Chonburi Sponsored

ฝนหลวงฯ เดินหน้าเติมน้ำในเขื่อน รองรับความต้องการใช้น้ำพื้นที่ภาคเหนือต่อเนื่อง

Chonburi Sponsored
Chonburi Sponsored
สยามรัฐออนไลน์ 7 พฤษภาคม 2565 17:44 น. เกษตร

วันที่ 7 พ.ค.65 นายสำเริง แสงภู่วงค์ อธิบดีกรมฝนหลวงและการบินเกษตร เปิดเผยว่า กรมฝนหลวงและการบินเกษตร โดยหน่วยปฏิบัติการฝนหลวงทั่วประเทศยังคงวางแผนและปฏิบัติการฝนหลวงช่วยเหลือพื้นที่ที่มีความต้องการน้ำอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้พี่น้องประชาชนมีปริมาณน้ำเพียงพอทั้งในด้านการเกษตร การอุปโภค-บริโภค และด้านอื่นๆ โดยในช่วงนี้กรมฝนหลวงฯ ได้มีการเน้นภารกิจเติมน้ำให้กับเขื่อนแม่กวงอุดมธารา เขื่อนแม่งัดสมบูรณ์ชล จ.เชียงใหม่ รวมทั้งเขื่อนภูมิพล จ.ตาก และเขื่อนสิริกิติ์ จ.อุตรดิตถ์ เพื่อรองรับการใช้น้ำของพี่น้องประชาชนในพื้นที่ภาคเหนือ และกักเก็บน้ำสำหรับการจัดสรรเพื่อการเกษตรและการผลิตกระแสไฟฟ้าให้เพียงพอ รวมถึงยังกระจายไปยังพื้นที่เพาะปลูกทางการเกษตรด้วย โดยเมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม 2565 ที่ผ่านมา หน่วยปฏิบัติการฝนหลวง จ.เชียงใหม่ ได้ขึ้นบินปฏิบัติการฝนหลวงเพื่อเพิ่มปริมาณน้ำเก็บกักให้กับเขื่อนแม่กวงอุดมธารา เขื่อนแม่งัดสมบูรณ์ชล จ.เชียงใหม่ อ่างเก็บน้ำแม่จาง และอ่างเก็บน้ำแม่ขาม จ.ลำปาง ด้านหน่วยปฏิบัติการฝนหลวง จ.ตาก และ จ.แพร่ ปฏิบัติการเติมน้ำเก็บกักให้กับเขื่อนภูมิพลและเขื่อนสิริกิติ์อย่างต่อเนื่อง เพื่อรองรับความต้องการน้ำของพื้นที่การเกษตร

อธิบดีกรมฝนหลวงและการบินเกษตร กล่าวเพิ่มเติมอีกว่า ในด้านการช่วยเหลือพื้นที่การเกษตรปัจจุบัน หน่วยปฏิบัติการฝนหลวง จ.กาญจนบุรี ลพบุรี อุดรธานี แพร่ และจันทบุรี ได้ขึ้นบินปฏิบัติการฝนหลวงช่วยเหลือพื้นที่การเกษตรบางส่วนของ อ.ศรีสวัสดิ์ อ.บ่อพลอย อ.หนองปรือ จ.กาญจนบุรี อ.บ้านไร่ จ.อุทัยธานี อ.แก่งคอย อ.พระพุทธบาท อ.เฉลิมพระเกียรติ จ.สระบุรี อ.พนัสนิคม อ.เมือง อ.บ้านหมี่ จ.ลพบุรี อ.หนองวัวซอ อ.หนองแสง อ.หนองหาน จ.อุดรธานี อ.ส่องดาว อ.สว่างแดนดิน จ.สกลนคร และ อ.เกาะจันทร์ จ.ชลบุรี อ.แปลงยาว จ.ฉะเชิงเทรา

