Chonburi Sponsored

ธุรกิจร้านอาหารพัทยาครวญ นทท.รัสเซียหายหลังมีภาวะสงคราม

Chonburi Sponsored
Chonburi Sponsored
สยามรัฐออนไลน์ 22 มีนาคม 2565 09:16 น. ภูมิภาค

จากสถานการณ์รัสเซียได้นำกำลังทหารเข้าบุกปะทะประเทศยูเครน ซึ่งมีการกำชับให้เฝ้าระวังอันตรายตามร้านอาหารและชาวรัสเซียโดยเฉพาะพื้นที่เมืองพัทยา ซึ่งแต่ก่อนมีชาวรัสเซียมาประกอบธุรกิจจำนวนมาก

ผู้สื่อข่าวลงพื้นที่ตรวจสอบร้านอาหารและที่พักย่านนักท่องเที่ยวในพัทยาที่มีชาวรัสเซียอาศัยในเมืองพัทยา พบว่าที่พักย่านวงศ์อมาตย์ นาเกลือ อ.บางละมุง จ.ชลบุรี แต่ก่อนจะมีนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติเดินทางมาพักบริเวณดังกล่าวเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะชาวรัสเซีย ทำให้ร้านอาหารย่านดังกล่าวขายอาหารให้กับนักท่องเที่ยวชาวรัสเซียได้เป็นอย่างดี แต่ตอนนี้จากสถานการณ์ที่เกิดขึ้นที่ประเทศรัสเซียใช้อาวุธเข้าปะทะยูเครน อีกทั้งต่อเนื่องจากผลกระทบโควิด 19 หลายซีซั่นที่ผ่านมาทำให้ไม่มีนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติโดยเฉพาะชาวรัสเซียลดน้อยลงอย่างเห็นได้ชัดเจน ซึ่งบริเวณคอนโด และที่พักย่านวงศ์อมาตย์ตอนเย็นนักท่องเที่ยวจะออกมารับประทานอาหารและนั่งดื่มกันเป็นจำนวนมาก แต่ตอนนี้แทบจะไม่มีลูกค้า

นางสาวปรารถนา มาสถิตย์ชัย อายุ 36 ปี เจ้าของร้านบลูสยาม ภสบในพัทยา กล่าวว่า จากสถานการณ์รัสเซียได้นำกำลังทหารเข้าบุกปะทะประเทศยูเครนทำให้ร้านได้รับผลกระทบโดยตรงโดยยอดขายตกลงไป ซึ่งตอนช่วงเดือนธันวาคม 64 มกราคม 65 ซึ่งตอนนั้นนักท่องเที่ยวชาวรัสเซียเดินทางเข้ามารับประทานอาหารเป็นจำนวนมากมีรายได้พุ่งสูงกำลังไปได้ดี แต่ช่วงที่เกิดการประทะกันระหว่างรัสเซียกับยูเครน นักท่องเที่ยวชาวรัสเซียก็ได้ถูกระงับวีซ่าและมาสเตอร์การ์ด ซึ่งชาวรัสเซียส่วนใหญ่จะใช้บัตรมาสเตอร์การ์ดในการจ่ายค่าอาหารเครื่องดื่มต่างๆ แต่พอบัตรมาสเตอร์การ์ด ใช้ไม่ได้ทำให้นักท่องเที่ยวชาวรัสเซียใช้จ่ายซื้อของที่จำเป็นและประหยัดมากขึ้น อีกทั้งบัตรมาสเตอร์การ์ดยังถูกระงับการถอนเงินส่งผลให้ลูกค้ารัสเซียที่เคยมาใช้บริการที่ร้านหายไปเลย แต่ก็ยังมีลูกค้าไม่กี่รายที่มีธุรกิจอยู่ที่ประเทศไทยที่ยังเข้ามารับประทานอาหารที่ร้านเนื่องจากกลุ่มลูกค้านักธุรกิจจะมีเงินสดติดตัวบ้าง จากสถานการณ์รัสเซียปะทะประเทศยูเครนก็ทำให้ลูกค้าชาวรัสเซียหายไปกว่า 80 %ทีเดียว

Chonburi Sponsored
อำเภอ บางละมุง

อำเภอบางละมุงแต่เดิมมีฐานะเป็นเมืองบางละมุง ตั้งอยู่ที่บ้านบางละมุง ตำบลบางละมุง จนถึง พ.ศ. 2444 ได้ยุบเมืองบางละมุงเป็นอำเภอขึ้นต่อจังหวัดชลบุรี โดยมีที่ว่าการอำเภอตั้งอยู่บริเวณริมคลองนกยาง ซึ่งขณะนั้นบริเวณดังกล่าวเป็นท่าน้ำที่สำคัญทั้งทางด้านการคมนาคมและเป็นที่ชุมนุมของเรือสินค้าต่าง ๆ ต่อมาคลองนกยางตื้นเขินไม่สะดวกต่อเรือสินค้าต่าง ๆ จะล่องเข้าออก ทั้งสภาพพื้นที่ไม่เหมาะสมที่จะขยายชุมชนให้กว้างขวาง นายอำเภอสมัยนั้น คือ นายเจิม (ต่อมาได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นพระยาสัตยานุกูล) จึงย้ายที่ว่าการอำเภอไปตั้งที่ใหม่บริเวณริมทะเลในตำบลนาเกลือ เมื่อ พ.ศ. 2452