Chonburi Sponsored

กองทัพเรือร่วมสมาคมกีฬาฯ จัดแข่งขันเรือใบข้ามอ่าวไทยตามรอยพระยุคลบาทฯ – TOPNEWS

Chonburi Sponsored
Chonburi Sponsored
  • เผยแพร่ : 20/04/2022 20:33

กองทัพเรือร่วมกับสมาคมกีฬาแข่งเรือใบแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์จัดการแข่งขันเรือใบข้ามอ่าวไทยตามรอยพระยุคลบาทพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศรมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราชบรมนาถบพิตร

วันที่19 เมษายน 2565 พลเรือเอกสมประสงค์นิลสมัยผู้บัญชาการทหารเรือและนายกสมาคมกีฬาแข่งเรือใบแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์เป็นประธานในการเปิดการแข่งขันเรือใบข้ามอ่าวเนื่องในโอกาสครบรอบ56ปีที่พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศรมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราชบรมนาถบพิตรทรงแล่นเรือใบข้ามอ่าวการจัดงานแล่นใบข้ามอ่าวไทยตามรอยพระยุคลบาทพระบาทสมเด็จพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราชบรมนาถบพิตรและกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติฯณอ่าวนาวิกโยธินหน่วยบัญชาการนาวิกโยธินอำเภอสัตหีบจังหวัดชลบุรี

ในโอกาสที่ปี 2565 เป็นปีที่ 56 ที่พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศรมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราชบรมนาถบพิตรทรงแล่นเรือใบข้ามอ่าวเมื่อวันที่ 19 เมษายน 2509 กองทัพเรือและสมาคมกีฬาแข่งเรือใบแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์และบริษัทปตท.สำรวจและผลิตปิโตเลียมจำกัด(มหาชน)หรือปตท.สผ.จึงได้ร่วมกันจัดกิจกรรมเพื่อเป็นการเทิดพระเกียรติและน้อมรำลึกถึงพระปรีชาสามารถของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศรมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราชบรมนาถบพิตรในฐานะที่ทรงบุกเบิกการแล่นเรือใบทางไกลเป็นครั้งแรกในน่านน้ำไทยโดยทรงเรือใบประเภทโอเคชื่อเวคาจากหน้าวังไกลกังวลอำเภอหัวหินจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ข้ามอ่าวไทยไปยังอ่าวนาวิกโยธินอำเภอสัตหีบจังหวัดชลบุรีเป็นระยะทางประมาณ60ไมล์ทะเลใช้เวลากว่า17ชั่วโมงด้วยพระองค์เองพระองค์เดียวทั้งยังมีพระอัจฉริยภาพในการออกแบบและต่อเรือใบด้วยพระองค์เองพระราชทานชื่อว่า“เรือมด”และจดลิขสิทธิ์เป็นสากลที่ประเทศอังกฤษต่อมาทรงพัฒนาเรือแบบมดขึ้นมาใหม่โดยได้พระราชทานชื่อว่าเรือใบ“ซูเปอร์มด”และเรือใบ“ไมโครมด”ซึ่งได้รับความนิยมเป็นอย่างมากในหมู่นักแล่นใบโดยกิจกรรมที่ได้จัดขึ้นประกอบด้วยกิจกรรมการแล่นใบข้ามอ่าวไทยตามรอยพระยุคลบาทพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศรมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราชบรมนาถบพิตรและการแข่งขันเรือใบรายการแข่งขันเรือใบชิงขนะเลิศแห่งประเทศไทยประจำปี2565

โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการเฉลิมฉลองและเผยแพร่พระอัจฉริยภาพและพระปรีชาสามารถทางด้านการกีฬาของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศรมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราชบรมนาถบพิตรและสนองพระราชปณิธานในการเผยแพร่กีฬาเรือใบให้เป็นที่แพร่หลายในหมู่ประชาชนและเยาวชนของชาติในส่วนของการจัดรายการการแข่งขันเรือใบข้ามอ่าวและการแข่งขันเรือใบชิงขนะเลิศแห่งประเทศไทยประจำปี2565 เพื่อเป็นน้อมรำลึกและเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศรมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราชบรมนาถบพิตรที่ทรงมีพระปรีชาสามารถทางด้านกีฬาเรือใบกับที่ได้ทรงพระราชทานหางเสือเรือพระที่นั่งเวคาให้กับสมาคมกีฬาแข่งเรือใบแห่งประเทศไทยฯเพื่อเป็นรางวัลนิรันดรสมาคมกีฬาแข่งเรือใบแห่งประเทศไทยฯจึงได้จัดให้มีการแข่งขันเรือใบชิงรางวัลพระราชทานหางเสือเรือพระที่นั่งเวคาเป็นประจำทุกปีโดยผู้ชนะเลิศการแข่งขันเรือใบทางไกลจะได้ครองรางวัลพระราชทานนิรันดรหางเสือเรือพระที่นั่ง“เวคา”เป็นเวลา1ปีพร้อมจารึกชื่อเพื่อเป็นเกียรติประวัติบนหางเสือเรือพระที่นั่งเวคา

สุรพล นาคนคร ผู้สื่อข่าว จ. เพชรบุรี

Chonburi Sponsored
อำเภอ สัตหีบ

ช่วงประมาณรัชกาลที่ 5 และรัชกาลที่ 6 สัตหีบเป็นเพียงหมู่บ้านชายทะเล ชาวบ้านประกอบอาชีพทำไร่ ทำนา หาของป่า และประมง การคมนาคมจะใช้ทางน้ำโดยเรือเมล์หรือเรือใบ ส่วนทางบกมีแต่ทางเกวียน ถนนไปชลบุรียังไม่มี ภูมิประเทศส่วนใหญ่ยังเป็นป่ารกทึบ การเดินทางระหว่างเมืองจึงใช้เรือเป็นหลัก ในหมู่บ้านสัตหีบ มีผู้ที่ชาวบ้านนับหน้าถือตามากอยู่คนหนึ่ง ชาวบ้านเรียกว่า "ยายแจง" แกมีฐานะดีมี ที่ดิน เรือ สวน ไร่นามากมาย ตลาดสัตหีบ หนองตะเคียนและโรงเรียนสิงห์สมุทรรวมถึงบริเวณเขาแหลมเทียนอันเป็นที่ตั้งของฐานทัพเรือสัตหีบในปัจจุบันก็เคยเป็นของแก ต่อมา เมื่อกรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ทรงฝึกภาคทะเลกับกองเรือและทรงพักที่อ่าวสัตหีบ ทรงเห็นว่าอ่าวสัตหีบเหมาะเป็นที่ตั้งหน่วยเรือ เพราะมีเกาะใหญ่น้อยช่วยกำบังคลื่นลม พระองค์จึงได้บอกถึงพระประสงค์ที่จะใช้บริเวณเขาแหลมเทียนเป็นที่ตั้งหน่วยทหารเรือ ยายแจงก็ยินดีที่จะถวายให้