สมบูรณ์ สุนันทพงศ์ศักดิ์ เร่งหาน้ำดิบ-ผลิตประปารับ EEC

สัมภาษณ์

ประเทศไทยเริ่มเข้าสู่ฤดูร้อนอย่างเป็นทางการตั้งแต่วันที่ 2 มี.ค. 65 ตามที่กรมอุตุนิยมวิทยาออกประกาศ หลายหน่วยงานเริ่มเตรียมพร้อมบริหารจัดการทรัพยากรน้ำอย่างเต็มที่ เพื่อไม่ให้ประชาชนเกิดปัญหาการขาดแคลนน้ำทั้งอุปโภคและบริโภค การประปาส่วนภูมิภาค (กปภ.) เป็นอีกหนึ่งหน่วยงานที่มีส่วนสำคัญในการบริหารจัดการเรื่องน้ำ มีสาขาอยู่ทั่วทุกภูมิภาคของประเทศไทย เบื้องต้นประเมินไว้ว่าปีนี้อาจจะประสบปัญหาภัยแล้งจนส่งผลกระทบทั่วประเทศ แต่ กปภ.ยังคงจ่ายน้ำประปาได้ตามปกติ

“สมบูรณ์ สุนันทพงศ์ศักดิ์” ผู้ว่าการการประปาส่วนภูมิภาค ให้สัมภาษณ์ “ประชาชาติธุรกิจ” ก่อนอำลาตำแหน่งในสัปดาห์นี้ว่า เมื่อเดือนมกราคม 2565 ที่ผ่านมา ได้ประเมินสถานการณ์น้ำจาก กปภ. 234 สาขาที่ให้บริการน้ำประปา 74 จังหวัดทั่วประเทศ ยกเว้นกรุงเทพฯ นนทบุรี และสมุทรปราการ ยังจ่ายน้ำประปาในฤดูแล้งได้ตามปกติ ยกเว้นพื้นที่คาดการณ์ว่าจะต้องเฝ้าระวังการขาดแคลนน้ำ ได้แก่ ภาคเหนือ 8 จังหวัด (9 สาขา) ภาคกลาง 6 จังหวัด (9 สาขา) ภาคใต้ 6 จังหวัด (11 สาขา) ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 12 จังหวัด (14 สาขา) ภาคตะวันตก 1 จังหวัด (2 สาขา) ภาคตะวันออก 2 จังหวัด (2 สาขา)

ขณะเดียวกันมีแนวทางการรับมือภัยแล้งปี 2565 อยู่ 3 ด้าน 1.ด้านแหล่งน้ำโดยสำรวจและประเมินแหล่งน้ำดิบที่ กปภ.ใช้อยู่ในปัจจุบัน เฝ้าติดตามรายงานสถานการณ์น้ำอย่างใกล้ชิด และสำรวจแหล่งน้ำอื่นในพื้นที่ใกล้เคียง เพื่อนำมาใช้เป็นแหล่งน้ำสำรองในกรณีที่เกิดการขาดแคลนน้ำดิบ ทั้งจัดเตรียมเครื่องสูบน้ำและอุปกรณ์สำหรับสูบน้ำหรือชักน้ำเข้าสระเก็บน้ำ จากแหล่งน้ำดิบต้นทางหรือตามรอบเวรการส่งน้ำของกรมชลประทานในแต่ละพื้นที่ เป็นต้น

2.ด้านการผลิตและจ่ายน้ำ โดยดำเนินการผลิตและจ่ายน้ำเป็นช่วงเวลาหรือลดอัตราการผลิตและจ่ายน้ำหากจำเป็น เพื่อรักษาปริมาณน้ำดิบที่มีอยู่ให้สามารถผลิตน้ำประปาได้ตลอดฤดูแล้ง จัดเตรียมบุคลากรและเครื่องมือให้เพียงพอต่อการใช้งาน ประสานงานกับท้องถิ่น กปภ.สาขาใกล้เคียง และกรมชลประทาน เพื่อเตรียมความพร้อมสำรองน้ำไว้ในช่วงขาดแคลนทั้งอุปโภคบริโภค

3.การช่วยเหลือประชาชน โดย กปภ.สาขาที่ไม่ได้ประสบปัญหาขาดแคลนน้ำรุนแรง แต่พื้นที่ข้างเคียงประสบปัญหาดังกล่าว อาจให้ความช่วยเหลือด้วยการจ่ายน้ำประปาโดยไม่คิดมูลค่า ในกรณี กปภ.สาขาที่ไม่มีน้ำดิบเหลือเพียงพอสำหรับการผลิตน้ำประปา ให้ใช้รถบรรทุกน้ำไปรับน้ำประปาจาก กปภ.สาขาใกล้เคียงนำไปแจกจ่ายให้แก่ประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อน ตลอดจนแนะนำให้ประชาชนจัดเตรียมภาชนะเพื่อเก็บสำรองน้ำไว้ใช้ในช่วงฤดูแล้ง

