Chonburi Sponsored

กองทัพเรือ ส่งกำลังรบ 9 หน่วยเฉพาะกิจ สอ.รฝ. รักษาความสงบภายในประเทศ

Chonburi Sponsored
Chonburi Sponsored

ภูมิภาค

กองทัพเรือ ส่งกำลังรบ 9 หน่วยเฉพาะกิจ สอ.รฝ. รักษาความสงบภายในประเทศ

วันพุธ ที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2565, 10.27 น.

ติดตามข่าวด่วน กระแสข่าวบน Facebook คลิกที่นี่

เมื่อวันที่ 23 มี.ค.65 กองทัพเรือ โดย พลเรือตรี สรวุท ชวนะ ผู้บัญชาการ หน่วยบัญชาการต่อสู้อากาศยานและรักษาฝั่ง (ผบ.สอ.รฝ.) เป็นประธานในพิธีส่งกำลังพลชุดผลัดเปลี่ยน 9 หน่วยเฉพาะกิจ สอ.รฝ. รวม 226 นาย เพื่อเดินทางไปปฏิบัติภารกิจในการรักษาความสงบเรียบร้อย และรักษาอธิปไตยของชาติ ในพื้นที่ภาคใต้ และพื้นที่สำคัญทางทหารภายในประเทศ วงรอบการผลัดเปลี่ยนเดือนเมษายน โดยมี ผู้คับบัญชา และหัวหน้าหน่วยขึ้นตรง ร่วมในพิธีส่งอย่างสมเกียรติ ณ หน้ากองบัญชาการ หน่วยบัญชาการต่อสู้อากาศยานและรักษาฝั่ง อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี

ในการนี้ ได้ประกอบพิธีทางศาสนา โดยนิมนต์พระเถระ 5 รูป สวดมงคลคาถา เพื่อความเป็นสิริมงคล พร้อมมอบวัตถุมงคล ตะกรุด รุ่นพุทโธคุ้มภัย แห่งเสนาสนะวัตรป่าเจ้าสัว จ.อุบลราชธานี ให้กับเหล่าทหารทุกนาย ได้ติดตัวปกป้องคุ้มภัย ระหว่างปฏิบัติภารกิจ ให้แคล้วคลาดปลอดภัย พ้นจากภัยอันตรายจากศาสตราวุธทั้งปวง

พลเรือตรี สรวุท ชวนะ ได้กล่าวให้โอวาท สร้างขวัญกำลังใจแด่กำลังพล ในฐานะตัวแทนของหน่วย สอ.รฝ. และกองทัพเรือ ที่เดินทางไปปฏิบัติราชการหน่วยเฉพาะกิจ ซึ่งนับว่ามีความสำคัญยิ่งต่อประเทศชาติ ขอให้ทหารทุกนาย ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต สมัครสมานสามัคคี เข้มแข็ง อดทน มีระเบียบวินัย และปฏิบัติงานด้วยความระมัดระวัง ไม่ประมาท มีสติอยู่ตลอดเวลา

ทั้งนี้ ขอให้ทหารทุกนายจงภาคภูมิใจ ที่เสียสละ กาย ใจ ชีวิต ทิ้งความสุขส่วนตัว จากครอบครัวอันเป็นที่รัก เพื่อไปรับใช้ประเทศชาติ ให้เกิดความสงบสุข สมดั่งเป็นชายชาตินักรบ ขอไปให้ปฏิบัติหน้าที่อย่างเต็มกำลังความสามารถ ตลอดระยะเวลา 6 เดือน หรือ 1 ปี ที่เหล่าทหารต้องจากครอบครัว กองทัพเรือ จะดูแลทหารทุกนาย และครอบครัวพวกท่าน อย่างดีที่สุด

ติดตามข่าวด่วน กระแสข่าวบน Facebook คลิกที่นี่

Chonburi Sponsored
อำเภอ สัตหีบ

ช่วงประมาณรัชกาลที่ 5 และรัชกาลที่ 6 สัตหีบเป็นเพียงหมู่บ้านชายทะเล ชาวบ้านประกอบอาชีพทำไร่ ทำนา หาของป่า และประมง การคมนาคมจะใช้ทางน้ำโดยเรือเมล์หรือเรือใบ ส่วนทางบกมีแต่ทางเกวียน ถนนไปชลบุรียังไม่มี ภูมิประเทศส่วนใหญ่ยังเป็นป่ารกทึบ การเดินทางระหว่างเมืองจึงใช้เรือเป็นหลัก ในหมู่บ้านสัตหีบ มีผู้ที่ชาวบ้านนับหน้าถือตามากอยู่คนหนึ่ง ชาวบ้านเรียกว่า "ยายแจง" แกมีฐานะดีมี ที่ดิน เรือ สวน ไร่นามากมาย ตลาดสัตหีบ หนองตะเคียนและโรงเรียนสิงห์สมุทรรวมถึงบริเวณเขาแหลมเทียนอันเป็นที่ตั้งของฐานทัพเรือสัตหีบในปัจจุบันก็เคยเป็นของแก ต่อมา เมื่อกรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ทรงฝึกภาคทะเลกับกองเรือและทรงพักที่อ่าวสัตหีบ ทรงเห็นว่าอ่าวสัตหีบเหมาะเป็นที่ตั้งหน่วยเรือ เพราะมีเกาะใหญ่น้อยช่วยกำบังคลื่นลม พระองค์จึงได้บอกถึงพระประสงค์ที่จะใช้บริเวณเขาแหลมเทียนเป็นที่ตั้งหน่วยทหารเรือ ยายแจงก็ยินดีที่จะถวายให้