Chonburi Sponsored

กลับมาอีกแล้ว “ช้างป่าสีดอโหนก” หลังถูกจับส่งป่าทุ่งกระทิง

Chonburi Sponsored
Chonburi Sponsored

วันเสาร์ ที่ 09 เมษายน พ.ศ. 2565, 12.39 น.

เมื่อเวลา 11.45 น.  วันที่ 9 เม.ย.65 ผู้สื่อข่าว จ.ปราจีนบุรีรายงานว่า พบข้อมูล-ภาพ ในไลน์กลุ่มชุดเฝ้าระวังติดตามช้างป่าเขาอ่างฤาไน  รายงานวันเมื่อวันที่ 7 เม.ย. 65 เวลา 17.00 น.ชุดเคลื่อนที่เร็วเฝ้าระวังผลักดันและติดตามแก้ไขปัญหาช้างป่าฯ(อ่างฤาไน) จ.ฉะเชิงเทรา อ.สนามชัยเขต จ.ฉะเชิงเทรา ขอรายงานผลการปฏิบัติงานเฝ้าระวังช้างป่าสีดอโหนก (สิบล้อ) บริเวณ เขาแปดวา พื้นที่ บ.ท่าชีวิตใหม่ ม.16 ต.ทุ่งพระยา อ.สนามชัยเขต พิกัด  47p 0787421 E 1514945 N ทำการติดตามร่องรอยช้างป่าสีดอโหนก (สิบล้อ)  ออกหากิน บริเวณ สวนมะม่วง บ.ท่าทองดำ ม.6 ต.ทุ่งพระยา พิกัด47p 0791096 E 1514518 N แล้วเคลื่อนตัวออกหากิน บริเวณ วัดกระบกหวาน-ท้ายบ้านกระบกหวาน ม.2 ต.ทุ่งพระยา  พิกัด  47p 0792542 E 1515093 N ติดตามร่องรอยช้างป่าออกหากิน บริเวณ สวนกล้วย-ปาล์ม บ.หนองนกคุ้ม ม.2 ต.ทุ่งพระยา พิกัด47p 0794121 E 1514909 Nแล้วมุ่งหน้าถนนหลวงชนบท ฉช.4022 (คลองอุดม-ท่าทองดำ) ช่วงระหว่าง ก.ม ที่ 14-15 พิกัด47p 0795417 E 1515922 N

ช้างป่าสีดอโหนก (สิบล้อ)  ออกหากิน ผ่าน บ.โคกสันติสูข ม.19 ต.ทุ่งพระยา  พิกัด47p 0795460 E 1516414 Nแล้วออกหากิน ผ่าน บ.มาบสมบูรณ์ ม.18 ต.ทุ่งพระยา พิกัด47p 0797720 E 1516894 N ช้างป่าออกหากิน ผ่าน บ.หนองเข็ง-มาบนาดี ม.5 ต.ทุ่งพระยา พิกัด47p 0798891 E 1518146 N ช้างป่าสีดอโหนก ได้เข้าพักอาศัยอยู่ เกาะป่าเขานันทา พื้นที่ บ.เขาจันทร์ ม.9 ต.ทุ่งพระยา อ.สนามชัยเขต พิกัด   47p 0797080 E 1520987 N ช้างป่าอีกกลุ่มพักอาศัยอยู่ บริเวณ เกาะป่าห้าร้อยไร่ พื้นที่ บ.นางาม ม.19 ต.ท่ากระดาน อ.สนามชัยเขต พิกัด47p 0804838 E 1501842 Nช้างป่า ประมาณ 60+ตัว   เฝ้าระวังในพื้นที่

ผู้สื่อข่าวรายงานต่อไปว่า ในกลุ่มไลน์ พบมีการโพสต์แชร์ข้อความ ระบุว่า จากระยะทางที่พบช้างป่าสีดอโหนก(สิบล้อ) ช้างป่าเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาอ่างฤาไน จ.ฉะเชิงเทรา (ในพื้นที่ป่าราบต่ำผืนสุดท้ายของไทยในพื้นที่ป่ารอยต่อ 5 จังหวัดภาคตะวันออก จ.ฉะเชิงเทรา, จ.สระแก้ว, จ.ชลบุรี,จ.จันทบุรี,จ.ระยอง) เดินย้อนกลับมาเป้าหมายที่บ้านเขาไม้แก้ว  หมู่ 4 ต.เขาไม้แก้ว อ.กบินทร์บุรี จ.ปราจีนบุรี ซึ่งได้เคยข้ามฝั่งจากแปดริ้ว เข้ามาหากินหลายเดือน และได้ทำร้ายคนเสียชีวิตเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ทีผ่านมา พื้นที่ที่พบเห็นสีดอโหนก(สิบล้อ) อยู่ห่างจากบ้านเขาไม้แก้ว 10 กม. หากช้างป่าสีดอโหนก(สิบล้อ) เดินทางย้อนกลับเข้ามาอีกรอบ คาดว่าไม่เกิน 1-2 วันนี้ชาวเขาไม้แก้ว จะได้พบโฉมหน้าสีดอโหนก(สิบล้อ)อีกครั้งหนึ่ง การหวนกลับมาของช้างป่าสีดอโหนกในครั้งนี้จะออกมาปรากฏตัวให้เห็นในวันใด เชื่อว่าเส้นทางการเดิน   มันคงย้อนกลับมาของช้างป่าสีดาโหนก(สิบล้อ)ที่เดิม ซึ่งเมื่อเร็ว ๆนี้  ทางเจ้าหน้าที่นำไปปล่อยกลับคืนถื่นป่าเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาอ่างฤาไนที่แปดริ้ว ในป่าลึกไกลจากเขาไม้แก้ว 100 กิโลเมตร 

โดยเมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2565 เจ้าหน้าที่ป่าไม้ ได้ทำการจับขนย้ายสีดอโหนก(สิบล้อ) ใส่รถบรรทุกของทหารไปส่งที่ป่าทุ่งกระทิง  อ.ท่าตะเกียบ จ.ฉะเชิงเทรา พร้อมกันนี้ชุดผลักดันได้ติดตามความเคลื่อนไหวของสีดอโหนก(สิบล้อ)  ผ่านระบบGPS ช่วง 7 วันแรกสีดอโหนกยังคงปักหลักหากินรอบที่ตั้งและออกหากินออกจากที่ตั้งมุ่งหน้าย้อนกลับมายังพื้นที่ตำบลเขาไม้แก้ว ทุกวัน ณ วันนี้หลายคนเชื่อว่าช้างป่าสีดอโหนกต้องอยู่บริเวณเขตรอยต่อบ้านเขาจันทร์-ม.9 ต.ทุ่งพระยา อ.สนามชัยเขตจ.ฉะเชิงเทรา -บ้านโปร่งสะเดา –เขาไม้แก้ว ต.เขาไม้แก้ว  อ.กบินทร์บุรี จ.ปราจีนบุรีเพื่อเป็นการสับขาหลอกเจ้าหน้าที่สีดอโหนก(สิบล้อ) อาจจะซุ่มหลบซ่อนอยู่ในป่ายูคาลิปตัส  หรือ   เชิงเขา    จากนั้นหาจังหวะเวลาเงียบๆกลางดึก  ปลอดคน –ปลอดยวดยาน เดินข้ามถนนสายสระแก้วตัดใหม่ (พนมสารคาม –สระแก้ว) หรือ สาย 359  ข้ามฝั่งจาก จ.ฉะเชิงเทรา หรือแปดริ้ว ที่เป็นเขตรอยต่อ เข้ามาในพื้นที่ตำบลเขาไม้แก้ว อ.กบินทร์บุรี จ.ปราจีนบุรี ได้อย่างง่ายดาย 

นายสุนทร หรือแหลม คมคาย แกนนำชาวบ้านเขาไม้แก้ว ต.เขาไม้แก้ว อ.กบินทร์บุรี จ.ปราจีนบุรี กล่าวว่า ช่วงกลางดึกราวเที่ยงคืนเศษวันนี้( 9 เม.ย.) อาสาสมัครชุดผลักดันช้างป่าได้รับรายงานพบช้างป่าสีดอโหนก(สิบล้อ)  เดินลัดเลาะป่ายูคามาปรากฏตัวที่หมู่ที่ 6 บ้านหนองสะแก ต.เขาไม้แก้ว  อ.กบินทร์บุรี จ.ปราจีนบุรี ชุดผลักดันช้างป่าฯร่วมกับอาสาเฝ้าระวังช้างได้ทำการผลักดันสีดอโหนก  ออกจากพื้นที่เพื่อความปลอดภัยของชาวบ้าน

ด้านนายวิมล พอกกา ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 6 กล่าวว่า พบเห็นช้างป่าสีดอโหนก(สิบล้อ) ตั้งแต่ช่วงเย็นวานนี้ (8เม.ย.) มาอยู่ที่สวน   ยืนกินยอดอ้อยในสวนของตนอย่างไม่เกรงกลัวใคร ทุกคนไม่กล้าเข้าใกล้ เจ้าหน้าที่ได้ผลักดันช้างป่าได้ผลักดันสีดอโหนก(ลิบล้อ)ไม่ให้เข้ามาในพื้นที่ตำบลเขาไม้แก้วไปแล้วก่อนหน้า และนอกจากนี้ บ่อยครั้งที่ช้างโขลงหนึ่งจะมาลงกินน้ำในสระน้ำในไร่อ้อย ไร่มันสำปะหลัง ดังกล่าวจะมาแทบทุกวันช่วงเย็นเย็น ชาวบ้านทุกคนไม่กล้าออกมาไร่กลัวว่าจะได้รับอันตรายจากช้างป่า

