Chonburi Sponsored

คอลัมน์หมายเลข 7 : คลี่ปมกิจการหินและสวัสดิการสัมปทานของกองทัพเรือ

Chonburi Sponsored
Chonburi Sponsored

ข่าวภาคค่ำ – คอลัมน์หมายเลข 7 วันนี้ ตามติดปัญหากิจการหินและสวัสดิการสัมปทานของกองทัพเรือ ที่อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี ซึ่งมีผู้ร้องขอให้ตรวจสอบเรื่องการประกอบธุรกิจ และ อดีตผู้บัญชาการทหารเรือ เพราะสงสัยอาจจะมีการเอื้อประโยชน์ให้บริษัทเอกชนหรือไม่ ติดตามเรื่องนี้กับคุณสุธาทิพย์ ผาสุข

เสียงที่ท่านผู้ชมได้ยินไปเมื่อสักครู่ เป็นหนึ่งในข้อเสนอของ นายธีรัจชัย พันธุมาศ หนึ่งในกรรมาธิการการป้องกันและปราบปรามการทุจริตประพฤติมิชอบ สภาผู้แทนราษฎร ที่รับหน้าเสื่อเข้าไปตรวจสอบข้อครหาเกี่ยวกับการใช้ประโยชน์พื้นที่ทำเหมืองหินและโรงโม่หินเขาวังปลา กิจการและสวัสดิการสัมปทานของกองทัพเรือ เนื้อที่กว่า 208 ไร่ และพฤติกรรมการใช้อำนาจหน้าที่ของผู้มีอำนาจภายในกองทัพเรือ เอื้อผลประโยชน์ให้บริษัทเอกชน เพื่อปราบปรามการทุจริตที่แพร่ระบาดในภาครัฐ ตามที่มีเรื่องร้องเรียน ซึ่งขณะนี้ผลการตรวจสอบได้ชี้ชัดแล้วว่า การทำเหมืองหินและโรงโม่หินของกองทัพเรือขัดรัฐธรรมนูญ และระเบียบของทางราชการ

รายละเอียดกรณีที่สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน และคณะกรรมมาธิการสอบหาข้อเท็จจริง ระบุว่า กิจการหินและสวัสดิการสัมปทานกองทัพเรือมีข้อบกพร่อง เนื่องจากเดิมทีกิจการหินได้เริ่มดำเนินการครั้งแรกในนามของกองทัพเรือ แต่ต่อมาได้มีการโอนย้ายให้เป็นในนามของสวัสดิการภายในกองทัพเรือ ซึ่งขัดกับระเบียบตามพระราชบัญญัติจัดระเบียบราชการกระทรวงกลาโหม ปี 2557 ที่ไม่ได้ให้อำนาจกองทัพดำเนินการ ประกอบกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยตั้งแต่ปี 2540 เป็นต้นมา ก็บัญญัติไม่ให้รัฐดำเนินการในการแข่งขันทางธุรกิจกับเอกชน การดำเนินการในนามของกองทัพเรือในปัจจุบัน จึงไม่สามารถทำได้ เพราะขัดทั้งรัฐธรรมนูญ กฎพระราชบัญญัติจัดระเบียบราชการกระทรวงกลาโหม และระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการจัดสวัสดิการภายในส่วนราชการ ซึ่งห้ามปฏิงานจัดสวัสดิการภายในเชิงธุรกิจ เว้นแต่เป็นการจัดสวัสดิการภายในส่วนราชการ เพื่อประโยชน์ของส่วนราชการ ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขเท่านั้น

ตัวแทนกองทัพเรือ จึงแสดงความรับผิดชอบต่อที่ประชุม ประกาศว่าจะยุติการทำกิจการ ฟื้นฟูพัฒนาพื้นที่เหมืองแร่ให้เป็นไปตามความเหมาะสม ท่ามกลางข้อเสนอกฎหมายและระเบียบ ซึ่งเกี่ยวเนื่องกับงบประมาณแผ่นดิน

นอกจากการทำเหมืองหินและโรงโม่หินของกองทัพเรือจะขัดระเบียบราชการแล้ว กรรมาธิการฯ ยังพบความไม่โปร่งใส เกี่ยวกับการจำหน่ายมูลดิน ที่มีการขุดออกไปขาย แต่ว่าไม่มีการส่งเงินเข้าสวัสดิการ

Chonburi Sponsored
อำเภอ สัตหีบ

ช่วงประมาณรัชกาลที่ 5 และรัชกาลที่ 6 สัตหีบเป็นเพียงหมู่บ้านชายทะเล ชาวบ้านประกอบอาชีพทำไร่ ทำนา หาของป่า และประมง การคมนาคมจะใช้ทางน้ำโดยเรือเมล์หรือเรือใบ ส่วนทางบกมีแต่ทางเกวียน ถนนไปชลบุรียังไม่มี ภูมิประเทศส่วนใหญ่ยังเป็นป่ารกทึบ การเดินทางระหว่างเมืองจึงใช้เรือเป็นหลัก ในหมู่บ้านสัตหีบ มีผู้ที่ชาวบ้านนับหน้าถือตามากอยู่คนหนึ่ง ชาวบ้านเรียกว่า "ยายแจง" แกมีฐานะดีมี ที่ดิน เรือ สวน ไร่นามากมาย ตลาดสัตหีบ หนองตะเคียนและโรงเรียนสิงห์สมุทรรวมถึงบริเวณเขาแหลมเทียนอันเป็นที่ตั้งของฐานทัพเรือสัตหีบในปัจจุบันก็เคยเป็นของแก ต่อมา เมื่อกรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ทรงฝึกภาคทะเลกับกองเรือและทรงพักที่อ่าวสัตหีบ ทรงเห็นว่าอ่าวสัตหีบเหมาะเป็นที่ตั้งหน่วยเรือ เพราะมีเกาะใหญ่น้อยช่วยกำบังคลื่นลม พระองค์จึงได้บอกถึงพระประสงค์ที่จะใช้บริเวณเขาแหลมเทียนเป็นที่ตั้งหน่วยทหารเรือ ยายแจงก็ยินดีที่จะถวายให้