Chonburi Sponsored

บทนำ : ศึกกทม.-พัทยาคึก

Chonburi Sponsored
Chonburi Sponsored

บรรยากาศการเปิดรับสมัครผู้สมัครผู้ว่าฯกทม. วันแรก เมื่อวันที่ 31 มี.ค. ที่ศาลาว่าการ กทม. 2 ดินแดง เป็นไปอย่างคึกคัก ผู้สมัครผู้ว่าฯ กทม. เดินทางมาก่อนเวลา 08.30 น. จำนวน 14 ราย และได้จับสลาก เพื่อรับหมายเลข ผลปรากฏว่า หมายเลข 1 ได้แก่ นายวิโรจน์ ลักขณาอดิศร จากพรรคก้าวไกล หมายเลข 2 พล.ท.ญ.ฐิฏา รังสิตพล มานิตกุล อิสระ หมายเลข 3 นายสกลธี ภัททิยกุล อิสระ หมายเลข 4 นายสุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ ปชป. หมายเลข 5 นายวีรชัย เหล่าเรืองวัฒนะ อิสระ หมายเลข 6 พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง อิสระ หมายเลข 7 น.ส.รสนา โตสิตระกูล อิสระ หมายเลข 8 นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ อิสระ หมายเลข 9 น.ส.วัชรี วรรณศรี อิสระ หมายเลข 10 นายศุภชัย ตันติคมน์ อิสระ หมายเลข 11 น.ต.ศิธา ทิวารี พรรคไทยสร้างไทยฯลฯ

ส่วนการรับสมัครรับการเลือกตั้งนายกเมืองพัทยา จังหวัดชลบุรี ที่บริเวณศาลาว่าการเมืองพัทยา พบว่าบรรยากาศเป็นไปด้วยความคึกคักเช่นกัน ผลการจับสลากหมายเลขปรากฏว่า หมายเลข 1 ได้แก่ นายปรเมศวร์ งามพิเชษฐ์ ที่ปรึกษา รมต.วัฒนธรรม และอดีต ส.ส.ชลบุรี ทีมรักพัทยา หมายเลข 2 นายศักดิ์ชัย แตงฮ่อ อดีตรองอธิบดีกรมการปกครอง เคยดำรงตำแหน่งเป็นนายอำเภอบางละมุง หมายเลข 3 นายกิตติศักดิ์ นิลวัฒนโฒชัย หรือบ๊อบ แกนนำกลุ่มพัทยาฟิวเจอร์ โดยมีนายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ แกนนำคณะก้าวหน้ามาให้กำลังใจ ส่วนหมายเลข 4 นายสินธไชย วัฒนศาสตร์สาธร อดีตนายกสมาคมนักธุรกิจและการท่องเที่ยวเมืองพัทยา 2 สมัย ทีมพัทยาร่วมใจ

คาดว่าก่อนปิดรับสมัครทั้ง กทม.และพัทยา ในวันที่ 4 เม.ย. จะมีผู้สนใจมาลงสมัครเพิ่มอีกหลังจากนี้จะเป็นการเสนอนโยบายการพัฒนาเมือง ผู้มีสิทธิเลือกตั้งและประชาชน ควรติดตามข่าวสารและนโยบายของผู้สมัครแต่ละคน เพื่อเปรียบเทียบและใช้เป็นแนวทางการตัดสินใจ เพราะ กทม.และพัทยา สองพื้นที่สำคัญไม่ได้มีการเลือกตั้งผู้บริหารเมืองหลายปีส่งผลในเรื่องการพัฒนาเมืองอย่างชัดเจน ขณะนี้อยู่ระหว่างต้องฟื้นระบบเลือกตั้ง เพื่อให้ได้ผู้บริหารที่อาสามาบริหารงานให้เกิดประโยชน์กับประชาชนมากที่สุด ซึ่งจะต้องทราบทั้งความต้องการของประชาชนและเข้าใจวิธีการพัฒนาเมืองให้ทัดเทียมนครสำคัญๆ ในโลกนี้ด้วย

เกาะติดทุกสถานการณ์จาก
Line @Matichon ได้ที่นี่

Chonburi Sponsored
อำเภอ บางละมุง

อำเภอบางละมุงแต่เดิมมีฐานะเป็นเมืองบางละมุง ตั้งอยู่ที่บ้านบางละมุง ตำบลบางละมุง จนถึง พ.ศ. 2444 ได้ยุบเมืองบางละมุงเป็นอำเภอขึ้นต่อจังหวัดชลบุรี โดยมีที่ว่าการอำเภอตั้งอยู่บริเวณริมคลองนกยาง ซึ่งขณะนั้นบริเวณดังกล่าวเป็นท่าน้ำที่สำคัญทั้งทางด้านการคมนาคมและเป็นที่ชุมนุมของเรือสินค้าต่าง ๆ ต่อมาคลองนกยางตื้นเขินไม่สะดวกต่อเรือสินค้าต่าง ๆ จะล่องเข้าออก ทั้งสภาพพื้นที่ไม่เหมาะสมที่จะขยายชุมชนให้กว้างขวาง นายอำเภอสมัยนั้น คือ นายเจิม (ต่อมาได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นพระยาสัตยานุกูล) จึงย้ายที่ว่าการอำเภอไปตั้งที่ใหม่บริเวณริมทะเลในตำบลนาเกลือ เมื่อ พ.ศ. 2452