Chonburi Sponsored

2 ปี แห่งความภาคภูมิใจ “จ่าตรี” ป้ายแดง 246 นาย สำเร็จการศึกษาโรงเรียนชุมพลทหารเรือ – TOPNEWS

Chonburi Sponsored
Chonburi Sponsored
  • เผยแพร่ : 29/04/2022 21:59

2 ปี แห่งความภาคภูมิใจ “จ่าตรี” ป้ายแดง 246 นาย สำเร็จการศึกษาโรงเรียนชุมพลทหารเรือ เข้าประจำการเป็นนักรบทางเรือ กองเรือยุทธการ

วันที่ 29 เม.ย.65 พลเรือเอก สุวิน แจ้งยอดสุข ผู้บัญชาการกองเรือยุทธการ เป็นประธานในพิธีให้การต้อนรับ การเข้ารายงานตัวของข้าราชการชั้นยศ “จ่าตรี” สายวิทยาการ กองเรือยุทธการ จำนวน 246 นาย ที่สำเร็จการศึกษาจากสถาบัน โรงเรียนชุมพลทหารเรือ ประจำปี 2565 โดยมี ผู้บังคับบัญชาระดับสูง ร่วมให้การต้อนรับอย่างสมเกียรติ ณหน้ากองบัญชาการ กองเรือยุทธการ อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี

อดีตนักเรียนจ่าทหารเรือ หลังจากได้รับการประดับเครื่องหมายยศ พร้อมรับมอบประกาศนียบัตรจากผู้บัญชาการทหารเรือ นับเป็นสิ่งที่น่าภาคภูมิใจแด่ตนเอง และวงศ์ตระกูล อันส่งผลมาจากความวิริยะอุตสาหะ ความขยันหมั่นเพียร ในการศึกษาเล่าเรียน ประกอบกับการประพฤติปฏิบัติหน้าที่อยู่ในระเบียบวินัย ตลอดระยะเวลา 2 ปี ที่อบรมศึกษาอยู่ในสถาบันโรงเรียนชุมพลทหารเรือ จนนำมาซึ่งความสำเร็จในวันนี้

กองเรือยุทธการ เป็นหน่วยกำลังรบหลักของกองทัพเรือ ที่มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง ในการปฏิบัติการทางเรือและอากาศยาน เพื่อปฏิบัติหน้าที่หลักให้กองทัพเรือ ทั้งในส่วนของการรักษาอธิปไตยของชาติทางทะเล การคุ้มครองผลประโยชน์ของชาติ และการช่วยเหลือประชาชน ที่ต้องดำรงไว้ สิ่งเหล่านี้ จะสำเร็จลงไม่ได้ถ้าขาดกำลังพลที่มีศักยภาพ มีความรู้ความสามารถ และมีระเบียบวินัยที่ดี ดังข้อคิดของ ผู้บัญชาการทหารเรือ ที่ว่า “ทัศนคติเริ่มต้น และอุดมการณ์สำคัญมาก เปรียบเสมือนเข็มทิศชี้ทางตั้งแต่เริ่มออกเดิน หากการเริ่มต้นไม่ดี ผิดทิศผิดทางตั้งแต่แรก ยิ่งนานไปความผิดพลาดยิ่งสูง และอาจเป็นผลเสียแก่ตัวเรา และกองทัพเรือ ก่อนที่จะออกเดินทาง เราจึงต้องแก้เข็มทิศให้ไม่มีอัตราผิด และขีดเข็มให้ตรงไปยังจุดหมายที่ต้องการ ซึ่งในที่นี้ ผมหมายถึงเราจะต้องยึดมั่นในอุดมการณ์ ในการรักษาไว้ซึ่งสถาบัน ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และรักษาไว้ซึ่งความเที่ยงธรรม และซื่อสัตย์สุจริต” ตลอดไป

พัชรพล ปานรักษ์ / ณัฐภูมินทร์ ปานรักษ์ ผู้สื่อข่าวTOPNEWS ประจำ จ.ชลบุรี

Chonburi Sponsored
อำเภอ สัตหีบ

ช่วงประมาณรัชกาลที่ 5 และรัชกาลที่ 6 สัตหีบเป็นเพียงหมู่บ้านชายทะเล ชาวบ้านประกอบอาชีพทำไร่ ทำนา หาของป่า และประมง การคมนาคมจะใช้ทางน้ำโดยเรือเมล์หรือเรือใบ ส่วนทางบกมีแต่ทางเกวียน ถนนไปชลบุรียังไม่มี ภูมิประเทศส่วนใหญ่ยังเป็นป่ารกทึบ การเดินทางระหว่างเมืองจึงใช้เรือเป็นหลัก ในหมู่บ้านสัตหีบ มีผู้ที่ชาวบ้านนับหน้าถือตามากอยู่คนหนึ่ง ชาวบ้านเรียกว่า "ยายแจง" แกมีฐานะดีมี ที่ดิน เรือ สวน ไร่นามากมาย ตลาดสัตหีบ หนองตะเคียนและโรงเรียนสิงห์สมุทรรวมถึงบริเวณเขาแหลมเทียนอันเป็นที่ตั้งของฐานทัพเรือสัตหีบในปัจจุบันก็เคยเป็นของแก ต่อมา เมื่อกรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ทรงฝึกภาคทะเลกับกองเรือและทรงพักที่อ่าวสัตหีบ ทรงเห็นว่าอ่าวสัตหีบเหมาะเป็นที่ตั้งหน่วยเรือ เพราะมีเกาะใหญ่น้อยช่วยกำบังคลื่นลม พระองค์จึงได้บอกถึงพระประสงค์ที่จะใช้บริเวณเขาแหลมเทียนเป็นที่ตั้งหน่วยทหารเรือ ยายแจงก็ยินดีที่จะถวายให้