Chonburi Sponsored

อุทาหรณ์ อย่าเผลอ! ลูกน้อยวิ่งขึ้นรถ ก่อนกดรีโมตล็อก รีบช่วยกันวุ่น

Chonburi Sponsored
Chonburi Sponsored

15 เม.ย. 65  เมื่อเวลา 08.30 น. เจ้าหน้าที่กู้ภัยสว่างเหตุบ้านทุ่งเหียง อ.พนัสนิคมได้รับแจ้งมีเหตุเด็กติดอยู่ในรถเก๋งภายในบ้านพักไม่มีเลขที่ซอยข้างวัดหลวง หมู่ที่ 6 ต.วัดหลวง อ.พนัสนิคม จ.ชลบุรี หลังรับแจ้งรีบนำกำลังอาสากู้ภัยและอุปกรณ์ไปตรวจสอบ

ที่เกิดเหตุพบรถเก๋งจอดอยู่ ซึ่งภายในรถพบเด็กชายพบวัย 2 ขวบ กำลังร้องให้ลั่นรถด้วยความตื่นกลัวและตกใจ  โดยมี น.ส.บี (ขอสงวนชื่อ-นามสกุล) ผู้เป็นแม่คอยปลอบและเรียก ทั้งยังเปิดการ์ตูนให้น้องดูเพื่อเบี่ยงเบนความสนใจ โดยเจ้าหน้าที่กู้ภัยฯ เร่งใช้อุปกรณ์งัดขอบประตูและใช้ลวดเหล็กยาวเพื่อปลดล็อกประตู  โดยใช้ทั้งลวดใช้ทั้งเสาวิทยุสื่อสารใช้เวลาประมาณ 15 นาที จึงสามารถเปิดประตูรถออกได้ ก่อนที่ น.ส.บี จะรีบเข้าไปอุ้มลูกด้วยความเป็นห่วง จากนั้นทางเจ้าหน้าที่กู้ภัยได้มอบนมกล่องให้เพื่อปลอบขวัญ ซึ่งเด็กน้อยได้ไหว้ขอบคุณพี่ๆ กู้ภัยอย่างน่าเอ็นดู
                   
จากการสอบถาม น.ส.บี เล่าว่าเมื่อช่วงเช้าสามีจะออกไปทำงาน จึงมาเปิดรถ พอลูกเห็นว่าพ่อมารถ จึงแอบวิ่งตามมาแล้วขึ้นไปรอบนรถ แล้วก็ได้กดรีโมตล็อกรถ จึงรีบโทรขอความช่วยเหลือทันที
                     
ทางด้านนายเอ อายุ 27 ปี  (ขอสงวนชื่อ-นามสกุล) ผู้เป็นพ่อเปิดเผยว่า เมื่อเช้าตนจะไปทำงานตนได้เปิดประตูรถไว้แล้วเอากุญแจไว้ในรถตนเดินไปเอาเตรียมตัวจะไปทำงาน  แล้วลูกตนก็คิดว่าตนจะพาไปเที่ยวจึงได้ขึ้นไปเล่นรอบนรถ โดยที่ตนก็ไม่รู้ พอขึ้นไปแล้วก็ปิดประตูด้วยความที่เป็นเด็กและวัยเพียง 2 ขวบ กำลังซนชอบกดนั่นกดนี่จึงกดรีโมททำให้รถล็อกประตูทั้ง 4 บาน   ตนก็ไม่รู้จะทำยังไง จึงรีบโทรแจ้งกู้ภัยให้มาช่วยเหลือทันทีและเจ้าหน้าที่กู้ภัยก็ช่วยอย่างเต็มที่ลูกตนก็ปลอดภัยดีเพราะในรถอากาศยังไม่ร้อนจึงยังไม่ได้รับอันตราย ก็ฝากขอบคุณกู้ภัยที่มาช่วยเหลือในครั้งนี้และถือว่าเป็นบทเรียนของตนเลย และอยากฝากถึงผู้ปกครองที่มีบุตรตัวเล็กอยากให้ระวังและดุแลบุตรให้ดี อย่าให้คลาดสายตาและอย่าทิ้งไว้บนรถ เพราะเด็กยังไม่รู้เรื่องช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ด้วย

