Chonburi Sponsored

สุดสลด! หนุ่มใหญ่พิการ ขี่ซาเล้งแหกโค้งชนเหล็กกั้น ปั๊มหัวใจไม่เป็นผล ดับคาที่ – ข่าวสด

Chonburi Sponsored
Chonburi Sponsored

สุดสลด! หนุ่มใหญ่พิการ ขี่ซาเล้งแหกโค้งชนเหล็กกั้น จนท.พบหมดสติ ปลุกไม่ตื่น ไม่มีชีพจร ปั๊มหัวใจไม่เป็นผล ยืนยันเสียชีวิตในที่เกิดเหตุ

เกาะติดข่าว กดติดตาม ข่าวสด

เมื่อเวลา 21.00 น. วันที่ 17 เม.ย. 2565 พ.ต.ท.สามารถ บุญฤทธิ์ สารวัตร(สอบสวน) สภ.พนัสนิคม จ.ชลบุรี รับแจ้งเกิดอุบัติเหตุรถจักรยานยนต์พ่วงข้างแหกโค้งชนเหล็กกั้นข้างทาง มีผู้บาดเจ็บสาหัสบนถนนสายเนินหิน-โพธิ (ขาเข้าเนินหิน) หน้าอู่บรรเทิง หมู่ 12 ต.หนองเหียง อ.พนัสนิคม จ.ชลบุรี จึงเดินทางเข้าตรวจสอบพร้อมรถกู้ชีพโรงพยาบาลพนัสนิคม และหน่วยกู้ภัยสว่างเหตุทุ่งเหียง พนัสนิคม

ที่เกิดเหตุเป็นทางโค้ง มีราวเหล็กกั้น จากการตรวจสอบพบร่องรอยรถจักรยานยนต์พ่วงข้างข้ามจากอีกฝั่งเข้าโพธิ พุ่งมาชนราวเหล็กฝั่งเข้าเนินหิน พบร่างนายอุทิศ รองวัง อายุ 53 ปี ชาว ต.หนองไม้แก่น อ.แปลงยาว จ. ฉะเชิงเทรา ค้นในตัวพบบัตรระบุบุคคลพิการประเภท 3 (สูญเสียความสามารถในการทรงตัว) สภาพนอนหมดสติ ปลุกไม่ตื่น ไม่มีชีพจร มีบาดแผลเลือดออกที่ใบหูข้างซ้าย แขนขวาท่อนบนหักผิดรูป ใต้ค้างเป็นแผลเจาะ

เจ้าหน้าที่กู้ภัยเร่งปฐมพยาบาลปั๊มหัวใจยื้อชีวิต แต่ไม่เป็นผล ทีมแพทย์กู้ชีพโรงพยาบาลพนัสนิคมได้ยืนยันเสียชีวิตในที่เกิดเหตุ ถัดไปอีก 50 เมตร พบรถจักรยานยนต์พ่วงข้างยี่ห้อยามาฮ่าสปาร์ค สีเทา-ดำ ทะเบียน คขท 561 ชลบุรี ครูดกับรางเหล็กกั้นโค้ง ไปชนกับขอบท่อระบายน้ำข้างทาง

นายนิคม สวนสุวรรณ อายุ 35 ปี อาสากู้ภัยสว่างเหตุทุ่งเหียง ผู้เข้าช่วยเหลือผู้ประสบเหตุ เปิดเผยว่า หลังรับแจ้งว่ามีอุบัติเหตุ เมื่อมาถึงก็เห็นเพื่อนกู้ภัยช่วยกันพลิกตัวผู้บาดเจ็บที่นอนคว่ำหน้า ปลุกไม่ตื่นไม่มีชีพจร จึงช่วยกันปั๊มหัวใจรอรถกู้ชีพ แต่ไม่เป็นผล เนื่องจากผู้ประสบเหตุอาการสาหัส ทางกู้ชีพ รพ.พนัสนิคม ยืนยันเสียชีวิตในที่เกิดเหตุ