ทั้งนี้ การประปาส่วนภูมิภาคร่วมกับกองทัพบกและอีก 3 หน่วยงาน ได้แก่ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค กรมทรัพยากรน้ำบาดาล และบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ในโครงการ “ราษฎร์ รัฐ ร่วมใจ ช่วยภัยแล้ง” ให้ท้องถิ่นมารับน้ำฟรีได้ทุกสาขา โดยขอให้หน่วยงานส่งหนังสือแจ้งความประสงค์ขอรับน้ำเพื่อช่วยเหลือประชาชน พร้อมระบุหมายเลขทะเบียนรถบรรทุกน้ำด้วย เพื่อป้องกันการฉวยโอกาสนำน้ำไปจำหน่าย

ภาพประกอบข่าว © Matichon ภาพประกอบข่าว

นอกจากนี้ยังมีโครงการก่อสร้างปรับปรุงขยายประปา เพื่อแก้ปัญหาเรื่องน้ำในพื้นที่ 3 จังหวัดชลบุรี ฉะเชิงเทรา และระยอง รองรับเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) มีเป้าหมายเพื่อเพิ่มกำลังผลิตน้ำประปารวม 528,000 ลูกบาศก์เมตรต่อวัน เพิ่มผู้ใช้น้ำประมาณ 270,000 รายหรือประมาณ 750,000 คน จะก่อสร้างแล้วเสร็จพร้อมผลิตและให้บริการน้ำประปาประมาณปี 2566 ได้แก่ โครงการก่อสร้างปรับปรุงขยายประปา พัทยา-แหลมฉบัง-ศรีราชา ระยะที่ 1-2 รองรับเขตส่งเสริมอุตสาหกรรมและนวัตกรรมดิจิทัล (EECd) บริเวณอำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี

โครงการก่อสร้างปรับปรุงขยายประปา ชลบุรี-พนัสนิคม ระยะที่ 1 รองรับพื้นที่เมืองศูนย์กลางการศึกษานานาชาติ อุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่และอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ โครงการบ้านฉาง รองรับเขตส่งเสริมเมืองการบินภาคตะวันออก (EEC-A) บริเวณสนามบินอู่ตะเภา จังหวัดระยอง และเขตส่งเสริมเศรษฐกิจพิเศษรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน (EEC-H) ตลอดแนวเส้นทางของโครงการตั้งแต่ดอนเมืองถึงสนามบินอู่ตะเภา

โครงการพนมสารคาม-บางคล้าฯ รองรับเมืองใหม่ฉะเชิงเทรา ซึ่งเป็นเมืองน่าอยู่รองรับการเติบโตของกรุงเทพฯฝั่งตะวันออกและสมาร์ทซิตี้ และมีโครงการพัทยา-แหลมฉบัง-ศรีราชา กับโครงการชลบุรี-พนัสนิคม ระยะที่ 2 ที่อยู่ระหว่างขอจัดสรรงบประมาณและแหล่งน้ำจากกรมชลประทาน

อย่างไรก็ตาม การดำเนินงานโครงการก่อสร้างปรับปรุงขยายประปารองรับ EEC ของ กปภ. จำเป็นต้องมีแหล่งน้ำดิบสำหรับนำมาใช้ผลิตน้ำประปาอย่างเพียงพอ ซึ่ง กปภ.ต้องพึ่งพาหน่วยงานด้านทรัพยากรน้ำที่สำคัญ ได้แก่ กรมชลประทานให้ช่วยจัดหาแหล่งน้ำ อาทิ

1) โครงการสูบผันน้ำอ่างเก็บน้ำประแสร์-คลองใหญ่-หนองปลาไหล เพื่อจัดสรรน้ำดิบจำนวน 35 ล้าน ลบ.ม./ปี ให้ กปภ.ใช้ผลิตน้ำประปาตามโครงการพัทยา-แหลมฉบัง-ศรีราชา (ระยะที่ 1-2) ปี 2559 ปัจจุบันกรมชลประทานก่อสร้างแล้วเสร็จและได้มีการสูบผันน้ำมาใช้บางส่วนแล้ว

