Chonburi Sponsored

คอลัมน์หมายเลข 7 : เร่งสอบเส้นทางขายมูลดิน เหมืองหินกองทัพเรือ ส่อทุจริต

Chonburi Sponsored
Chonburi Sponsored

ข่าวภาคค่ำ – คอลัมน์หมายเลข 7 วันนี้ ตามต่อกับการตรวจสอบการทำเหมืองหินและโรงโม่หิน ของกองทัพเรือ ซี่งนอกจะขัดระเบียบราชการแล้ว คณะกรรมาธิการฯ ป.ป.ช. สภาผู้แทนราษฎร ยังพบข้อมูลความไม่โปร่งใส เกี่ยวกับการจำหน่ายมูลดิน มีใครเกี่ยวข้องบ้าง ติดตามจากรายงานของคุณสุธาทิพย์ ผาสุข

สไลด์ข้อมูลเกี่ยวกับกระบวนการผลิตหิน และการจำหน่ายมูลดิน ในกิจการหินและสวัสดิการสัมปทานกองทัพเรือเขาวังปลา เนื้อที่กว่า 208 ไร่ ที่อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี ถูกนำมาใช้ประกอบคำชี้แจง ในที่ประชุมศาลากลางจังหวัดชลบุรี ซึ่งมีคณะกรรมาธิการการป้องกันและปราบปรามการทุจริตประพฤติมิชอบ สภาผู้แทนราษฎร และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมรับฟัง ระหว่างลงพื้นที่ตรวจสอบข้อเท็จจริงการทำเหมืองหินและโรงโม่หินของกองทัพเรือ ซึ่งกรรมาธิการฯ ได้พบข้อมูลความไม่โปร่งใส เกี่ยวกับการจำหน่ายมูลดิน ในเหมืองหิน ที่มีการขุดออกไปขาย

จากการติดตามการตรวจสอบข้อมูลในชั้นของกรรมาธิการ พบว่า ความผิดปกตินี้ สืบเนื่องมาจากการที่กรรมาธิการฯ ได้รับเรื่องร้องเรียนว่า พล.ร.อ.ลือชัย รุดดิษฐ์ อดีตผู้บัญชาการทหารเรือ เอื้อประโยชน์ให้กับบริษัทเอกชนแห่งหนึ่ง ซึ่งเป็นของพี่ชายภรรยา ซึ่งเมื่อตรวจสอบแล้วไม่พบหลักฐานว่ามีความผิดตามคำกล่าวหา แต่อย่างไรก็ตามในการขยายผลตรวจสอบของกรรมาธิการฯ กลับพบประเด็นที่น่าสนใจคือ การจำหน่ายมูลดิน ว่าที่ผ่านมา ไม่เคยมีรายงานการนำส่งรายได้ส่วนนี้เข้าสวัสดิการ

ทั้ง ๆ ที่ตามหลักเกณฑ์ เมื่อมีการจำหน่ายมูลดิน ที่ขุดได้ในกิจการหินและสวัสดิการสัมปทานกองทัพเรือ จะต้องนำเงินที่ได้จากการจำหน่ายส่งเข้าในระบบสวัสดิการ เพื่อประโยชน์มวลสมาชิก แต่จากข้อมูลการตรวจสอบเบื้องต้น ไม่พบว่ามีการนำส่งเงินเข้าในระบบสวัสดิการแต่อย่างใด

สำหรับการตรวจสอบเรื่องการจำหน่ายมูลดิน ทางกรรมาธิการฯ ได้มีมติให้สำนักงานตรวจเงินแผ่นดินเป็นผู้สอบ ซึ่งเบื้องต้นคาดว่าจะได้ข้อสรุปภายในเดือนเมษายนนี้ ส่วนความผิดที่เกิดขึ้นจะโยงใยข้าราชการหรือผู้มีอำนาจในส่วนใดบ้าง เมื่อมีความคืบหน้าจะรายงานให้ทราบต่อไป

Chonburi Sponsored
อำเภอ สัตหีบ

ช่วงประมาณรัชกาลที่ 5 และรัชกาลที่ 6 สัตหีบเป็นเพียงหมู่บ้านชายทะเล ชาวบ้านประกอบอาชีพทำไร่ ทำนา หาของป่า และประมง การคมนาคมจะใช้ทางน้ำโดยเรือเมล์หรือเรือใบ ส่วนทางบกมีแต่ทางเกวียน ถนนไปชลบุรียังไม่มี ภูมิประเทศส่วนใหญ่ยังเป็นป่ารกทึบ การเดินทางระหว่างเมืองจึงใช้เรือเป็นหลัก ในหมู่บ้านสัตหีบ มีผู้ที่ชาวบ้านนับหน้าถือตามากอยู่คนหนึ่ง ชาวบ้านเรียกว่า "ยายแจง" แกมีฐานะดีมี ที่ดิน เรือ สวน ไร่นามากมาย ตลาดสัตหีบ หนองตะเคียนและโรงเรียนสิงห์สมุทรรวมถึงบริเวณเขาแหลมเทียนอันเป็นที่ตั้งของฐานทัพเรือสัตหีบในปัจจุบันก็เคยเป็นของแก ต่อมา เมื่อกรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ทรงฝึกภาคทะเลกับกองเรือและทรงพักที่อ่าวสัตหีบ ทรงเห็นว่าอ่าวสัตหีบเหมาะเป็นที่ตั้งหน่วยเรือ เพราะมีเกาะใหญ่น้อยช่วยกำบังคลื่นลม พระองค์จึงได้บอกถึงพระประสงค์ที่จะใช้บริเวณเขาแหลมเทียนเป็นที่ตั้งหน่วยทหารเรือ ยายแจงก็ยินดีที่จะถวายให้