Chonburi Sponsored

สลดรับวันแรงงาน ชายวัย 56 ปี ใช้เครนยกเสาปูนหนัก 1 ตัน น็อตยึดเครนขาด ล้มทับตายคาที่

Chonburi Sponsored
Chonburi Sponsored

วันนี้ (1 พ.ค. 65) เมื่อเวลา 08.30 น. ที่ผ่านมา ร.ต.ท ธิติรัตน์ เพ็งลำ รองสารวัตร(สอบสวน) สภ.พนัสนิคม ได้รับแจ้งว่า มีคนถูกเครนทับเสียชีวิต ภายในโรงงานปูนแห่งหนึ่ง หมู่ 2 ต.หนองขยาด อ.พนัสนิคม จ.ชลบุรี หลังรับแจ้งจึงรุดไปตรวจสอบพร้อมหน่วยกู้ภัยสว่างเหตุบ้านทุ่งเหียงอำเภอพนัสนิคม

ที่เกิดเหตุพบเป็นลานกว้าง มีชาวบ้านมุงดูไปที่รถบรรทุก 6 ล้อ บรรทุกเสาปูน ทะเบียน 88-4679 กรุงเทพมหานคร บนรถช่วงคอมีเครนที่ยื่นการใช้งานออกแล้วล้มมาทับกับร่าง นายจรัญ มณีขาว อายุ 56 ปี เสียชีวิตอยู่บนที่ขาตั้งเหล็ก สภาพศพถูกเครนล้มทับบริเวณลำตัว สภาพศีรษะแตก และคอหัก เสียชีวิตคาที่

จากการสอบถาม นายจำรัส มณีขาว อายุ 45 ปี ผู้เห็นเหตุการณ์และเป็นน้องชายของผู้เสียชีวิต บอกว่า พี่ชายตนได้ขับรถคันดังกล่าวมาเพื่อจะเอาเสาปูนมาลง แต่เสาไม่เป็นระเบียบ พี่ชายจึงจะขยับเสาให้เข้าที่ จากนั้นเครนเกิดล้มแล้วทับร่างของพี่ชายดังกล่าว ซึ่งเสามีน้ำหนักประมาณ 1 ตัน

อย่างไรก็ตาม เจ้าหน้าที่ตำรวจจึงให้หน่วยกู้ภัยนำร่างของผู้เสียชีวิตไปชันสูตร และจะได้เรียกผู้เกี่ยวข้องมาสอบสวนเพิ่มเติม เพื่อจะได้ดำเนินการตามกฎหมายต่อไป

Chonburi Sponsored
อำเภอ พนัสนิคม

สมัยเมืองพนัสนิคม ในปี พ.ศ. 2371 กำเนิดเมืองขึ้นในสมัยรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระบรมราชานุญาตให้กลุ่มลาวอาสาปากน้ำมาสร้างภูมิลำเนาขึ้นในพื้นที่รกร้างระหว่างเมืองชลบุรีกับเมืองฉะเชิงเทรา พระราชทานนามเมืองว่าพนัสนิคม (บางเอกสารเขียน“พนัศนิคม”) มีฐานะเป็นเมืองจัตวา ขึ้นกับกรมท่า กรุงเทพมหานคร ให้ท้าวอินทิสาร (บางเอกสารเขียน”อินทพิศาล”) หรือ ท้าวทุม ปลัดลาว เมืองสมุทรปราการ บุตรชายคนโตของท้าวไชย (บางเอกสารเขียน”ศรีวิไชย”) อุปราชเมืองนครพนม ให้เป็นเจ้าเมืองพนัสนิคมคนแรกและพระราชทานราชทินนามและบรรดาศักดิ์ที่พระอินทอาษา (บางเอกสารเขียน“อินทรอาษา, อินทอาสา, อินทราษา“) มีข้อความในพระราชพงศาวดารว่า “พวกลาวอาสาปากน้ำ ตั้งขึ้นเมื่อครั้งในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้าสุลาลัย ภายหลังเมื่อปีชวดสัมฤทธิศก พวกลาวไม่สบาย ขอไปตั้งอยู่ที่เมืองพระรถ จึงโปรดให้ตัดเอาแขวงเมืองชลบุรี เมืองฉะเชิงเทรา มาตั้งเป็นเมืองขึ้นชื่อเมืองพนัศนิคม เจ้าเมืองชื่อพระอินทอาษา” (พระราชพงศาวดาร กรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 3 เล่ม 2 ของ เจ้าพระยาทิพากรวงศ์ ฉบับคุรุสภา พิมพ์ครั้งที่หนึ่ง พ.ศ. 2504 หน้า 180) โดยลาวบุกเบิกเมืองพนัสนิคม เป็นลาวเมืองนครพนม อ้างถึงการอพยพมาสยามครั้งแรกนำโดยท้าวไชย อุปราชเมืองนครพนม เป็นโอรสในพระบรมราชา (ท้าวกู่แก้ว) เจ้าเมืองนครพนม (เมืองนครพนมในอดีต เป็นหัวเมืองในราชอาณาจักรล้านช้างเวียงจันทน์ ประเทศราชของสยาม) ไม่สมัครใจอยู่ในปกครองของพระบรมราชา (มัง) เจ้าเมืองนครพนมคนใหม่ จึงอพยพพาสมัครพรรคพวก บุตรหลาน ท้าวเพี้ย ขอพึ่งพระบรมโพธิสมภารพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย เมื่อกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2352 และโปรดเกล้าฯให้ตั้งบ้านเรือนอยู่คลองมหาวงษ์ เมืองสมุทรปราการ ยุคนั้นจึงเรียกคนกลุ่มนี้ว่าพวกลาวอาสาปากน้ำ แต่ทนสภาพแวดล้อมไม่ไหว เพราะเป็นชาวดอนน้ำจืด ถูกให้ไปอยู่เมืองลุ่มน้ำกร่อยและเค็ม เลยขอเปลี่ยนไปอยู่ที่อื่น ซึ่งสภาพใกล้เคียงที่ดอน ลาวนครพนมกลุ่มนี้ได้บุกเบิกสร้างเมืองพนัสนิคม