2) โครงการสูบผันน้ำอ่างเก็บน้ำประแสร์-หนองค้อ-บางพระเพื่อจัดสรรน้ำดิบจำนวน 70 ล้าน ลบ.ม./ปี ให้ กปภ.ใช้ผลิตน้ำประปาตามโครงการพัทยา-แหลมฉบัง-ศรีราชา ปี 2563 และโครงการชลบุรี-พนัสนิคม (ระยะที่ 2) ปี 2563 ปัจจุบันกรมชลประทานอยู่ระหว่างขั้นตอนขอรับจัดสรรงบประมาณปี 2566

Microsoft และคู่ค้าอาจได้รับค่าคอมมิชชันหากคุณซื้อบางสิ่งผ่านลิงก์ที่แนะนำในบทความนี้

อำเภอ พนัสนิคม

อำเภอ พนัสนิคม

สมัยเมืองพนัสนิคม ในปี พ.ศ. 2371 กำเนิดเมืองขึ้นในสมัยรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระบรมราชานุญาตให้กลุ่มลาวอาสาปากน้ำมาสร้างภูมิลำเนาขึ้นในพื้นที่รกร้างระหว่างเมืองชลบุรีกับเมืองฉะเชิงเทรา พระราชทานนามเมืองว่าพนัสนิคม (บางเอกสารเขียน“พนัศนิคม”) มีฐานะเป็นเมืองจัตวา ขึ้นกับกรมท่า กรุงเทพมหานคร ให้ท้าวอินทิสาร (บางเอกสารเขียน”อินทพิศาล”) หรือ ท้าวทุม ปลัดลาว เมืองสมุทรปราการ บุตรชายคนโตของท้าวไชย (บางเอกสารเขียน”ศรีวิไชย”) อุปราชเมืองนครพนม ให้เป็นเจ้าเมืองพนัสนิคมคนแรกและพระราชทานราชทินนามและบรรดาศักดิ์ที่พระอินทอาษา (บางเอกสารเขียน“อินทรอาษา, อินทอาสา, อินทราษา“) มีข้อความในพระราชพงศาวดารว่า “พวกลาวอาสาปากน้ำ ตั้งขึ้นเมื่อครั้งในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้าสุลาลัย ภายหลังเมื่อปีชวดสัมฤทธิศก พวกลาวไม่สบาย ขอไปตั้งอยู่ที่เมืองพระรถ จึงโปรดให้ตัดเอาแขวงเมืองชลบุรี เมืองฉะเชิงเทรา มาตั้งเป็นเมืองขึ้นชื่อเมืองพนัศนิคม เจ้าเมืองชื่อพระอินทอาษา” (พระราชพงศาวดาร กรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 3 เล่ม 2 ของ เจ้าพระยาทิพากรวงศ์ ฉบับคุรุสภา พิมพ์ครั้งที่หนึ่ง พ.ศ. 2504 หน้า 180) โดยลาวบุกเบิกเมืองพนัสนิคม เป็นลาวเมืองนครพนม อ้างถึงการอพยพมาสยามครั้งแรกนำโดยท้าวไชย อุปราชเมืองนครพนม เป็นโอรสในพระบรมราชา (ท้าวกู่แก้ว) เจ้าเมืองนครพนม (เมืองนครพนมในอดีต เป็นหัวเมืองในราชอาณาจักรล้านช้างเวียงจันทน์ ประเทศราชของสยาม) ไม่สมัครใจอยู่ในปกครองของพระบรมราชา (มัง) เจ้าเมืองนครพนมคนใหม่ จึงอพยพพาสมัครพรรคพวก บุตรหลาน ท้าวเพี้ย ขอพึ่งพระบรมโพธิสมภารพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย เมื่อกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2352 และโปรดเกล้าฯให้ตั้งบ้านเรือนอยู่คลองมหาวงษ์ เมืองสมุทรปราการ ยุคนั้นจึงเรียกคนกลุ่มนี้ว่าพวกลาวอาสาปากน้ำ แต่ทนสภาพแวดล้อมไม่ไหว เพราะเป็นชาวดอนน้ำจืด ถูกให้ไปอยู่เมืองลุ่มน้ำกร่อยและเค็ม เลยขอเปลี่ยนไปอยู่ที่อื่น ซึ่งสภาพใกล้เคียงที่ดอน ลาวนครพนมกลุ่มนี้ได้บุกเบิกสร้างเมืองพนัสนิคม

ข่าว ที่เกี่ยวข้อง

Recommended

Welcome Back!

Login to your account below

Retrieve your password

Please enter your username or email address to reset your password.