Chonburi Sponsored
อำเภอ พนัสนิคม

สมัยเมืองพนัสนิคม ในปี พ.ศ. 2371 กำเนิดเมืองขึ้นในสมัยรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระบรมราชานุญาตให้กลุ่มลาวอาสาปากน้ำมาสร้างภูมิลำเนาขึ้นในพื้นที่รกร้างระหว่างเมืองชลบุรีกับเมืองฉะเชิงเทรา พระราชทานนามเมืองว่าพนัสนิคม (บางเอกสารเขียน“พนัศนิคม”) มีฐานะเป็นเมืองจัตวา ขึ้นกับกรมท่า กรุงเทพมหานคร ให้ท้าวอินทิสาร (บางเอกสารเขียน”อินทพิศาล”) หรือ ท้าวทุม ปลัดลาว เมืองสมุทรปราการ บุตรชายคนโตของท้าวไชย (บางเอกสารเขียน”ศรีวิไชย”) อุปราชเมืองนครพนม ให้เป็นเจ้าเมืองพนัสนิคมคนแรกและพระราชทานราชทินนามและบรรดาศักดิ์ที่พระอินทอาษา (บางเอกสารเขียน“อินทรอาษา, อินทอาสา, อินทราษา“) มีข้อความในพระราชพงศาวดารว่า “พวกลาวอาสาปากน้ำ ตั้งขึ้นเมื่อครั้งในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้าสุลาลัย ภายหลังเมื่อปีชวดสัมฤทธิศก พวกลาวไม่สบาย ขอไปตั้งอยู่ที่เมืองพระรถ จึงโปรดให้ตัดเอาแขวงเมืองชลบุรี เมืองฉะเชิงเทรา มาตั้งเป็นเมืองขึ้นชื่อเมืองพนัศนิคม เจ้าเมืองชื่อพระอินทอาษา” (พระราชพงศาวดาร กรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 3 เล่ม 2 ของ เจ้าพระยาทิพากรวงศ์ ฉบับคุรุสภา พิมพ์ครั้งที่หนึ่ง พ.ศ. 2504 หน้า 180) โดยลาวบุกเบิกเมืองพนัสนิคม เป็นลาวเมืองนครพนม อ้างถึงการอพยพมาสยามครั้งแรกนำโดยท้าวไชย อุปราชเมืองนครพนม เป็นโอรสในพระบรมราชา (ท้าวกู่แก้ว) เจ้าเมืองนครพนม (เมืองนครพนมในอดีต เป็นหัวเมืองในราชอาณาจักรล้านช้างเวียงจันทน์ ประเทศราชของสยาม) ไม่สมัครใจอยู่ในปกครองของพระบรมราชา (มัง) เจ้าเมืองนครพนมคนใหม่ จึงอพยพพาสมัครพรรคพวก บุตรหลาน ท้าวเพี้ย ขอพึ่งพระบรมโพธิสมภารพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย เมื่อกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2352 และโปรดเกล้าฯให้ตั้งบ้านเรือนอยู่คลองมหาวงษ์ เมืองสมุทรปราการ ยุคนั้นจึงเรียกคนกลุ่มนี้ว่าพวกลาวอาสาปากน้ำ แต่ทนสภาพแวดล้อมไม่ไหว เพราะเป็นชาวดอนน้ำจืด ถูกให้ไปอยู่เมืองลุ่มน้ำกร่อยและเค็ม เลยขอเปลี่ยนไปอยู่ที่อื่น ซึ่งสภาพใกล้เคียงที่ดอน ลาวนครพนมกลุ่มนี้ได้บุกเบิกสร้างเมืองพนัสนิคม