ขณะที่นายประพัฒน์ ฉิมหัตถ์ ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 6 บ้านหนองสะแก กล่าวว่า เย็นวานนี้(8เม.ย.) ได้รับแจ้งใน LINE กลุ่มว่าพบช้างป่าสีดอโหนก    เข้ามาในพื้นที่จึงร่วมกับชุดผักดันไปยังจุดที่ช้างป่าอยู่ในไร่ของผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน จากนั้นได้ผลักดันช้างป่าออกจากพื้นที่แล้ววันนี้สีดอโหนกอยู่ในป่ายูคาลิปตัสห่างจากตำบลเขาไม้แก้ว 3 กม. ชุดผลักดันได้เฝ้าระวังไม่ให้เข้ามาในพื้นที่ตำบลเขาไม้แก้ว ไม่รู้ว่าสีดอโหนกจะแอบย้อนกลับมาอีกครั้งได้หรือไม่

ด้านนายธนเกียรติ  ไชยราษฎร์ อดีตสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลวังท่าช้างหมู่ 14 (ส.อบต.) /อาสาสมัครชุดผลักดันช้างป่า ต.วังท่าช้าง อ.กบินทร์บุรี  จ.ปราจีนบุรี กล่าวว่า ในวันนี้ ( 9 เม.ย.) ตนเอง  พร้อมกับแกนนำ ต.เขาไม้แก้ว จะไปร่วมการประชุมเชิงปฏิบัติการ  แนวทางเพื่อการใช้พื้นที่ร่วมกันระหว่างคนกับช้างป่า คนปลอดภัย ช้างปลอดภัย ภายใต้การดำเนินโครงการวิจัยและพัฒนาระบบเพื่อการอยู่ร่วมกันระหว่างคนกับช้างป่าบนฐานบูรณาการเชิงระบบนิเวศสังคมและโครงการวิจัยนโยบายสาธารณะเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน  กรณีศึกษา :  พฤติกรรมก่อกวนของช้างป่าที่สร้างความปั่นป่วนต่อประชาชนในพื้นที่ภาคตะวันออกของไทย จัดระหว่างวันที่ 9 – 10 เม.ย.65 ที่โรงเรียนบ้านหนองปรือกันยาง หมู่ 5  อ.ท่าตะเกียบ จ.ฉะเชิงเทรา   พื้นที่  ที่ล่าสุด2วันก่อน (7เม.ย.)  นายแป๊ะ ภักดี อายุ 73 ปี อยู่บ้านเลขที่ 95 ม.5 ต.ท่าตะเกียบ  ถูกช้างป่าเหยียบตายภายในสวนปาล์ม ด้านหลังโรงเรียนบ้านหนองปรือกันยาง

ทั้งนี้  พื้นที่ ต.วังท่าช้าง อ.กบินทร์บุรี จ.ปราจีนบุรี   ได้รับผลกระทบจากช้างป่าเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาอ่างฤาไน  จ.ฉะเชิงเทรา (ในพื้นที่ป่าราบต่ำผืนสุดท้ายของไทยในพื้นที่ป่ารอยต่อ5 จังหวัดภาคตะวันออก  จ.ฉะเชิงเทรา,จ.สระแก้ว,จ.ชลบุรี,จ.จันทบุรี,จ.ระยอง)     ข้ามฝั่งมาหากินประจำ ๆ ที่เขามะก่อง หมู่ 14 บ้านโนนสมบูรณ์ โดยมากันเป็นโขลงและมีการมาคลอดลูกน้อย 2 ปีแล้ว  จนจะกลายเป็นช้างประจำถิ่นที่นี่แล้ว 

Chonburi Sponsored
อำเภอ เกาะจันทร์

พ.ศ. 2371 รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระบรมราชานุญาตให้กลุ่มชาวลาวอาสาปากน้ำ บุกเบิกสร้างเมืองพนัสนิคม เป็นเมืองชั้นจัตวา สังกัดกรมท่า โดยบริเวณท่าบุญมี เป็นท่าน้ำและท่าเกวียน ขนส่งสินค้าป่าสู่เมืองพนัสนิคม ตั้งอยู่อยู่ในอาณาเขตเมืองพนัสนิคม พ.ศ. 2441 รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีการปฏิรูปการปกครองประเทศและจัดตั้งมณฑลเทศาภิบาล ให้เมืองพนัสนิคมเป็นอำเภอพนัสนิคม ยกฐานะเป็นตำบลท่าบุญมี ในอดีตมีสภาพเป็นป่าอุดมสมบูรณ์ ปรากฏหลักฐานบันทึกชื่อดงในตำบลท่าบุญมี เช่น ดงดอกไม้ ดงรากไม้ เป็นต้น โดยอาจมีต้นจันทน์มาก จึงเรียกว่า "เกาะจันทร์"