นายนริศ นิรามัยวงศ์ รอง ผวจ.ชลบุรี พร้อมด้วย ร.ต.ต.สัญฐิติ ธรรมใจ หัวหน้า ปภ.จังหวัดชลบุรี ในฐานะศูนย์ปฏิบัติการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนช่วงปีใหม่ ได้แถลงผลการปฏิบัติงานป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนน ในช่วงเทศกาลปีใหม่ 2565 ว่า ตลอด 7 วันอันตราย ในระหว่าง 29 ธ.ค.64 – 4 ม.ค. 2565 ภายใต้นโยบายในสโลแกน “ชีวิตวิถีใหม่ ขับขี่อย่างปลอดภัย ไร้อุบัติเหตุ” ทั้งในระดับจังหวัด อำเภอ และท้องถิ่น โดยมีกลุ่มจิตอาสาสมัคร และกลุ่มต่าง ๆ เข้าร่วมอำนวยความสะดวกบนท้องถนน พร้อมภาคเอกชน เพื่อให้เป็นไปตามข้อสั่งการของศูนย์ปฏิบัติการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนน ช่วงเทศกาลปีใหม่ อย่างเข้มข้น
“โดยมีประเด็นสำคัญ ดังนี้ 1. คิดจากภาพรวมในการดำเนินงานฯ เพื่อหวังลดอุบัติเหตุในจังหวัด ได้ดังนั้น เกิดอุบัติเหตุจำนวน 15 ครั้ง มีการบาดเจ็บรวม 11 ราย เสียชีวิตจำนวน 8 ราย ซึ่งผลจำนวนเกิดลดลงด้วย 3 เหตุปัจจัย ทั้งนี้เมื่อเทียบกับเทศกาลปีใหม่ 2564 ซึ่งปีใหม่ปี 2565 นี้ เกิดอุบัติเหตุลดลงร้อยละ 46.42 โดยบาดเจ็บลดลงร้อยละ 38.88 และเสียชีวิตลดลง 38.46% ขณะที่สถิติของปีใหม่เมื่อช่วง 2564 เกิดอุบัติเหตุ 28 ครั้ง, บาดเจ็บ 18 คน และเสียชีวิต 13 ราย
ค่าตามเป้าหมายภาพรวมในการทำงานระดับจังหวัด ซึ่งเมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ย 3 ปีย้อนหลัง “2562 – 2564” ดังนี้ เป้าหมายจำนวนเกิดอุบัติเหตุที่ตั้งไว้ต้องไม่เกิน 25 ครั้ง ลดลงจากค่าเป้าหมายร้อยละ 40.00 เป้าหมายจำนวนผู้บาดเจ็บได้ตั้งไว้ไม่เกิน 18 คน ซึ่งปรากฏว่า ลดลงจากค่าเป้าหมายคิดเป็นร้อยละ 38.88 จำนวนผู้เสียชีวิต พบว่ามี จำนวน 8 ราย ซึ่งเท่ากับค่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ ไม่เกิน 8 ราย จำนวนผู้เสียชีวิต ณ จุดเกิดเหตุ พบว่ามีผู้เสียชีวิต ที่จุดเกิดเหตุ จำนวน 2 ราย เท่ากับค่าเป้าหมาย ที่ตั้งไว้ต้องไม่เกิน 2 ราย
สำหรับค่าเป้าในหมายฯของระดับอำเภอ โดยมีอำเภอเสี่ยงอันตรายสูงสุด (สีแดง) ได้แก่ อำเภอเมืองชลบุรี พบว่าไม่ผู้เสียชีวิต ซึ่งลดลงจากค่าเป้าหมายคิดเป็น 100 เปอร์เซ็นต์ อ.เสี่ยงอันตรายสูง ส่วน (สีส้ม)คือ 4 อำเภอ ได้แก่ อำเภอบางละมุง, บ้านบึง, ศรีราชา และหนองใหญ่ พบมีผู้เสียชีวิต 5 ราย ในฐานะอำเภอเสี่ยงอันตราย “สีเหลือง” 3 อำเภอ ได้แก่ อำเภอบ่อทอง อำเภอพนัสนิคม และอำเภอพานทอง พบผู้เสียชีวิต 2 ราย อำเภอเสี่ยงอันตรายน้อย “สีเขียว” มี 3 อำเภอคือ อำเภอสัตหีบ, เกาะสีชัง และอ.เกาะจันทร์ ซึ่งพบผู้เสียชีวิต 1 ราย โดยรถจักรยานยนต์ ยังคงเป็นยานพาหนะที่เกิดอุบัติเหตุสูงสุด คิดเป็นร้อยละ 88.2 รองลงมาเป็นรถยนต์อเนกประสงค์ คิดเป็นร้อยละ 5.9 และรถจักรยานยนต์พ่วงข้าง คิดเป็นร้อยละ 5.9 ส่วนสาเหตุเกิดอุบัติเหตุมากสุด ส่วนใหญ่มาจากปัจจัยด้านคน คิดเป็นร้อยละ 94.1 ด้วยสาเหตุสูงสุด คือ ขับรถเร็วเกินกว่ากฎหมายกำหนด ร้อยละ 47.05 รองลงมา ได้แก่ ดื่มแล้วขับ ร้อยละ 23.52 และลำดับที่สาม ได้แก่ ขับตัดหน้ากระชั้นชิดร้อยละ 17.61
พบพฤติกรรมที่เสี่ยงสูงสุด คือ ส่วนใหญ่ไม่สวมหมวกนิรภัย (จำนวนร้อยละ 34.6) รองลงมา ได้แก่ ขับรถเร็วเกิน กม.กำหนด “ร้อยละ 30.8” และอันดับที่ 3 คือ ขับรถตัดหน้ากระชั้นชิดคิดเป็นร้อยละ 11.5 ถนนที่เกิดอุบัติเหตุสูงสุด ได้แก่ ถนนกรมทางหลวง ร้อยละ 46.7 รองลงมา ในถนนเมืองเทศบาลฯ ร้อยละ 26.7 และลำดับที่สาม ในถนนทางหลวงชนบท ร้อยละ13.3 ส่วนถนน อบจ. ร้อยละ 13.3
ร.ต.ต.สัญฐิติ ธรรมใจ หัวหน้า ปภ.ชลบุรี กล่าวว่า สำหรับช่วงเวลาที่เกิดอุบัติเหตุบนท้องอยู่ในระหว่าง เวลา 00.01 -03.00 น.และ 09.01 -12.00 น.คิดเป็นร้อยละ 26.7, รองลงมา คือช่วงระหว่างเวลา 12.01 -15.00 น. และ 18.01 – 21.00 น. คิดเป็นร้อยละ 13.3 ส่วนผู้ได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิตจากอุบัติเหตุซึ่งจัดอยู่ในวัยระหว่าง 30 – 39 ปี และ 50 ปีขึ้นไป คิดเป็นร้อยละ 26.3 และรองลงมา ในช่วงระหว่างอายุ 20 – 24 ปี และ 25 – 29 ปี คิดเป็นร้อยละ 15.8
+++++++++++