ทั้งนี้ ยังเพิ่มปริมาณน้ำเก็บกักให้กับเขื่อนห้วยหลวง อ่างเก็บน้ำกุดลิงง้อ อ่างเก็บน้ำหนองบ่อ จ.อุดรธานี และอ่างเก็บน้ำคลองสียัด จ.ฉะเชิงเทรา อีกด้วย อย่างไรก็ตาม พี่น้องเกษตรกรและประชาชน ยังสามารถขอรับบริการฝนหลวงและติดตามข้อมูลข่าวสารของกรมฝนหลวงและการบินเกษตรได้ที่ช่องทางเพจ Facebook กรมฝนหลวงและการบินเกษตร Twitter Instagram Line Official Account TikTok : @drraa_pr และหมายเลขโทรศัพท์ 02-109-5100

Chonburi Sponsored
อำเภอ พนัสนิคม

สมัยเมืองพนัสนิคม ในปี พ.ศ. 2371 กำเนิดเมืองขึ้นในสมัยรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระบรมราชานุญาตให้กลุ่มลาวอาสาปากน้ำมาสร้างภูมิลำเนาขึ้นในพื้นที่รกร้างระหว่างเมืองชลบุรีกับเมืองฉะเชิงเทรา พระราชทานนามเมืองว่าพนัสนิคม (บางเอกสารเขียน“พนัศนิคม”) มีฐานะเป็นเมืองจัตวา ขึ้นกับกรมท่า กรุงเทพมหานคร ให้ท้าวอินทิสาร (บางเอกสารเขียน”อินทพิศาล”) หรือ ท้าวทุม ปลัดลาว เมืองสมุทรปราการ บุตรชายคนโตของท้าวไชย (บางเอกสารเขียน”ศรีวิไชย”) อุปราชเมืองนครพนม ให้เป็นเจ้าเมืองพนัสนิคมคนแรกและพระราชทานราชทินนามและบรรดาศักดิ์ที่พระอินทอาษา (บางเอกสารเขียน“อินทรอาษา, อินทอาสา, อินทราษา“) มีข้อความในพระราชพงศาวดารว่า “พวกลาวอาสาปากน้ำ ตั้งขึ้นเมื่อครั้งในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้าสุลาลัย ภายหลังเมื่อปีชวดสัมฤทธิศก พวกลาวไม่สบาย ขอไปตั้งอยู่ที่เมืองพระรถ จึงโปรดให้ตัดเอาแขวงเมืองชลบุรี เมืองฉะเชิงเทรา มาตั้งเป็นเมืองขึ้นชื่อเมืองพนัศนิคม เจ้าเมืองชื่อพระอินทอาษา” (พระราชพงศาวดาร กรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 3 เล่ม 2 ของ เจ้าพระยาทิพากรวงศ์ ฉบับคุรุสภา พิมพ์ครั้งที่หนึ่ง พ.ศ. 2504 หน้า 180) โดยลาวบุกเบิกเมืองพนัสนิคม เป็นลาวเมืองนครพนม อ้างถึงการอพยพมาสยามครั้งแรกนำโดยท้าวไชย อุปราชเมืองนครพนม เป็นโอรสในพระบรมราชา (ท้าวกู่แก้ว) เจ้าเมืองนครพนม (เมืองนครพนมในอดีต เป็นหัวเมืองในราชอาณาจักรล้านช้างเวียงจันทน์ ประเทศราชของสยาม) ไม่สมัครใจอยู่ในปกครองของพระบรมราชา (มัง) เจ้าเมืองนครพนมคนใหม่ จึงอพยพพาสมัครพรรคพวก บุตรหลาน ท้าวเพี้ย ขอพึ่งพระบรมโพธิสมภารพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย เมื่อกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2352 และโปรดเกล้าฯให้ตั้งบ้านเรือนอยู่คลองมหาวงษ์ เมืองสมุทรปราการ ยุคนั้นจึงเรียกคนกลุ่มนี้ว่าพวกลาวอาสาปากน้ำ แต่ทนสภาพแวดล้อมไม่ไหว เพราะเป็นชาวดอนน้ำจืด ถูกให้ไปอยู่เมืองลุ่มน้ำกร่อยและเค็ม เลยขอเปลี่ยนไปอยู่ที่อื่น ซึ่งสภาพใกล้เคียงที่ดอน ลาวนครพนมกลุ่มนี้ได้บุกเบิกสร้างเมืองพนัสนิคม