Chonburi Sponsored

ฮือฮา! พ่อค้าลอตเตอรี่ หอบสลากกินแบ่งรัฐบาล 500 ฉบับแทนของชำร่วยงานศพแม่

Chonburi Sponsored
Chonburi Sponsored

พ่อค้าลอตเตอรี่ หอบสลากกินแบ่งรัฐบาล 500 ฉบับแทนของชำร่วยงานศพแม่ กว่า 4 หมื่นบาท เชื่อว่าต้องมีผู้โชคดี

ที่ วัดสุทธาวาสหมู่ 7 ต.หนองปรือ อ.บางละมุง จ.ชลบุรี ได้มีงานฌาปนกิจศพนาง นพ สังขจาย เสียชีวิตติดเชื้อในกระเลือด อายุ 75 ปี โดยมีประชาชนที่รู้จักคุ้นเคยมาร่วมงานจำนวนมาก ภายในงานมีการจัดให้มีการกล่าวคำไว้อาลัยหน้าศพก่อนพิธีฌาปนกิจศพ

ในงาน มี นายทองต่อ ทองรอด อายุ 57 ปี บุตรชายของนางนพ ซึ่งเป็นเจ้าภาพงาน ได้นำสลากกินแบ่งรัฐบาล ใส่พานมาแจกเป็นของที่ระลึกหรือของชำร่วย ให้กับผู้มาร่วมงาน คนละ 1 ฉบับ เป็นสลากกินแบ่งรัฐบาลงวดประจำวันที่ 1 เม.ย.นี้ โดยทำการแจกทั้งหมด 500 ฉบับ สร้างความฮือฮาให้กับผู้มาร่วมงานเป็นอย่างมาก

นายทองค่อ เปิดเผยว่า ตนเป็นบุตรคนโตในจำนวนพี่น้อง 3 คน ของแม่นพ และมีความรักต่อแม่มาก ตนมีอาชีพจำหน่ายสลากกินแบ่งรัฐบาล และทำธุรกิจห้องเช่า และทุกงวดแม่ก็จะซื้อสลากกินแบ่งของตนงวดละหลายใบ เนื่องจากชอบเสี่ยงโชค เมื่อเห็นว่าแม่เสียชีวิตจึงได้นำสลากกินแบ่งรัฐบาลมาเป็นของชำร่วยแจกให้กับผู้มาร่วมงาน เป็นเงินกว่า 4 หมื่นบาท เชื่อว่าต้องมีผู้โชคดี หากถูกราวัลถือว่าได้สร้างกุศลร่วมกันมา

ขณะที่บรรดาแขกที่มาร่วมงานก็ต่างบอกเป็นเสียงเดียวกันว่ารู้สึกดีใจ ซึ่งในส่วนลึกๆ ก็คิดว่าตนเองนั้นอาจจะถูกรางวัลใดรางวัลหนึ่ง และหากถูกขึ้นมาก็จะเงินบางส่วนนั้นมานำไปทำบุญอุทิศส่วนบุญส่วนกุศลให้กับผู้ตายอย่างแน่นอน

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง 

-ประชุมสภา มงคลกิตติ์ ลุกฉะ ประยุทธ์ อยู่ไปก็เปลืองภาษี ถามแทนคน เชียงใหม่ ลอตเตอรี่ ที่ไหนใบละ 80?

-คาด 2 เดือน ลอตเตอรี่ราคาลดลง เตรียมแก้ไข พ.ร.บ.สลากฯ เพิ่มโทษขายเกินราคา

-แรมโบ้อีสาน ควง บิ๊กโจ๊ก บุกค้น มังกรฟ้า กว้านซื้อลอตเตอรี่ตุนในระบบกว่า 2 ล้านฉบับ

Chonburi Sponsored
อำเภอ บางละมุง

อำเภอบางละมุงแต่เดิมมีฐานะเป็นเมืองบางละมุง ตั้งอยู่ที่บ้านบางละมุง ตำบลบางละมุง จนถึง พ.ศ. 2444 ได้ยุบเมืองบางละมุงเป็นอำเภอขึ้นต่อจังหวัดชลบุรี โดยมีที่ว่าการอำเภอตั้งอยู่บริเวณริมคลองนกยาง ซึ่งขณะนั้นบริเวณดังกล่าวเป็นท่าน้ำที่สำคัญทั้งทางด้านการคมนาคมและเป็นที่ชุมนุมของเรือสินค้าต่าง ๆ ต่อมาคลองนกยางตื้นเขินไม่สะดวกต่อเรือสินค้าต่าง ๆ จะล่องเข้าออก ทั้งสภาพพื้นที่ไม่เหมาะสมที่จะขยายชุมชนให้กว้างขวาง นายอำเภอสมัยนั้น คือ นายเจิม (ต่อมาได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นพระยาสัตยานุกูล) จึงย้ายที่ว่าการอำเภอไปตั้งที่ใหม่บริเวณริมทะเลในตำบลนาเกลือ เมื่อ พ.ศ. 2452