Chonburi Sponsored

'บิ๊กโจ๊ก' ลงตรวจเรือประมงที่แสมสาร หลังพบสถิติแจ้งลูกเรือสูญหายสูง พบแล้ว 1 ตกน้ำเอง

Chonburi Sponsored
Chonburi Sponsored

เมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม พล.ต.ท.สุรเชษฐ์ หักพาล ผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ พล.ต.ต.พนัญชัย ชื่นใจธรรม รอง ผบช.ภ.1 พร้อมกลุ่มเอ็นจีโอ และนักสิทธิมนุษยชน ลงพื้นสะพานปลาวราสินธิ์ ต.แสมสาร อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี เพื่อสอบสวนนายออง ซอ วิน ลูกเรือประมงสัญชาติเมียนมา ซึ่งถูกแจ้งว่าตกน้ำสูญหายระหว่างทำประมงในพื้นที่จังหวัดชลบุรี เมื่อวันที่ 9 มิ.ย.ที่ผ่านมา โดยพบว่าไปสมัครงานเป็นลูกเรือของเรือประมงอีกนายจ้างแทน โดยนายออง ซอ วิน ยืนยันว่าสาเหตุที่ตกเรือไม่ใช่การถูกทำร้ายร่างกายหรือทารุณกรรมระหว่างทำประมง แต่เป็นเพราะอุบัติเหตุและความประมาทเนื่องจากไปทำธุระท้ายเรือจนทำให้ตกน้ำแต่มีเรือที่อยู่ใกล้กันช่วยเหลือมาได้

พล.ต.ท.สุรเชษฐ์กล่าวว่า การสืบสวนพบลูกเรือที่สูญหายโดยไม่ได้ถูกทำร้ายหรือทารุณกรรมเป็นเครื่องยืนยันว่าการทำการประมงในประเทศไทยปัจจุบันไม่ได้มีการทำผิดเงื่อนไขหรือทารุณกรรมแรงงานเกิดขึ้นอีก  หลังมีทีมสหวิชาชีพลงตรวจสอบอย่างเข้มงวด จากการตรวจสอบฐานข้อมูลพบว่า ปี 2563-64 มีลูกเรือประมงแจ้งตกน้ำ 231 ราย ในจำนวนนี้ 54 ราย เสียชีวิต จากการตกน้ำเพราะอุบัติเหตุ ส่วนอีก 53 ราย ยังมีชีวิต โดยมีเรือลำอื่นช่วยไว้ได้ ขณะเดียวกันมีผู้สูญหาย 3 ราย ซึ่งเจ้าหน้าที่สันนิษฐานว่าอาจจะเป็นการสูญหายจากขั้นตอนการลงทะเบียนที่เกิดข้อผิดพลาด หลังจากมีการติดตามสอบสวนตั้งแต่ต้นทางถึงปลายทางแล้ว พบว่าปัจจุบันอุตสาหกรรมประมงในพื้นที่แสมสาร กำลังเผชิญกับปัญหาเรือจำนวนมากไม่กล้าออกไปทำประมง เนื่องจากหลังตรวจสอบพบว่ามีเจ้าหน้าที่ของบริษัทเรือ ที่รับจ้างทำสมุดคนประจำเรือ ปลอมขึ้นมา เจ้าของเรือจึงเกรงจะถูกดำเนินคดีหากออกไปทำประมง ซึ่งตามกฎหมายหากยังฝืนออกไปทำประมง และถูกจับอาจจะถูกเพิกถอนใบอนุญาตการทำประมง และปรับเป็นเงินสูงสุด 4 แสนบาท หรือ 4 เท่า ของมูลค่าที่จับสัตว์น้ำมาได้ จึงทำให้ราคาอาหารทะเลในพื้นที่จังหวัดชลบุรีเพิ่มสูงขึ้นและเริ่มหายากหากยังไม่รีบแก้ไขก็ยังไม่มีเรือลำใดกล้าออกไปทำประมง

เกาะติดทุกสถานการณ์จาก
Line @Matichon ได้ที่นี่

Chonburi Sponsored
อำเภอ สัตหีบ

ช่วงประมาณรัชกาลที่ 5 และรัชกาลที่ 6 สัตหีบเป็นเพียงหมู่บ้านชายทะเล ชาวบ้านประกอบอาชีพทำไร่ ทำนา หาของป่า และประมง การคมนาคมจะใช้ทางน้ำโดยเรือเมล์หรือเรือใบ ส่วนทางบกมีแต่ทางเกวียน ถนนไปชลบุรียังไม่มี ภูมิประเทศส่วนใหญ่ยังเป็นป่ารกทึบ การเดินทางระหว่างเมืองจึงใช้เรือเป็นหลัก ในหมู่บ้านสัตหีบ มีผู้ที่ชาวบ้านนับหน้าถือตามากอยู่คนหนึ่ง ชาวบ้านเรียกว่า "ยายแจง" แกมีฐานะดีมี ที่ดิน เรือ สวน ไร่นามากมาย ตลาดสัตหีบ หนองตะเคียนและโรงเรียนสิงห์สมุทรรวมถึงบริเวณเขาแหลมเทียนอันเป็นที่ตั้งของฐานทัพเรือสัตหีบในปัจจุบันก็เคยเป็นของแก ต่อมา เมื่อกรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ทรงฝึกภาคทะเลกับกองเรือและทรงพักที่อ่าวสัตหีบ ทรงเห็นว่าอ่าวสัตหีบเหมาะเป็นที่ตั้งหน่วยเรือ เพราะมีเกาะใหญ่น้อยช่วยกำบังคลื่นลม พระองค์จึงได้บอกถึงพระประสงค์ที่จะใช้บริเวณเขาแหลมเทียนเป็นที่ตั้งหน่วยทหารเรือ ยายแจงก็ยินดีที่จะถวายให้