Chonburi Sponsored

สาววัย 41 อั้นไม่อยู่คลอดลูกสาวคนที่ 3 คารถริมถนนที่ชลบุรี ปลอดภัยทั้งคู่

Chonburi Sponsored
Chonburi Sponsored

คอหวยเมืองชลลุ้นอีกแล้ว หลังหญิงวัย 41 ปี ท้องแก่ลูกคนที่ 3 ไปไม่ถึงโรงพยาบาลอั้นไม่อยู่ คลอดลูกคารถเก๋งริมถนนสายพนัสนิคม – หนองเสม็ด กู้ภัยรุดช่วยก่อนนำส่ง รพ.ชาวบ้านรู้ข่าวแห่ดูเลขทะเบียน

เมื่อเวลา 21.00 น. วันที่ 20 เม.ย. 2565 ทางเจ้าหน้าที่กู้ภัยสว่างเหตุ บ้านทุ่งเหียง พนัสนิคมได้รับแจ้งมีหญิงปวดท้องคลอดลูกกะทันหันภายในรถยนต์เก๋ง บริเวณถนนสายพนัสนิคม – หนองเสม็ด ขาเข้าพนัสนิคม หน้าร้านสะดวกซื้อ หมู่ที่ 4 ตำบลบ้านช้าง อำเภอพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี จึงได้ประสานทางกู้ชีพโรงพยาบาลพนัสนิคม แล้วรีบรุดเข้าตรวจสอบ

เมื่อไปถึงก็พบรถเก๋ง ยี่ห้อโตโยต้า วีออส สีบรอนซ์เงิน ทะเบียน 5 กต 3946 กรุงเทพมหานคร โดยภายในรถมี นางสาวรัตนา (สงวนนามสกุล) อายุ 41 ปี นั่งอยู่ที่เบาะด้านซ้าย และได้คลอดทารกออกมาแล้ว โดยเด็กทารกคลอดออกมาเป็นเพศหญิง ผิวขาว เส้นผมดกดำ ร่างกายสมบูรณ์แข็งแรง มีน้ำหนักโดยประมาณ 2.8 กิโลกรัม จากการสอบถามทราบว่าท้องนี้เป็นท้อง 3 โดยทางชาวบ้านที่ทราบข่าว เดินทางผ่านมาพบเห็นก็ต่างยืนมุงดูและช่วยลุ้น เพื่อนำเลขทะเบียนไปซื้อหวย ในงวด 2 พฤษภาคม 2565 เผื่อโชคดี รับโชคช่วงที่เศรษฐกิจไม่ดี

ขณะที่ทางนายชวกร คุณวุฒิ อายุ 27 ปี เจ้าหน้าที่กู้ภัย เผยว่า หลังรับแจ้งก็ได้ประสานทางกู้ชีพมาช่วยเหลือ ทำการตัดสายสะดือที่เด็กทารกเพศหญิง จึงทำความสะอาด ก่อนนำแม่และเด็กซึ่งปลอดภัยดี ส่งตัวไปรักษาที่โรงพยาบาลพนัสนิคม โดยเบื้องต้นทราบมาว่า ทางแม่เด็กเจ็บท้องกะทันหันใกล้คลอด ทางญาติได้อาสามาส่ง เนื่องจากพ่อของเด็กยังอยู่ระหว่างทำงาน.

Chonburi Sponsored
อำเภอ พนัสนิคม

สมัยเมืองพนัสนิคม ในปี พ.ศ. 2371 กำเนิดเมืองขึ้นในสมัยรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระบรมราชานุญาตให้กลุ่มลาวอาสาปากน้ำมาสร้างภูมิลำเนาขึ้นในพื้นที่รกร้างระหว่างเมืองชลบุรีกับเมืองฉะเชิงเทรา พระราชทานนามเมืองว่าพนัสนิคม (บางเอกสารเขียน“พนัศนิคม”) มีฐานะเป็นเมืองจัตวา ขึ้นกับกรมท่า กรุงเทพมหานคร ให้ท้าวอินทิสาร (บางเอกสารเขียน”อินทพิศาล”) หรือ ท้าวทุม ปลัดลาว เมืองสมุทรปราการ บุตรชายคนโตของท้าวไชย (บางเอกสารเขียน”ศรีวิไชย”) อุปราชเมืองนครพนม ให้เป็นเจ้าเมืองพนัสนิคมคนแรกและพระราชทานราชทินนามและบรรดาศักดิ์ที่พระอินทอาษา (บางเอกสารเขียน“อินทรอาษา, อินทอาสา, อินทราษา“) มีข้อความในพระราชพงศาวดารว่า “พวกลาวอาสาปากน้ำ ตั้งขึ้นเมื่อครั้งในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้าสุลาลัย ภายหลังเมื่อปีชวดสัมฤทธิศก พวกลาวไม่สบาย ขอไปตั้งอยู่ที่เมืองพระรถ จึงโปรดให้ตัดเอาแขวงเมืองชลบุรี เมืองฉะเชิงเทรา มาตั้งเป็นเมืองขึ้นชื่อเมืองพนัศนิคม เจ้าเมืองชื่อพระอินทอาษา” (พระราชพงศาวดาร กรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 3 เล่ม 2 ของ เจ้าพระยาทิพากรวงศ์ ฉบับคุรุสภา พิมพ์ครั้งที่หนึ่ง พ.ศ. 2504 หน้า 180) โดยลาวบุกเบิกเมืองพนัสนิคม เป็นลาวเมืองนครพนม อ้างถึงการอพยพมาสยามครั้งแรกนำโดยท้าวไชย อุปราชเมืองนครพนม เป็นโอรสในพระบรมราชา (ท้าวกู่แก้ว) เจ้าเมืองนครพนม (เมืองนครพนมในอดีต เป็นหัวเมืองในราชอาณาจักรล้านช้างเวียงจันทน์ ประเทศราชของสยาม) ไม่สมัครใจอยู่ในปกครองของพระบรมราชา (มัง) เจ้าเมืองนครพนมคนใหม่ จึงอพยพพาสมัครพรรคพวก บุตรหลาน ท้าวเพี้ย ขอพึ่งพระบรมโพธิสมภารพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย เมื่อกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2352 และโปรดเกล้าฯให้ตั้งบ้านเรือนอยู่คลองมหาวงษ์ เมืองสมุทรปราการ ยุคนั้นจึงเรียกคนกลุ่มนี้ว่าพวกลาวอาสาปากน้ำ แต่ทนสภาพแวดล้อมไม่ไหว เพราะเป็นชาวดอนน้ำจืด ถูกให้ไปอยู่เมืองลุ่มน้ำกร่อยและเค็ม เลยขอเปลี่ยนไปอยู่ที่อื่น ซึ่งสภาพใกล้เคียงที่ดอน ลาวนครพนมกลุ่มนี้ได้บุกเบิกสร้างเมืองพนัสนิคม