Chonburi Sponsored

กรมอุทยานฯ เชิญชวนเป็น “พ่อแม่อุปถัมภ์” บริจาคเงินช่วย “สัตว์ป่า”

Chonburi Sponsored
Chonburi Sponsored

กรมอุทยานฯ เชิญชวนประชาชนบริจาคเงินช่วยเหลือสัตว์ป่าในสถานีเพาะเลี้ยงสัตว์ป่า และศูนย์ช่วยเหลือสัตว์ป่า ผ่านโครงการพ่อแม่อุปถัมภ์ฯ จนถึงวันที่ 31 ธ.ค.2565

นายเผด็จ ลายทอง ผอ.สำนัก​อนุรักษ์​สัตว์ป่า​ เปิดเผย​ว่า​ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช จัดโครงการพ่อแม่อุปถัมภ์สัตว์ป่าในสถานีเพาะเลี้ยงสัตว์ป่า และศูนย์ช่วยเหลือสัตว์ป่า เปิดโอกาสให้บุคคลภายนอกได้ร่วมดูแลรักษาคุ้มครองทรัพยากรสัตว์ป่า รวมถึงสนับสนุนการให้บริการหรือสงเคราะห์สัตว์ป่าให้ได้รับการดูแลอย่างถูกต้อง เหมาะสมและเป็นไปตามหลักสุขาภิบาลสัตว์ตลอดอายุขัย

ปัจจุบันกรมอุทยานฯ พยายามรักษาสัตว์ป่าชนิดต่างๆ ให้คงอยู่ไม่ให้สูญพันธุ์ โดยเป็นการดำเนินการอนุรักษ์ภายในถิ่นที่อยู่อาศัยในพื้นที่ป่าอนุรักษ์ ทั้งเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า เขตห้ามล่าสัตว์ป่า อุทยานแห่งชาติ และป่าสงวนแห่งชาติ รวมไปถึงการดูแลสัตว์ป่าในกรงเลี้ยง ซึ่งเป็นสัตว์ป่าที่ทำการเพาะเลี้ยงขยายพันธุ์เพื่อปล่อยกลับคืนสู่ธรรมชาติ สัตว์ป่าของกลางที่ได้รับมาจากการตรวจยึด จับกุม หรือสัตว์ป่าพลัดหลง และสัตว์ป่าที่ได้รับส่งคืนจากผู้ได้รับใบอนุญาตครอบครอง รวมถึงสัตว์ป่าจากการยกเลิกกิจการสวนสัตว์

สัตว์ป่าดังกล่าวอยู่ในความดูแลของสถานีเพาะเลี้ยงสัตว์ป่า และศูนย์ช่วยเหลือสัตว์ป่า ซึ่งนอกจากจะเป็นหน่วยงานที่รับดูแลสัตว์ป่าแล้ว ยังเป็นศูนย์การเรียนรู้ที่เปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามาศึกษาและมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์สัตว์ป่าด้วย

กรมอุทยานฯ ขอเชิญหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน องค์กร มูลนิธิ บริษัท กลุ่มบุคคล หรือบุคคลทั่วไป ร่วมเป็น พ่อแม่อุปถัมภ์สัตว์ป่าในสถานีเพาะเลี้ยงสัตว์ป่า และศูนย์ช่วยเหลือสัตว์ป่า

ทั้งนี้ สามารถโอนเงินบริจาคเข้าบัญชี ธนาคารกรุงไทย สาขามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์บางเขน เลขที่บัญชี 980-216-5379 ชื่อบัญชีโครงการพ่อแม่อุปถัมภ์สัตว์ป่าในสถานีเพาะเลี้ยงสัตว์ป่า เพื่อนำมาเป็นค่าอาหาร ค่าปรับ​ปรุง​ซ่อมแซม​กรงเลี้ยง​หรือปรับภูมิ​ทัศน์​กรงเลี้ยง​

อย่างไรก็ตาม การรับบริจาคดังกล่าวได้รับการอนุญาตจากคณะกรรมการควบคุมการเรี่ยไรของหน่วยงานของรัฐ (กคร.) สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 22 มี.ค.2565 และมีระยะเวลาการรับบริจาคถึงวันที่​ 31 ธ.ค.2565

สำหรับสถานที่เลี้ยงสัตว์​ป่าในโครงการมี​ทั้งสิ้น 26 แห่ง ได้แก่ 1.สถานีเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าช่องกล่ำบน จ.สระแก้ว 2.สถานีเพาะเลี้ยงนกน้ำบางพระ จ.ชลบุรี 3.สถานีเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าบางพระ จ.ชลบุรี 4.สถานีเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าบางละมุง จ.ชลบุรี 5.สถานีเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าเขาสอยดาว จ.จันทบุรี 6.สถานีเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าเขาสน จ.ราชบุรี 7.สถานีเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าห้วยทราย จ.เพชรบุรี 8.สถานีเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าพังงา จ.พังงา 9.สถานีเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าโตนงาช้าง จ.สงขลา 10.สถานีเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าพัทลุง จ.พัทลุง 11.สถานีเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าโคกไม้เรือ จ.นราธิวาส 12.สถานีเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าภูเขียว จ.ชัยภูมิ 13.สถานีเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าธวัชบุรี จ.ร้อยเอ็ด

14.สถานีเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าขอนแก่น จ.ขอนแก่น 15.สถานีเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าจุฬาภรณ์ จ.ศรีสะเกษ 16.สถานีเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าห้วยขาแข้ง จ.อุทัยธานี 17.สถานีเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าเขาค้อ จ.เพชรบูรณ์ 18.สถานีเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าดอยตุง จ.เชียงราย 19.สถานีเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าแม่ลาว จ.เชียงราย 20.สถานีเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าแม่จัน จ.เชียงราย 21.สถานีเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าอมก๋อย จ.เชียงใหม่ 22.สถานีเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าห้วยยางปาน จ.เชียงใหม่ 23.สถานีเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าปางตอง จ.แม่ฮ่องสอน 24.ศูนย์ช่วยเหลือสัตว์ป่าที่ 1 (นครนายก) 25.ศูนย์ช่วยเหลือสัตว์ป่าที่ 2 (กระบกคู่) และ 26. ศูนย์ช่วยเหลือสัตว์ป่าที่ 3 (ประทับช้าง)

Chonburi Sponsored
อำเภอ บางละมุง

อำเภอบางละมุงแต่เดิมมีฐานะเป็นเมืองบางละมุง ตั้งอยู่ที่บ้านบางละมุง ตำบลบางละมุง จนถึง พ.ศ. 2444 ได้ยุบเมืองบางละมุงเป็นอำเภอขึ้นต่อจังหวัดชลบุรี โดยมีที่ว่าการอำเภอตั้งอยู่บริเวณริมคลองนกยาง ซึ่งขณะนั้นบริเวณดังกล่าวเป็นท่าน้ำที่สำคัญทั้งทางด้านการคมนาคมและเป็นที่ชุมนุมของเรือสินค้าต่าง ๆ ต่อมาคลองนกยางตื้นเขินไม่สะดวกต่อเรือสินค้าต่าง ๆ จะล่องเข้าออก ทั้งสภาพพื้นที่ไม่เหมาะสมที่จะขยายชุมชนให้กว้างขวาง นายอำเภอสมัยนั้น คือ นายเจิม (ต่อมาได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นพระยาสัตยานุกูล) จึงย้ายที่ว่าการอำเภอไปตั้งที่ใหม่บริเวณริมทะเลในตำบลนาเกลือ เมื่อ พ.ศ. 2452