เจ้าหน้าที่ตำรวจได้ถ่ายภาพบริเวณที่เกิดเหตุไว้เป็นหลักฐาน จากนั้นจะขอดูกล้องวงจรปิดบริเวณใกล้เคียงที่เกิดเหตุว่ามีคู่กรณีหรือเสียหลักเอง ส่วนร่างผู้เสียชีวิตได้ให้กู้ภัยนำส่งชันสูตรที่โรงพยาบาลพนัสนิคม จากนั้นจะติดต่อให้ญาติมารับไปดำเนินการตามประเพณีต่อไป

Chonburi Sponsored
อำเภอ พนัสนิคม

สมัยเมืองพนัสนิคม ในปี พ.ศ. 2371 กำเนิดเมืองขึ้นในสมัยรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระบรมราชานุญาตให้กลุ่มลาวอาสาปากน้ำมาสร้างภูมิลำเนาขึ้นในพื้นที่รกร้างระหว่างเมืองชลบุรีกับเมืองฉะเชิงเทรา พระราชทานนามเมืองว่าพนัสนิคม (บางเอกสารเขียน“พนัศนิคม”) มีฐานะเป็นเมืองจัตวา ขึ้นกับกรมท่า กรุงเทพมหานคร ให้ท้าวอินทิสาร (บางเอกสารเขียน”อินทพิศาล”) หรือ ท้าวทุม ปลัดลาว เมืองสมุทรปราการ บุตรชายคนโตของท้าวไชย (บางเอกสารเขียน”ศรีวิไชย”) อุปราชเมืองนครพนม ให้เป็นเจ้าเมืองพนัสนิคมคนแรกและพระราชทานราชทินนามและบรรดาศักดิ์ที่พระอินทอาษา (บางเอกสารเขียน“อินทรอาษา, อินทอาสา, อินทราษา“) มีข้อความในพระราชพงศาวดารว่า “พวกลาวอาสาปากน้ำ ตั้งขึ้นเมื่อครั้งในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้าสุลาลัย ภายหลังเมื่อปีชวดสัมฤทธิศก พวกลาวไม่สบาย ขอไปตั้งอยู่ที่เมืองพระรถ จึงโปรดให้ตัดเอาแขวงเมืองชลบุรี เมืองฉะเชิงเทรา มาตั้งเป็นเมืองขึ้นชื่อเมืองพนัศนิคม เจ้าเมืองชื่อพระอินทอาษา” (พระราชพงศาวดาร กรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 3 เล่ม 2 ของ เจ้าพระยาทิพากรวงศ์ ฉบับคุรุสภา พิมพ์ครั้งที่หนึ่ง พ.ศ. 2504 หน้า 180) โดยลาวบุกเบิกเมืองพนัสนิคม เป็นลาวเมืองนครพนม อ้างถึงการอพยพมาสยามครั้งแรกนำโดยท้าวไชย อุปราชเมืองนครพนม เป็นโอรสในพระบรมราชา (ท้าวกู่แก้ว) เจ้าเมืองนครพนม (เมืองนครพนมในอดีต เป็นหัวเมืองในราชอาณาจักรล้านช้างเวียงจันทน์ ประเทศราชของสยาม) ไม่สมัครใจอยู่ในปกครองของพระบรมราชา (มัง) เจ้าเมืองนครพนมคนใหม่ จึงอพยพพาสมัครพรรคพวก บุตรหลาน ท้าวเพี้ย ขอพึ่งพระบรมโพธิสมภารพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย เมื่อกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2352 และโปรดเกล้าฯให้ตั้งบ้านเรือนอยู่คลองมหาวงษ์ เมืองสมุทรปราการ ยุคนั้นจึงเรียกคนกลุ่มนี้ว่าพวกลาวอาสาปากน้ำ แต่ทนสภาพแวดล้อมไม่ไหว เพราะเป็นชาวดอนน้ำจืด ถูกให้ไปอยู่เมืองลุ่มน้ำกร่อยและเค็ม เลยขอเปลี่ยนไปอยู่ที่อื่น ซึ่งสภาพใกล้เคียงที่ดอน ลาวนครพนมกลุ่มนี้ได้บุกเบิกสร้างเมืองพนัสนิคม