Chonburi Sponsored

สกู๊ปพิเศษ : เดินหน้า3โครงการแก้น้ำท่วมภัยแล้ง คลุมพื้นที่‘อุตรดิตถ์-ปราจีนบุรี–ชลบุรี’

Chonburi Sponsored
Chonburi Sponsored

วันจันทร์ ที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2565, 06.00 น.

รัฐบาลพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ได้ให้ความสำคัญเกี่ยวกับปัญหาน้ำท่วมภัยแล้งทั่วประเทศ ซึ่งปี 2565-2566 กรมชลประทาน ยังคงเดินหน้าสร้างความมั่นคงด้านน้ำ ด้วยการเพิ่มพื้นที่เก็บกักน้ำ เพื่อบรรเทาปัญหาอุทกภัยและภัยแล้งในพื้นที่ต่างๆ ทั่วประเทศ ตลอดจนเป็นแหล่งน้ำเพื่อการเกษตร การอุปโภค-บริโภคของประชาชน การผลิตน้ำประปา และช่วยรักษาระบบนิเวศ

นายประพิศ จันทร์มา อธิบดีกรมชลประทาน กล่าวว่า ในปีนี้กรมชลประทาน จะเร่งขับเคลื่อนโครงการขนาดใหญ่ 3 โครงการ ได้แก่ 1.โครงการอ่างเก็บน้ำห้วยน้ำรีอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จ.อุตรดิตถ์ งบประมาณ 4,300 ล้านบาท ซึ่งจะแล้วเสร็จภายในปี 2568 อ่างเก็บน้ำมีความจุเก็บกัก 73.70 ล้าน ลบ.ม. เมื่อโครงการแล้วเสร็จจะสามารถบรรเทาปัญหาอุทกภัยในลุ่มน้ำ ครอบคลุมพื้นที่ชลประทานฤดูฝน 53,500 ไร่ฤดูแล้ง 39,920 ไร่ ในพื้นที่ 9 ตำบล 60 หมู่บ้าน จ.อุตรดิตถ์

โครงการที่ 2 โครงการอ่างเก็บน้ำนฤบดินทรจินดาอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (ห้วยโสมง)จ.ปราจีนบุรี โดยอ่างเก็บน้ำนฤบดินทรจินดาฯ เป็นเขื่อนดิน แบบแบ่งโซน ความสูง 32.75 เมตร ความยาว 3,967.51 เมตร ความจุ 295 ล้านลบ.ม พร้อมก่อสร้างระบบชลประทาน มีลักษณะเป็นคลองส่งน้ำคอนกรีต และถนนบนคันคลองผิวจราจรลูกรัง สามารถส่งน้ำครอบคลุมพื้นที่ชลประทานในเขตพื้นที่ อ.นาดี และ อ.กบินทร์บุรี จ.ปราจีนบุรี จำนวนรวม 111,300 ไร่ และช่วยบรรเทาอุทกภัยในพื้นที่ลุ่มน้ำปราจีนบุรีและลุ่มน้ำสาขาในเขตพื้นที่ จ.ปราจีนบุรี รวมทั้งเป็นแหล่งน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภคของราษฎรและการประปา และช่วยรักษาระบบนิเวศ ผลักดันน้ำเค็มและน้ำเน่าเสีย อีกทั้งอ่างเก็บน้ำจะเป็นแนวกันชนหรือแนวป้องกันการบุกรุกทำลายพื้นที่ป่าไม้ รวมทั้งช่วยเพิ่มระดับความชุ่มชื้นในพื้นที่ป่าไม้ และลดโอกาสการเกิดไฟไหม้ป่า

ส่วนโครงการที่ 3 คือ โครงการอ่างเก็บน้ำคลองหลวงรัชชโลทร จ.ชลบุรี เป็นเขื่อนเก็บกักน้ำความจุ 98 ล้านลบ.ม. โดยโครงการดังกล่าว เป็นเขื่อนและมีการก่อสร้างระบบชลประทาน พื้นที่ฝั่งขวา 26,103 ไร่ และฝั่งซ้าย 14,487 ไร่ สามารถเพิ่มพื้นที่ชลประทานในฤดูฝน 40,590 ไร่ และยังช่วยป้องกันน้ำท่วมในฤดูน้ำหลาก ครอบคลุมพื้นที่ในเขต อ.เกาะจันทร์ และ อ.พนัสนิคม จ.ชลบุรี

