Chonburi Sponsored

“อิ่มหยอดกล่อง” สืบสานปณิธานตามรอยเท้าพ่อ ร.9

Chonburi Sponsored
Chonburi Sponsored
สยามรัฐออนไลน์ 25 มีนาคม 2565 17:22 น. ภูมิภาค

เสี่ยอดีตเจ้าของโรงงานผลิตจิวเวอรี่ เพชร ทอง เครื่องประดับ นายสุพรชัย ภู่กิตติพันธุ์ หลังจากเลิกกิจการโรงงานผลิตเครื่องประดับ จิวเวอรี่ เพชร ทองคำ ที่ กทม. ได้ผันตัวเองและครอบครัว มาพักอาศัยอยู่ที่ บ้านเลขที่ 76/2 หมู่ที่ 5 ต.สัตหีบ อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี

ในช่วงสถานการณ์โรคระบาดเชื้อไวรัสโควิด 19 ได้ขอยึดเอาประณิธาน ตามรอยคำสอนของในหลวงรัชกาลที่ 9 ให้การช่วยเหลือ พึ่งพาอาศัยกัน อยู่แบบเศรฐกิจพอเพียง เปิดบ้านของตัวเองเป็นตึกแถวสามชั้น ในซอยบ่อนไก่ ต.สัตหีบ ทำเป็นร้านข้าวแกงชื่อ “อิ่มหยอดกล่อง” โดยผู้เข้ามารับประทานอาหาร ร่วมนำเงินมาหยอดลงกล่องทำบุญ ไม่จำกัดจำนวนเงิน และเข้าไปรับประทานข้าวแกงได้จนอิ่ม ตามความพอใจของลูกค้าที่เข้ามากินอาหาร ทำให้เป็นที่สนใจกับผู้คนที่สัญจรไปมาตามถนนในซอยบ่อนไก่ เมื่อพบเห็นก็เข้ามาสอบถามและร่วมหยอดกล่องทำบุญ ทยอยเข้ามารับประทานอาหารกันตลอดเวลา ส่วนอาหารก็จะเป็เมนูข้าวแกงทั่วไป เช่น แกงเขียวหวานไก่ ไข่พะโล้ ผัดผักรวมมิตร ต้มมะระยัดไส้หมู ไข่เจียว ไก่กอและ และกับข้าวอีกหลายอย่าง สลับสับเปลี่ยนกันทุกวัน

จากการสอบถาม นายสุพรชัย หรือ เฮียพร กล่าวว่า ตนเคยเป็นนักธุระกิจเจ้าของโรงงานทำ จีวเวอรี่ ทอง เพชร พลอย ที่ กทม. แต่ภายหลังมาประสบสภาพเศรฐกิจหย่อนตัวลง และมาประสบสภาวะโรคเชื้อไวรัสโควิด 19 ระบาดอย่างหนัก จึงได้ปิดกิจการลง และหันมายึดหลักคำสอนของในหลวงรัชกาลที่ 9 อยู่แบบพอเพียง และออกช่วยเหลือสังคม เพื่อนมนุษย์ จึงได้คิดทำโครงการข้าวแกงหยดกล่องขึ้น เพื่อเป็นการช่วยเหลือคนทั่วไป ที่ตกงาน ไม่มีงานทำ ในช่วงที่เชื้อไวรัสโควิด 19 ระบาด และยังเป็นสะพานบุญบอกกล่าวกับผู้ใจบุญทุกท่าน ที่จะร่วมโครงการบุญนี้ หากจะนำอาหารสดมาให้ทางตนเองทำอาหารให้ก็ยินดีทำให้ทุกเมนู ถือว่าได้ทำบุญร่วมกัน ส่วนภรรยาและลูกชาย กล่าวชื่นชมพ่อที่ทำโครงการนี้ขึ้นมา และจะอยู่ทำโครงการนี้ร่วมกับครอบครัวต่อไป หากมีเงินเหลือจากการการซื้อวัตถุดิบมาประกอบอาหาร ทางครอบครัวก็จะนำไปทำบุญตามสถานที่ต่างๆ ต่อไป เพื่อเป็นการต่อบุญ

ทุกวันนี้ มาใช้ชีวีตกับครอบครัว ตามวิถีพอเพียงตามรอยเท้าพ่อ ร.9 ก็พอใจและสุขใจแล้ว

Chonburi Sponsored
อำเภอ สัตหีบ

ช่วงประมาณรัชกาลที่ 5 และรัชกาลที่ 6 สัตหีบเป็นเพียงหมู่บ้านชายทะเล ชาวบ้านประกอบอาชีพทำไร่ ทำนา หาของป่า และประมง การคมนาคมจะใช้ทางน้ำโดยเรือเมล์หรือเรือใบ ส่วนทางบกมีแต่ทางเกวียน ถนนไปชลบุรียังไม่มี ภูมิประเทศส่วนใหญ่ยังเป็นป่ารกทึบ การเดินทางระหว่างเมืองจึงใช้เรือเป็นหลัก ในหมู่บ้านสัตหีบ มีผู้ที่ชาวบ้านนับหน้าถือตามากอยู่คนหนึ่ง ชาวบ้านเรียกว่า "ยายแจง" แกมีฐานะดีมี ที่ดิน เรือ สวน ไร่นามากมาย ตลาดสัตหีบ หนองตะเคียนและโรงเรียนสิงห์สมุทรรวมถึงบริเวณเขาแหลมเทียนอันเป็นที่ตั้งของฐานทัพเรือสัตหีบในปัจจุบันก็เคยเป็นของแก ต่อมา เมื่อกรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ทรงฝึกภาคทะเลกับกองเรือและทรงพักที่อ่าวสัตหีบ ทรงเห็นว่าอ่าวสัตหีบเหมาะเป็นที่ตั้งหน่วยเรือ เพราะมีเกาะใหญ่น้อยช่วยกำบังคลื่นลม พระองค์จึงได้บอกถึงพระประสงค์ที่จะใช้บริเวณเขาแหลมเทียนเป็นที่ตั้งหน่วยทหารเรือ ยายแจงก็ยินดีที่จะถวายให้