Chonburi Sponsored

ชาวบ้านหนองปลาไหลสุดทน โรงงานลอบเผาพลาสติกส่งกลิ่นเหม็นคลุ้งไ้้ร้การแก้ไข

Chonburi Sponsored
Chonburi Sponsored

เผยแพร่:   ปรับปรุง: โดย: ผู้จัดการออนไลน์


ศูนย์ข่าวศรีราชา – สุดทน! ชาวบ้านหนองปลาไหล อ.บางละมุง โรงงานลอบเผาพลาสติกจนส่งกลิ่นเหม็นคละคลุ้ง เผยที่ผ่านมาร้องหน่วยงานในพื้นที่แต่ไม่เป็นผลจนต้องให้สื่อช่วยเป็นกระบอกเสียง วอนหน่วยงานเกี่ยวข้องแก้ไขจริงจัง หวั่นกระทบสุขภาพระยะยาว

วันนี้ (11 มี.ค.) ผู้สื่อข่าวได้รับการร้องเรียนจากชาวบ้านหมู่บ้านงามเจริญ 15 ต.หนองปลาไหล อ.บางละมุง จ.ชลบุรี ว่าได้รับความเดือดร้อนจากกลิ่นเหม็นไหม้ซึ่งเกิดจากการเผาพลาสติกของโรงงานพลาสติกแห่งหนึ่ง และเป็นเช่นนี้มานานหลายเดือนแล้ว

โดย นายสุรเชษฐ อภัยโส อายุ 38 ปี ชาวบ้านในพื้นที่บอกว่า ตนเองซื้อบ้านในโครงการหมู่บ้านดังกล่าวมาตั้งแต่ปี 2560 แต่เพิ่งจะได้รับความเดือดร้อนเมื่อเดือน พ.ค.2564 หลังมีโรงงานพลาสติกเข้ามาตั้งอยู่ในพื้นที่ และได้ทำการเผาพลาสติกทั้งกลางวันและกลางคืนจนส่งกลิ่นเหม็นคละคลุ้งไปทั่ว


และชาวบ้านได้แจ้งความเดือดร้อนไปยังเทศบาลตำบลหนองปลาไหล ซึ่งได้มีการส่งเจ้าหน้าที่เข้าตรวจสอบจนโรงงานต้องปิดดำเนินการเป็นเวลา 2 วัน จากนั้นจึงกลับมาเปิดดำเนินการตามปกติ

“จากนั้นชาวบ้านยังได้ร้องเรียนไปยังสำนักนายกรัฐมนตรี กระทั่งมีเจ้าหน้าที่จากทางจังหวัดเข้ามาตรวจสอบจนโรงงานต้องหยุดดำเนินการอีกครั้ง แต่เป็นเพียงแค่ 1 สัปดาห์โรงงานก็กลับมาเปิดอีก”

จึงอยากวอนให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้ามาตรวจสอบอย่างละเอียด เนื่องจากภายในหมู่บ้านมีทั้งเด็กและคนแก่ และหลายรายทนไม่ไหวย้ายออกจากหมู่บ้านกลับภูมิลำเนาเดิม ซึ่งหมู่บ้านนี้มี 185 หลังคาเรือน ได้รับผลกระทบทั้งหมด จึงอยากวอนให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้ามาตรวจสอบโดยด่วน

เช่นเดียวกับ นางศิริพร เบญจมาศ อายุ 55 ปี บอกว่าได้รับผลกระทบเรื่องกลิ่นเผาไหม้พลาสติกมานาน และมักจะเกิดขึ้นในช่วงเวลา 22.00 น.ของทุกวัน จนชาวบ้านเกรงว่าจะส่งผลเสียต่อสุขภาพ จึงขอเรียกร้องให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้ามาแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนโดยด่วน

Chonburi Sponsored
อำเภอ บางละมุง

อำเภอบางละมุงแต่เดิมมีฐานะเป็นเมืองบางละมุง ตั้งอยู่ที่บ้านบางละมุง ตำบลบางละมุง จนถึง พ.ศ. 2444 ได้ยุบเมืองบางละมุงเป็นอำเภอขึ้นต่อจังหวัดชลบุรี โดยมีที่ว่าการอำเภอตั้งอยู่บริเวณริมคลองนกยาง ซึ่งขณะนั้นบริเวณดังกล่าวเป็นท่าน้ำที่สำคัญทั้งทางด้านการคมนาคมและเป็นที่ชุมนุมของเรือสินค้าต่าง ๆ ต่อมาคลองนกยางตื้นเขินไม่สะดวกต่อเรือสินค้าต่าง ๆ จะล่องเข้าออก ทั้งสภาพพื้นที่ไม่เหมาะสมที่จะขยายชุมชนให้กว้างขวาง นายอำเภอสมัยนั้น คือ นายเจิม (ต่อมาได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นพระยาสัตยานุกูล) จึงย้ายที่ว่าการอำเภอไปตั้งที่ใหม่บริเวณริมทะเลในตำบลนาเกลือ เมื่อ พ.ศ. 2452