการค่ายรณรงค์ป้องกันพิษสุนัขบ้า” เพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับโรคพิษสุนัขบ้าแก่ผู้เลี้ยงสัตว์ และฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าให้กับสุนัขและแมวในเขตเทศบาลตำบลหมอนนาง ตำบลหมอนนาง อำเภอพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี

กิจกรรมนี้เป็นโครงการที่ 2 ของปีการศึกษา 2564 ที่ทางชมรมต่อต้านโรคพิษสุนัขบ้าได้จัดอย่างต่อเนื่องมาเป็นระยะเวลากว่า 30 ปีแล้วเนื่องจากชมรมฯ ตระหนักว่า การป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าที่สำคัญและทำได้ง่ายที่สุด คือ “การสร้างภูมิคุ้มกันให้แก่สัตว์เลี้ยงของเราด้วยการฉีดวัคซีนเป็นประจำ” 

แน่นอนครับ ภายใต้สถานการณ์ที่เสี่ยงต่อการแพร่ระบาดของเชื้อโรคโควิด-19 ที่หลายหน่วยงานกำลังเป็นห่วงกัน กิจกรรมนี้ได้ดำเนินขึ้น ภายใต้มาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 อย่างเคร่งครัด โดยมี นางสาวชนิกานต์ ประเสริฐศรี  หรือน้องต้นเฟิร์น นิสิตสัตวแพทย์ชั้นปีที่ 3 เป็นผู้รับผิดชอบโครงการ  และมีอาจารย์ที่ปรึกษาโครงการผู้คอยให้คำแนะนำ  3 ท่านคือ ผศ.สพ.ญ.ดร.จุฑามาส เบ็ญจนิรัตน์ รศ.น.สพ.ดร.ชาญณรงค์ รอดคำ และ ผศ.น.สพ.ดร.ทิลดิสร์ รุ่งเรืองกิจไกร 

เพื่อให้ครอบคลุมพื้นที่มากที่สุด เราได้แบ่งการทำงานออกเป็น 8 กลุ่มย่อย ได้แก่ วัดหนองไทร วัดทุ่งเหียง โดมสวนสุขภาพทุ่งเหียงบ้านหนองยาง ศาลาพระใหญ่ วัดหมอนนาง วัดชุมแสงศรีวนาราม และศาลากลางบ้าน  

งานนี้มีชาวบ้านในชุมชนให้ความสนใจ และเข้าร่วมกิจกรรมอย่างล้นหลาม เห็นได้จากจำนวนสัตว์เลี้ยงที่ได้รับวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าจากโครงการที่มีจำนวนมากถึง 4,836 ตัว

มีนิสิตที่เข้าร่วมโครงการ ตั้งแต่ปี 1 ถึงปี 6 รวมทั้งสิ้น 110 คนคณาจารย์กว่า 10 ท่านให้การดูแลอย่างใกล้ชิดดังรายนามต่อไปนี้ ศ.น.สพ.ดร.รุ่งโรจน์ ธนาวงษ์นุเวช รศ.น.สพ.ดร.วุฒิชัย กลมเกลียว ผศ.น.สพ.ดร.ทิลดิสร์ รุ่งเรืองกิจไกร ผศ.สพ.ญ.ดร.จุฑามาส เบ็ญจนิรัตน์ ผศ.น.สพ.ดร.วชิรา หุ่นประสิทธิ์ ผศ.ดร.ร.ท.หญิงสพ.ญ.เนาวรัตน์ สุธัมนาถพงษ์ ผศ.น.สพ.ดร.สว่าง เกษแดงสกลวุฒิ อ.น.สพ.ดร.สิรวิทย์ ภักดีพาณิชย์กิจ อ.สพ.ญ.ดร.เพราพิลาส ภักดีดินแดน อ.สพ.ญ.ดร.ศิรินันท์ พิศมัย และอ.สพ.ญ.ดร.ชุติมน ธนบูรณ์นิพัทธ์

กิจกรรมครั้งนี้ได้รับความร่วมมือ การประสานงาน การอำนวยความสะดวกและการสนับสนุนด้านต่างๆ ทั้งเรื่องสถานที่ อาหารการกิน อุปกรณ์และเวชภัณฑ์ต่างๆ จากทางเทศบาลตำบลหมอนนาง โดย นายสัตวแพทย์นพลิศ เสริมศักดิ์ศศิธร นายกเทศมนตรี นายไพโรจน์ ธนะนพรัตน์ รองนายกเทศมนตรี และนางสาวยุภาวดี เรืองศรีผู้อำนวยการกองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านทุกท่านที่ช่วยประสานงานกับชุมชนอย่างราบรื่น

ทั้งนี้ ชมรมฯ ยังได้รับการสนับสนุนจากผู้ใหญ่ใจดีหลายส่วนงาน ที่ช่วยทำให้กิจกรรมครั้งนี้ขับเคลื่อนไปได้คล่องตัวมากขึ้น ดังรายนามต่อไปนี้

1. บริษัท นิโปร (ประเทศไทย) จำกัด

2. บริษัท ศรีตรังโกลฟส์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) 