อธิบดีกรมชลประทาน กล่าวเพิ่มเติมว่า นอกจาก 3 โครงการใหญ่ที่กล่าวมาข้างต้น ยังมีอีกหลายโครงการเป็นโครงการขนาดใหญ่ที่อยู่ระหว่างก่อสร้าง ได้แก่ โครงการเพิ่มปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำเขื่อนแม่กวงอุดมธารา จ.เชียงใหม่ โครงการพัฒนาลุ่มน้ำตาปี-พุมดวง จ.สุราษฎร์ธานี โครงการบรรเทาอุทกภัย อ.หาดใหญ่ (ระยะที่ 2) จ.สงขลา โครงการอ่างเก็บน้ำน้ำปี้ อันเนื่องมาจากพระราชดำริ จ.พะเยาโครงการประตูระบายน้ำศรีสองรัก อันเนื่องมาจากพระราชดำริ อ.เชียงคาน จ.เลย โครงการอ่างเก็บน้ำลำน้ำชี อันเนื่องมาจากพระราชดำริ จ.ชัยภูมิ โครงการประตูระบายน้ำลำน้ำพุง อันเนื่องมาจากพระราชดำริ จ.สกลนคร โครงการคลองระบายน้ำหลากบางบาล-บางไทร จ.พระนครศรีอยุธยา 

ทั้งนี้ หากดำเนินโครงการดังกล่าวแล้วเสร็จจะสามารถเพิ่มพื้นที่ชลประทาน เพิ่มประสิทธิภาพอ่างเก็บน้ำต่างๆ เพื่อให้ประชาชนได้มีน้ำกินน้ำใช้ รวมไปถึงน้ำทำการเกษตรอย่างยั่งยืน

Chonburi Sponsored
อำเภอ พนัสนิคม

สมัยเมืองพนัสนิคม ในปี พ.ศ. 2371 กำเนิดเมืองขึ้นในสมัยรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระบรมราชานุญาตให้กลุ่มลาวอาสาปากน้ำมาสร้างภูมิลำเนาขึ้นในพื้นที่รกร้างระหว่างเมืองชลบุรีกับเมืองฉะเชิงเทรา พระราชทานนามเมืองว่าพนัสนิคม (บางเอกสารเขียน“พนัศนิคม”) มีฐานะเป็นเมืองจัตวา ขึ้นกับกรมท่า กรุงเทพมหานคร ให้ท้าวอินทิสาร (บางเอกสารเขียน”อินทพิศาล”) หรือ ท้าวทุม ปลัดลาว เมืองสมุทรปราการ บุตรชายคนโตของท้าวไชย (บางเอกสารเขียน”ศรีวิไชย”) อุปราชเมืองนครพนม ให้เป็นเจ้าเมืองพนัสนิคมคนแรกและพระราชทานราชทินนามและบรรดาศักดิ์ที่พระอินทอาษา (บางเอกสารเขียน“อินทรอาษา, อินทอาสา, อินทราษา“) มีข้อความในพระราชพงศาวดารว่า “พวกลาวอาสาปากน้ำ ตั้งขึ้นเมื่อครั้งในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้าสุลาลัย ภายหลังเมื่อปีชวดสัมฤทธิศก พวกลาวไม่สบาย ขอไปตั้งอยู่ที่เมืองพระรถ จึงโปรดให้ตัดเอาแขวงเมืองชลบุรี เมืองฉะเชิงเทรา มาตั้งเป็นเมืองขึ้นชื่อเมืองพนัศนิคม เจ้าเมืองชื่อพระอินทอาษา” (พระราชพงศาวดาร กรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 3 เล่ม 2 ของ เจ้าพระยาทิพากรวงศ์ ฉบับคุรุสภา พิมพ์ครั้งที่หนึ่ง พ.ศ. 2504 หน้า 180) โดยลาวบุกเบิกเมืองพนัสนิคม เป็นลาวเมืองนครพนม อ้างถึงการอพยพมาสยามครั้งแรกนำโดยท้าวไชย อุปราชเมืองนครพนม เป็นโอรสในพระบรมราชา (ท้าวกู่แก้ว) เจ้าเมืองนครพนม (เมืองนครพนมในอดีต เป็นหัวเมืองในราชอาณาจักรล้านช้างเวียงจันทน์ ประเทศราชของสยาม) ไม่สมัครใจอยู่ในปกครองของพระบรมราชา (มัง) เจ้าเมืองนครพนมคนใหม่ จึงอพยพพาสมัครพรรคพวก บุตรหลาน ท้าวเพี้ย ขอพึ่งพระบรมโพธิสมภารพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย เมื่อกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2352 และโปรดเกล้าฯให้ตั้งบ้านเรือนอยู่คลองมหาวงษ์ เมืองสมุทรปราการ ยุคนั้นจึงเรียกคนกลุ่มนี้ว่าพวกลาวอาสาปากน้ำ แต่ทนสภาพแวดล้อมไม่ไหว เพราะเป็นชาวดอนน้ำจืด ถูกให้ไปอยู่เมืองลุ่มน้ำกร่อยและเค็ม เลยขอเปลี่ยนไปอยู่ที่อื่น ซึ่งสภาพใกล้เคียงที่ดอน ลาวนครพนมกลุ่มนี้ได้บุกเบิกสร้างเมืองพนัสนิคม