Chonburi Sponsored

คนพนัสนิคมแห่เข้าร้านทุเรียน 5 แยกวัดพลับ เจ้าของใจดีแกะขายเริ่มพูละ 10 บาท

Chonburi Sponsored
Chonburi Sponsored

ชาวบ้านในอำเภอพนัสนิคม แห่เข้าร้านทุเรียนที่ 5 แยกวัดพลับจนแน่นร้าน หลังเจ้าของใจดีแกะแบ่งขายเป็นพูห่อพลาสติก เริ่มที่พูละ 10 บาทไปจนถึง 60 บาท ขยายโอกาสให้คนงบน้อย

ผู้สื่อข่าวลงพื้นที่ไปยังร้านขายทุเรียนบริเวณ 5 แยกวัดพลับ อ.พนัสนิคม จ.ชลบุรี พบว่าบริเวณหน้าร้านทุเรียนงบน้อย มีลูกค้าจำนวนมากพากันเข้ามายืนต่อแถวเพื่อเลือกซื้อทุเรียนที่เจ้าของร้านแบ่งขายอย่างไม่ขาดสาย จนทำให้ผู้ขายแทบจะไม่มีเวลาว่างแม้แต่จะกินข้าว หรือดื่มน้ำกันเลยทีเดียว โดยทางร้านจะขายทุเรียนให้ลูกค้าแบบลูกและแบบแบ่งขายเป็นพูแกะขายเริ่มที่ราคา 10 บาทไปจนถึง 60 บาทต่อพู

นางสาวจีรวรรณ พรมโชติ อายุ 36 ปี เจ้าของร้าน เปิดเผยว่า แรงจูงใจที่ทำให้เปิดร้านขายทุเรียนแบบแกะพู เป็นเพราะตนเองและน้องสาวชื่นชอบการกินทุเรียนเช่นกัน และในบางครั้งต้องจ่ายเงินซื้อทุเรียน 1 ลูกในราคาเกือบ 1,000 บาท จึงคิดว่าหากไม่มีเงินก็คงไม่ได้กินผลไม้สุดแสนอร่อยนี้โดยเฉพาะทุเรียนพันธุ์หมอนทอง จึงเกิดแนวคิดที่จะแกะทุเรียนจากลูกเป็นพูแบ่งขาย เพี่อให้คนมีเงินน้อยได้ซื้อกินตามงบ นอกจากนั้น หากเป็นคนท้องยังแจกให้กินฟรีอีกด้วยแต่ท้องจะกินมากไม่ได้กับผลไม้ชนิดนี้ต้องกินแบบจำกัด

ด้าน นางสาวสุภาพร จันทร์อุทัย อายุ 34 ปี ลูกค้าที่เลือกซื้อทุเรียน กล่าวว่า ดีใจที่มีทุเรียนราคาถูกให้รับประทาน เพราะสามารถช่วยให้คนที่มีเงินน้อยได้มีโอกาสกินทุเรียนในราคาแค่ 10 บาท โดยเฉพาะในช่วงวิกฤติโควิด-19 ที่หลายครอบครัวต้องแบ่งเงินไว้ใช้จ่ายในสิ่งจำเป็น และหากต้องจ่ายเงินซื้อทุเรียนแบบยกลูกที่มีราคาตั้งแต่ 200 บาทขึ้นไปจนถึง 500 บาทก็คงจะเป็นเรื่องยาก “อย่างน้อยคนที่มีเงินเพียง 10-20 บาทก็ยังสามารถซื้อทุเรียนเช่นเดียวกับตัวเองที่จ่ายเงินแค่เพียง 100 กว่าบาทก็ได้กินทุเรียนแล้วและยังถือว่าคุ้มอีกด้วย.

Chonburi Sponsored
อำเภอ พนัสนิคม

สมัยเมืองพนัสนิคม ในปี พ.ศ. 2371 กำเนิดเมืองขึ้นในสมัยรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระบรมราชานุญาตให้กลุ่มลาวอาสาปากน้ำมาสร้างภูมิลำเนาขึ้นในพื้นที่รกร้างระหว่างเมืองชลบุรีกับเมืองฉะเชิงเทรา พระราชทานนามเมืองว่าพนัสนิคม (บางเอกสารเขียน“พนัศนิคม”) มีฐานะเป็นเมืองจัตวา ขึ้นกับกรมท่า กรุงเทพมหานคร ให้ท้าวอินทิสาร (บางเอกสารเขียน”อินทพิศาล”) หรือ ท้าวทุม ปลัดลาว เมืองสมุทรปราการ บุตรชายคนโตของท้าวไชย (บางเอกสารเขียน”ศรีวิไชย”) อุปราชเมืองนครพนม ให้เป็นเจ้าเมืองพนัสนิคมคนแรกและพระราชทานราชทินนามและบรรดาศักดิ์ที่พระอินทอาษา (บางเอกสารเขียน“อินทรอาษา, อินทอาสา, อินทราษา“) มีข้อความในพระราชพงศาวดารว่า “พวกลาวอาสาปากน้ำ ตั้งขึ้นเมื่อครั้งในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้าสุลาลัย ภายหลังเมื่อปีชวดสัมฤทธิศก พวกลาวไม่สบาย ขอไปตั้งอยู่ที่เมืองพระรถ จึงโปรดให้ตัดเอาแขวงเมืองชลบุรี เมืองฉะเชิงเทรา มาตั้งเป็นเมืองขึ้นชื่อเมืองพนัศนิคม เจ้าเมืองชื่อพระอินทอาษา” (พระราชพงศาวดาร กรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 3 เล่ม 2 ของ เจ้าพระยาทิพากรวงศ์ ฉบับคุรุสภา พิมพ์ครั้งที่หนึ่ง พ.ศ. 2504 หน้า 180) โดยลาวบุกเบิกเมืองพนัสนิคม เป็นลาวเมืองนครพนม อ้างถึงการอพยพมาสยามครั้งแรกนำโดยท้าวไชย อุปราชเมืองนครพนม เป็นโอรสในพระบรมราชา (ท้าวกู่แก้ว) เจ้าเมืองนครพนม (เมืองนครพนมในอดีต เป็นหัวเมืองในราชอาณาจักรล้านช้างเวียงจันทน์ ประเทศราชของสยาม) ไม่สมัครใจอยู่ในปกครองของพระบรมราชา (มัง) เจ้าเมืองนครพนมคนใหม่ จึงอพยพพาสมัครพรรคพวก บุตรหลาน ท้าวเพี้ย ขอพึ่งพระบรมโพธิสมภารพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย เมื่อกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2352 และโปรดเกล้าฯให้ตั้งบ้านเรือนอยู่คลองมหาวงษ์ เมืองสมุทรปราการ ยุคนั้นจึงเรียกคนกลุ่มนี้ว่าพวกลาวอาสาปากน้ำ แต่ทนสภาพแวดล้อมไม่ไหว เพราะเป็นชาวดอนน้ำจืด ถูกให้ไปอยู่เมืองลุ่มน้ำกร่อยและเค็ม เลยขอเปลี่ยนไปอยู่ที่อื่น ซึ่งสภาพใกล้เคียงที่ดอน ลาวนครพนมกลุ่มนี้ได้บุกเบิกสร้างเมืองพนัสนิคม