3. บริษัท แลคตาซอย จำกัด 

4. บริษัท ยูไนเต็ดฟู้ดส์ จำกัด (มหาชน) 

5. บริษัท เพอร์เฟค คอมพาเนียน กรุ๊ป จำกัด

6.น.สพ.นพลิศ เสริมศักดิ์ศศิธร นายกเทศมนตรี เทศบาลตำบลหมอนนาง จังหวัดชลบุรี

ในฐานะอาจารย์ที่ปรึกษาชมรมต่อต้านพิษสุนัขบ้าคณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ขอขอบพระคุณทุกท่านและทุกหน่วยงานที่กล่าวมานี้ ที่มีส่วนช่วยสนับสนุนการดำเนินกิจกรรมจิตอาสาเพื่อเพิ่มพูนทักษะการเรียนรู้ของนิสิตสัตวแพทย์ ในการที่จะช่วยนำวิชาชีพสัตวแพทย์ออกไปช่วยสังคมเพื่อลดปัญหาการระบาดของโรคพิษสุนัขบ้าในเขตชุมชนอย่างยั่งยืนครับ

หมอโอห์ม

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ นายสัตวแพทย์ ดร.ทิลดิสร์ รุ่งเรืองกิจไกร

ภาควิชากายวิภาคศาสตร์และฝ่ายประชาสัมพันธ์และภาพลักษณ์องค์กร

คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

Chonburi Sponsored
อำเภอ พนัสนิคม

สมัยเมืองพนัสนิคม ในปี พ.ศ. 2371 กำเนิดเมืองขึ้นในสมัยรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระบรมราชานุญาตให้กลุ่มลาวอาสาปากน้ำมาสร้างภูมิลำเนาขึ้นในพื้นที่รกร้างระหว่างเมืองชลบุรีกับเมืองฉะเชิงเทรา พระราชทานนามเมืองว่าพนัสนิคม (บางเอกสารเขียน“พนัศนิคม”) มีฐานะเป็นเมืองจัตวา ขึ้นกับกรมท่า กรุงเทพมหานคร ให้ท้าวอินทิสาร (บางเอกสารเขียน”อินทพิศาล”) หรือ ท้าวทุม ปลัดลาว เมืองสมุทรปราการ บุตรชายคนโตของท้าวไชย (บางเอกสารเขียน”ศรีวิไชย”) อุปราชเมืองนครพนม ให้เป็นเจ้าเมืองพนัสนิคมคนแรกและพระราชทานราชทินนามและบรรดาศักดิ์ที่พระอินทอาษา (บางเอกสารเขียน“อินทรอาษา, อินทอาสา, อินทราษา“) มีข้อความในพระราชพงศาวดารว่า “พวกลาวอาสาปากน้ำ ตั้งขึ้นเมื่อครั้งในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้าสุลาลัย ภายหลังเมื่อปีชวดสัมฤทธิศก พวกลาวไม่สบาย ขอไปตั้งอยู่ที่เมืองพระรถ จึงโปรดให้ตัดเอาแขวงเมืองชลบุรี เมืองฉะเชิงเทรา มาตั้งเป็นเมืองขึ้นชื่อเมืองพนัศนิคม เจ้าเมืองชื่อพระอินทอาษา” (พระราชพงศาวดาร กรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 3 เล่ม 2 ของ เจ้าพระยาทิพากรวงศ์ ฉบับคุรุสภา พิมพ์ครั้งที่หนึ่ง พ.ศ. 2504 หน้า 180) โดยลาวบุกเบิกเมืองพนัสนิคม เป็นลาวเมืองนครพนม อ้างถึงการอพยพมาสยามครั้งแรกนำโดยท้าวไชย อุปราชเมืองนครพนม เป็นโอรสในพระบรมราชา (ท้าวกู่แก้ว) เจ้าเมืองนครพนม (เมืองนครพนมในอดีต เป็นหัวเมืองในราชอาณาจักรล้านช้างเวียงจันทน์ ประเทศราชของสยาม) ไม่สมัครใจอยู่ในปกครองของพระบรมราชา (มัง) เจ้าเมืองนครพนมคนใหม่ จึงอพยพพาสมัครพรรคพวก บุตรหลาน ท้าวเพี้ย ขอพึ่งพระบรมโพธิสมภารพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย เมื่อกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2352 และโปรดเกล้าฯให้ตั้งบ้านเรือนอยู่คลองมหาวงษ์ เมืองสมุทรปราการ ยุคนั้นจึงเรียกคนกลุ่มนี้ว่าพวกลาวอาสาปากน้ำ แต่ทนสภาพแวดล้อมไม่ไหว เพราะเป็นชาวดอนน้ำจืด ถูกให้ไปอยู่เมืองลุ่มน้ำกร่อยและเค็ม เลยขอเปลี่ยนไปอยู่ที่อื่น ซึ่งสภาพใกล้เคียงที่ดอน ลาวนครพนมกลุ่มนี้ได้บุกเบิกสร้างเมืองพนัสนิคม