Chonburi Sponsored

บางกอก ซิตี้ จัดทัวร์นาเมนต์เยาวชน ชิงถ้วยประทานฯพระองค์เจ้าโสมสวลี – ข่าวสด

Chonburi Sponsored
Chonburi Sponsored

บางกอก ซิตี้ เอฟซี ผุดโครงการสานฝันเยาวชนในกีฬาฟุตบอล ด้วยการจัดทัวร์นาเมนต์สำหรับทีมเยาวชน เพื่อสร้างพื้นที่ให้กับเด็กรุ่นใหม่ในรายการบางกอก ยูธ คัพ 2022

เกาะติดข่าว กดติดตาม ข่าวสด

บางกอก – “บิ๊กโอเล่”กณิศนันท์ ศรีเสมอ ประธานสโมสร “ราชสีห์คำราม” บางกอก ซิตี้ เอฟซี ร่วมกับโรงเรียนท่าข้าม จ.ชลบุรี เดินหน้าจัดการแข่งขันฟุตบอลเยาวชนรุ่นอายุ 13 15 17 ปี รายการ BANGKOK CITY THAILAND YOUTH CUP 2022 ชิงถ้วยประทานรางวัลชนะเลิศพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี กรมหมื่นสุทธนารีนาถ พร้อมทุนการศึกษารวม 100,000 บาท

สำหรับโครงการนี้ต้องการพัฒนาเยาวชนลูกหนังของประเทศและมีเวทีมาตรฐานให้นักเตะได้ลงทำการแข่งขัน พร้อมเปิดโอกาสให้สถานศึกษาจากทั่วประเทศร่วมเป็นส่วนหนึ่งของการแข่งขันฟุตบอลรายการนี้

  • สรพงษ์ หรือจะสู้ นวลพรรณ ! มาดามแป้ง แจก แอร์เมส-นาฬิกา ปลุกใจ ช้างศึก

โดยจะเปิดรับสมัครทีมเข้าร่วมการแข่งขัน 3 รุ่น ประกอบไปด้วย 13 15 17 ปี ซึ่งจะเปิด เปิดรับสมัครทีมสถานศึกษาเข้าร่วมการแข่งขันตั้งแต่วันที่ 1 ธ.ค.64-1 ม.ค.65 รับสมัครรุ่นละ 16 ทีม ทำการแข่งขันที่ โรงเรียนท่าข้าม อ.พนัสนิคม จ.ชลบุรี รูปแบบการแข่งขันจะจัดการแข่งขันแบบทัวร์นาเมนต์ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ เพจสโมสร Bangkok City FC หรือ โทร.09-4994-8654

“บิ๊กโอเล่”กณิศนันท์ ศรีเสมอ ประธานสโมสร บางกอก ซิตี้ เอฟซี เผยถึงแนวทางของการจัดการแข่งขันฟุตบอลรายการนี้ว่า “แน่นอนว่าเราอยากเห็นการพัฒนาของฟุตบอลระดับเยาวชนเพราะเป็นส่วนสำคัญในการพัฒนาลีกฟุตบอลอาชีพบ้านเราในอนาคต”

“ทัวร์นาเมนต์นี้เลือกเปิดโอกาสให้กับสถานศึกษาเพราะอยากให้น้องๆ ได้มีเรื่องของการศึกษาที่ดีและสุขภาพร่างกายที่ดีรวมไปถึงมองถึงอนาคตบนเส้นทางนักกีฬาอาชีพ จึงอยากเชิญทุกทีมที่สนใจเข้าร่วมการแข่งขันมาเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาฐานล่างฟุตบอลไทยให้แข็งแกร่ง”

Chonburi Sponsored
อำเภอ พนัสนิคม

สมัยเมืองพนัสนิคม ในปี พ.ศ. 2371 กำเนิดเมืองขึ้นในสมัยรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระบรมราชานุญาตให้กลุ่มลาวอาสาปากน้ำมาสร้างภูมิลำเนาขึ้นในพื้นที่รกร้างระหว่างเมืองชลบุรีกับเมืองฉะเชิงเทรา พระราชทานนามเมืองว่าพนัสนิคม (บางเอกสารเขียน“พนัศนิคม”) มีฐานะเป็นเมืองจัตวา ขึ้นกับกรมท่า กรุงเทพมหานคร ให้ท้าวอินทิสาร (บางเอกสารเขียน”อินทพิศาล”) หรือ ท้าวทุม ปลัดลาว เมืองสมุทรปราการ บุตรชายคนโตของท้าวไชย (บางเอกสารเขียน”ศรีวิไชย”) อุปราชเมืองนครพนม ให้เป็นเจ้าเมืองพนัสนิคมคนแรกและพระราชทานราชทินนามและบรรดาศักดิ์ที่พระอินทอาษา (บางเอกสารเขียน“อินทรอาษา, อินทอาสา, อินทราษา“) มีข้อความในพระราชพงศาวดารว่า “พวกลาวอาสาปากน้ำ ตั้งขึ้นเมื่อครั้งในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้าสุลาลัย ภายหลังเมื่อปีชวดสัมฤทธิศก พวกลาวไม่สบาย ขอไปตั้งอยู่ที่เมืองพระรถ จึงโปรดให้ตัดเอาแขวงเมืองชลบุรี เมืองฉะเชิงเทรา มาตั้งเป็นเมืองขึ้นชื่อเมืองพนัศนิคม เจ้าเมืองชื่อพระอินทอาษา” (พระราชพงศาวดาร กรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 3 เล่ม 2 ของ เจ้าพระยาทิพากรวงศ์ ฉบับคุรุสภา พิมพ์ครั้งที่หนึ่ง พ.ศ. 2504 หน้า 180) โดยลาวบุกเบิกเมืองพนัสนิคม เป็นลาวเมืองนครพนม อ้างถึงการอพยพมาสยามครั้งแรกนำโดยท้าวไชย อุปราชเมืองนครพนม เป็นโอรสในพระบรมราชา (ท้าวกู่แก้ว) เจ้าเมืองนครพนม (เมืองนครพนมในอดีต เป็นหัวเมืองในราชอาณาจักรล้านช้างเวียงจันทน์ ประเทศราชของสยาม) ไม่สมัครใจอยู่ในปกครองของพระบรมราชา (มัง) เจ้าเมืองนครพนมคนใหม่ จึงอพยพพาสมัครพรรคพวก บุตรหลาน ท้าวเพี้ย ขอพึ่งพระบรมโพธิสมภารพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย เมื่อกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2352 และโปรดเกล้าฯให้ตั้งบ้านเรือนอยู่คลองมหาวงษ์ เมืองสมุทรปราการ ยุคนั้นจึงเรียกคนกลุ่มนี้ว่าพวกลาวอาสาปากน้ำ แต่ทนสภาพแวดล้อมไม่ไหว เพราะเป็นชาวดอนน้ำจืด ถูกให้ไปอยู่เมืองลุ่มน้ำกร่อยและเค็ม เลยขอเปลี่ยนไปอยู่ที่อื่น ซึ่งสภาพใกล้เคียงที่ดอน ลาวนครพนมกลุ่มนี้ได้บุกเบิกสร้างเมืองพนัสนิคม