Chonburi Sponsored

โผกอดร้องไห้! ยายสุดรันทด ตกงาน ไม่มีข้าวกิน เลี้ยงหลาน 3 ขวบ ตาเริ่มมองไม่ชัด – ข่าวสด

Chonburi Sponsored
Chonburi Sponsored

โผกอดร้องไห้! ยายสุดรันทด ตกงาน ไม่มีข้าวกิน เลี้ยงหลาน 3 ขวบ ตาเริ่มมองไม่ชัด อาศัยห้องแถวโรงงาน เจ้าของจ่ายค่าน้ำ-ค่าไฟให้ นายก ทต.เกล็ดแก้ว รุดช่วย

เกาะติดข่าว กดติดตาม ข่าวสด

วันที่ 18 เม.ย.65 นายยศวัฒน์ ภูวรัตน์เลิศคุณ นายกเทศมนตรีตำบลเกล็ดแก้ว จ.ชลบุรี ได้รับโทรศัพท์จากคุณยายว่าตัวเองเลี้ยงหลานชายวัย 3 ขวบ ไม่มีข้าวกินเนื่องจากตกงาน ตาเริ่มมองไม่เห็น ช่วงนี้อาศัยอยู่บริเวณที่พักคนงาน โรงโม่หินเขาชีจรรย์ ต.บางเสร่ อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี หลังรับแจ้งได้เดินทางไปตรวจสอบด้วยตนเอง พร้อมเจ้าหน้าที่กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม, กองสวัสดิการและสังคม, งานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เพื่อสอบถามข้อมูลและนำข้าวสารอาหารแห้งไปมอบให้ประทังชีวิตในเบื้องต้น

จากการสอบถามทราบชื่อ น.ส.สะอิ้ง เนตรพลับ อายุ 68 ปี ภูมิลำเนาชาว จ.นครสวรรค์ ทำงานเป็นคนงานโรงโม่หินเขาชีจรรย์ แต่ตอนนี้โรงโม่หินได้ปิดชั่วคราวไม่มีงานทำ ไม่มีเงินมาเลี้ยงดูหลานชายวัย 3 ขวบ แต่ยังโชคดีที่ยังได้อาศัยอยู่ห้องแถวคนงานฟรี โดยทางเจ้าของยังจ่ายค่าน้ำค่าไฟให้ ประกอบตนป่วยเป็นโรคต้อหินบริเวณตาขวา เบาหวาน ความดันโลหิตสูง แต่ไม่ได้ไปรับการรักษาเนื่องจากไม่มีเงิน หลายชายก็ไม่ได้รับการศึกษา โดยทั้งคู่ยังไม่ได้วัคซีนโควิด -19 เข็มแรก

หลังทราบเรื่อง นายยศวัฒน์ ได้เข้ามาดูแลพร้อมให้การช่วยเหลือ ก่อนจะพาคุณยายไปรับการวัคซีนโควิด -19 ทันที ส่วนหลานชายได้ประสานทางโรงพยาบาล สัตหีบ กม.10 เตรียมรับวัคซีนโควิด -19 เข็มแรกต่อไป พร้อมแจ้งคุณยายหากข้าวสาร อาหารแห้งหมดให้ประสานมายังเทศบาลตำบลเกล็ดแก้วได้ตลอด ส่วนเรื่องการศึกษาของหลายชายนั้น จะให้ไปเรียนยังศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลตำบลเกล็ดแก้ว

ส่วนเรื่องการรักษาต้อหินบริเวณตาขวาและโรคประจำตัว นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณล้นเกล้าฯ หาที่สุดมิได้ สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี จะเสด็จปฎิบัติพระกรณียกิจออกหน่วยแพทย์ พระราชทาน โรงพยาบาลจุฬาภรณ์ ในวันที่ 20 เมษายน ณ สนามรักบี้ สนามกีฬาราชนาวี กม.5 ต.พลูตาหลวง อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี ทางเทศบาลตำบลเกล็ดแก้ว ได้ส่งรายชื่อคุณยายเพื่อเข้ารับการรักษาตามโครงการแล้ว หลังคุณยายทราบเรื่องได้ร้องไห้และเข้ากอดขอบคุณนายกเทศมนตรีตำบลเกล็ดแก้วที่ลงมาดูแลประชาชน

Chonburi Sponsored
อำเภอ สัตหีบ

ช่วงประมาณรัชกาลที่ 5 และรัชกาลที่ 6 สัตหีบเป็นเพียงหมู่บ้านชายทะเล ชาวบ้านประกอบอาชีพทำไร่ ทำนา หาของป่า และประมง การคมนาคมจะใช้ทางน้ำโดยเรือเมล์หรือเรือใบ ส่วนทางบกมีแต่ทางเกวียน ถนนไปชลบุรียังไม่มี ภูมิประเทศส่วนใหญ่ยังเป็นป่ารกทึบ การเดินทางระหว่างเมืองจึงใช้เรือเป็นหลัก ในหมู่บ้านสัตหีบ มีผู้ที่ชาวบ้านนับหน้าถือตามากอยู่คนหนึ่ง ชาวบ้านเรียกว่า "ยายแจง" แกมีฐานะดีมี ที่ดิน เรือ สวน ไร่นามากมาย ตลาดสัตหีบ หนองตะเคียนและโรงเรียนสิงห์สมุทรรวมถึงบริเวณเขาแหลมเทียนอันเป็นที่ตั้งของฐานทัพเรือสัตหีบในปัจจุบันก็เคยเป็นของแก ต่อมา เมื่อกรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ทรงฝึกภาคทะเลกับกองเรือและทรงพักที่อ่าวสัตหีบ ทรงเห็นว่าอ่าวสัตหีบเหมาะเป็นที่ตั้งหน่วยเรือ เพราะมีเกาะใหญ่น้อยช่วยกำบังคลื่นลม พระองค์จึงได้บอกถึงพระประสงค์ที่จะใช้บริเวณเขาแหลมเทียนเป็นที่ตั้งหน่วยทหารเรือ ยายแจงก็ยินดีที่จะถวายให้