Chonburi Sponsored

ศาสตราจารย์ ดร. สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เสด็จไปทรงปฏิบัติพระกรณียกิจออกหน่วยสัตวแพทย์อาสาจุฬาภรณ์ – สำนักข่าว บางกอก ทูเดย์

Chonburi Sponsored
Chonburi Sponsored

ศาสตราจารย์ ดร. สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์  อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี เสด็จไปทรงปฏิบัติพระกรณียกิจ ณ สนามเฮลิคอปเตอร์         กองเรือยุทธการ ฐานทัพเรือสัตหีบ จังหวัดชลบุรี ในการออกหน่วยสัตวแพทย์อาสาจุฬาภรณ์อย่างต่อเนื่อง เพื่อป้องกันและควบคุมการระบาดของโรคพิษสุนัขบ้าให้เห็นผลเป็นรูปธรรมมากขึ้น

ในการนี้ ทรงพระดำเนินไปทอดพระเนตรการปฏิบัติงานของหน่วยสัตวแพทย์อาสาจุฬาภรณ์  ที่โปรดให้จัดกิจกรรมออกหน่วยบริการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าแก่สุนัขและแมวให้ครอบคลุม 80% ของประชากรสุนัขและแมวทั้งหมด พร้อมกับทำหมันให้กับสุนัขและแมวทั้งที่มีเจ้าของและไม่มีเจ้าของ เพื่อขับเคลื่อนการดำเนินงานภายใต้โครงการสัตว์ปลอดโรค คนปลอดภัยจากโรคพิษสุนัขบ้า ตามพระปณิธานฯ อย่างเต็มศักยภาพ โดยได้รับการสนับสนุนทีมสัตวแพทย์และบุคลากรในสังกัดหน่วยงานต่างๆ  จากคณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์   โรงพยาบาลสัตว์ทิพย์พิมาน  สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดชลบุรี คณะสัตวแพทยศาสตร์ หน่วยบัญชาการนาวิกโยธิน  และ สถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ ที่ร่วมแรงร่วมใจกันปฏิบัติหน้าที่ให้บริการประชาชนเจ้าของสัตว์เลี้ยงในพื้นที่จังหวัดชลบุรี เพื่อสนองพระปณิธานในการกำจัดโรคพิษสุนัขบ้าให้หมดไปจากประเทศไทย โดยจะต้องไม่มีคนเจ็บป่วยหรือเสียชีวิตด้วยโรคพิษสุนัขบ้าอย่างยั่งยืน

พร้อมกันนี้ ทรงฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันให้แก่สุนัขของประชาชน และทรงร่วมผ่าตัดทำหมันสุนัขในวันนี้รวมจำนวน  6 ตัว  เพื่อควบคุมและลดจำนวนประชากรสัตว์ที่อาจเป็นพาหะนำโรคพิษสุนัขบ้ามาสู่คนได้ นับเป็นอีกหนึ่งพระภารกิจสำคัญในการนำพระประสบการณ์ที่สั่งสมมาทรงงานร่วมกับทีมสัตวแพทย์ทุกครั้งที่มีการออกหน่วยสัตวแพทย์อาสาจุฬาภรณ์ในพื้นที่ต่าง ๆ ของประเทศ  โดยวันนี้มีสุนัขและแมวได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า และ ผ่าตัดทำหมัน รวมทั้งสิ้นจำนวน  106 ตัว

โอกาสนี้ พระราชทานพระวโรกาสให้ ทีมสัตวแพทย์อาสาจุฬาภรณ์เฝ้า รับพระราชทานพระดำรัส เพื่อให้ร่วมแรง      ร่วมใจขับเคลื่อนโครงการสัตว์ปลอดโรค คนปลอดภัย จากโรคพิษสุนัขบ้าตามพระปณิธานฯ  โดยมีใจความตอนหนึ่งว่า ต้องขอบคุณน้องๆทุกคนที่มาช่วยสัตว์ของประชาชนรวมทั้งสัตว์เร่ร่อนที่ไม่มีเจ้าของ อันนี้ก็เป็นการทำบุญใหญ่ คือว่าเราช่วยสุนัขก็โยงไปถึงว่าเราต้องช่วยคนด้วย เพราะว่าคนที่เขาเป็นเจ้าของเขาก็จะปลื้มใจ ในการที่พวกเราเอาใจใส่พวกเขา และการที่พวกเรามาออกหน่วยอย่างนี้ถือได้ว่า พวกเรานี้ได้เข้าถึงประชาชนจริงๆ พี่เชื่อว่าน้องๆ ทุกคนก็คงเต็มกำลัง กับการที่เราช่วยกันทำนี้ พี่อยากให้ทุกคนต้องสามัคคีกันไว้ …”

Chonburi Sponsored
อำเภอ สัตหีบ

ช่วงประมาณรัชกาลที่ 5 และรัชกาลที่ 6 สัตหีบเป็นเพียงหมู่บ้านชายทะเล ชาวบ้านประกอบอาชีพทำไร่ ทำนา หาของป่า และประมง การคมนาคมจะใช้ทางน้ำโดยเรือเมล์หรือเรือใบ ส่วนทางบกมีแต่ทางเกวียน ถนนไปชลบุรียังไม่มี ภูมิประเทศส่วนใหญ่ยังเป็นป่ารกทึบ การเดินทางระหว่างเมืองจึงใช้เรือเป็นหลัก ในหมู่บ้านสัตหีบ มีผู้ที่ชาวบ้านนับหน้าถือตามากอยู่คนหนึ่ง ชาวบ้านเรียกว่า "ยายแจง" แกมีฐานะดีมี ที่ดิน เรือ สวน ไร่นามากมาย ตลาดสัตหีบ หนองตะเคียนและโรงเรียนสิงห์สมุทรรวมถึงบริเวณเขาแหลมเทียนอันเป็นที่ตั้งของฐานทัพเรือสัตหีบในปัจจุบันก็เคยเป็นของแก ต่อมา เมื่อกรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ทรงฝึกภาคทะเลกับกองเรือและทรงพักที่อ่าวสัตหีบ ทรงเห็นว่าอ่าวสัตหีบเหมาะเป็นที่ตั้งหน่วยเรือ เพราะมีเกาะใหญ่น้อยช่วยกำบังคลื่นลม พระองค์จึงได้บอกถึงพระประสงค์ที่จะใช้บริเวณเขาแหลมเทียนเป็นที่ตั้งหน่วยทหารเรือ ยายแจงก็ยินดีที่จะถวายให้