Chonburi Sponsored

สอ.รฝ. มอบต้นกล้าให้กำลังพลนำปลูก รอบบ้านน่าอยู่ คู่เศรษฐกิจพอเพียง

Chonburi Sponsored
Chonburi Sponsored

“บิ๊กตุ๊ก” ประธานพิธีมอบต้นกล้าพืชผักสวนครัวและเมล็ดพันธุ์ ให้กำลังพลนำไปปลูกบริเวณบ้านพักอาศัย ตามโครงการ “รอบบ้านน่าอยู่ คู่เศรษฐกิจพอเพียง สอ.รฝ.” ก่อนนำกำลังพลจัดกิจกรรมจิตอาสาพัฒนา 5 วัด 6 โรงเรียน

เมื่อวันที่ 30 มี.ค. 65 กองทัพเรือ โดย พล.ร.ต.สรวุท ชวนะ ผู้บัญชาการหน่วยบัญชาการต่อสู้อากาศยานและรักษาฝั่ง เป็นประธานในพิธีมอบต้นกล้าพืชผักสวนครัวและเมล็ดพันธุ์ให้แก่กำลังพล ณ บริเวณบ้านพักอาศัย หน่วยบัญชาการต่อสู้อากาศยานและรักษาฝั่ง อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี ตามนโยบายผู้บัญชาการทหารเรือ ในการพัฒนาคุณภาพชีวิตกำลังพล

ทั้งนี้ หน่วยบัญชาการต่อสู้อากาศยานและรักษาฝั่ง โดยกรมรักษาฝั่งที่ 1 ได้ทำการเพาะต้นกล้าพืชผักสวนครัวจากศูนย์การเรียนรู้ทฤษฎีใหม่ หน่วยบัญชาการต่อสู้อากาศยานและรักษาฝั่ง ประกอบด้วย ตะไคร้ กะเพรา โหระพา พริกขี้หนู และมะเขือ ให้กำลังพลปลูกบริเวณบ้านพักอาศัย ตามโครงการ “รอบบ้านน่าอยู่ คู่เศรษฐกิจพอเพียง สอ.รฝ.” ซึ่งจะเป็นการใช้ชีวิตประจำวันตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ลดภาระค่าใช้จ่ายในการครองชีพอีกทางหนึ่ง

จากนั้น พล.ร.ต.สรวุท ชวนะ ผบ.สอ.รฝ. เป็นประธานการจัดกิจกรรมจิตอาสาพัฒนา 5 วัด 6 โรงเรียน เนื่องในวันคล้ายวันพระราชสมภพ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ณ โรงเรียนบ้าน กม.ห้า ตำบลสัตหีบ จังหวัดชลบุรี

ทั้งนี้ หน่วยบัญชาการต่อสู้อากาศยานและรักษาฝั่ง ได้จัดกำลังพลจิตอาสาจากหน่วยขึ้นตรง ร่วมกันบำเพ็ญสาธารณประโยชน์ พัฒนาพื้นที่ ปรับปรุงภูมิทัศน์ ให้มีความสวยงาม ในพื้นที่ 5 วัด 6 โรงเรียน ประกอบด้วย วัดเนินกระปรอก วัดพุทธนิมิต(คลองบางไผ่) วัดบ้านฉาง วัดชากหมากป่าเรไร โรงเรียนวัดเนินกระปรอก โรงเรียนบ้านคลองบางไผ่ โรงเรียนวัดบ้านฉาง โรงเรียนวัดสมบูรณาราม อำเภอบ้านฉาง จังหวัดระยอง และวัดรังสีสุนทร(กม.๕) โรงเรียนบ้านเขาบายศรี โรงเรียนบ้าน กม.ห้า ในพื้นที่ อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี

Chonburi Sponsored
อำเภอ สัตหีบ

ช่วงประมาณรัชกาลที่ 5 และรัชกาลที่ 6 สัตหีบเป็นเพียงหมู่บ้านชายทะเล ชาวบ้านประกอบอาชีพทำไร่ ทำนา หาของป่า และประมง การคมนาคมจะใช้ทางน้ำโดยเรือเมล์หรือเรือใบ ส่วนทางบกมีแต่ทางเกวียน ถนนไปชลบุรียังไม่มี ภูมิประเทศส่วนใหญ่ยังเป็นป่ารกทึบ การเดินทางระหว่างเมืองจึงใช้เรือเป็นหลัก ในหมู่บ้านสัตหีบ มีผู้ที่ชาวบ้านนับหน้าถือตามากอยู่คนหนึ่ง ชาวบ้านเรียกว่า "ยายแจง" แกมีฐานะดีมี ที่ดิน เรือ สวน ไร่นามากมาย ตลาดสัตหีบ หนองตะเคียนและโรงเรียนสิงห์สมุทรรวมถึงบริเวณเขาแหลมเทียนอันเป็นที่ตั้งของฐานทัพเรือสัตหีบในปัจจุบันก็เคยเป็นของแก ต่อมา เมื่อกรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ทรงฝึกภาคทะเลกับกองเรือและทรงพักที่อ่าวสัตหีบ ทรงเห็นว่าอ่าวสัตหีบเหมาะเป็นที่ตั้งหน่วยเรือ เพราะมีเกาะใหญ่น้อยช่วยกำบังคลื่นลม พระองค์จึงได้บอกถึงพระประสงค์ที่จะใช้บริเวณเขาแหลมเทียนเป็นที่ตั้งหน่วยทหารเรือ ยายแจงก็ยินดีที่จะถวายให้