Chonburi Sponsored

2 เดือน พบสัตว์ติดโรคพิษสุนัขบ้า 42 ตัว

Chonburi Sponsored
Chonburi Sponsored

ห้องข่าววาไรตี้ – ปศุสัตว์ เผยตัวเลขสัตว์ติดเชื้อพิษสุนัขบ้า ระยะเวลาเพียง 2 เดือน ติดเชื้อแล้ว 42 ตัว ส่วนใหญ่อยู่ในพื้นที่ชลบุรี

นายสัตวแพทย์สรวิศ ธานีโต อธิบดีกรมปศุสัตว์ เผยผลรายงานสัตว์ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม ถึง 7 มีนาคม 2565 ตรวจพบสัตว์ให้ผลบวกต่อโรคพิษสุนัขบ้าสะสม จำนวน 42 ตัว เฉลี่ยพบผลบวกต่อโรคพิษสุนัขบ้าในสัตว์รายวันเฉลี่ยอยู่ที่ 0.6 ตัวต่อวัน ส่วนใหญ่พบโรคในสุนัข อยู่ที่ 98% ของสัตว์ที่พบผลบวกทั้งหมด และส่วนใหญ่เป็นสุนัขที่ไม่มีและไม่ทราบประวัติการมีเจ้าของ มากถึง 89% ของสุนัขที่พบผลบวกทั้งหมด โดยจังหวัดชลบุรี พบการระบาดโรคพิษสุนัขบ้าสูงสุด จำนวน 29 ตัวอย่าง รองลงมาคือ จังหวัดสมุทรปราการ 3 ตัวอย่าง ซึ่งปัจจุบัน พบมีรายงานผู้เสียชีวิตด้วยโรคพิษสุนัขบ้าในปี 2565 แล้ว 1 ราย ในพื้นที่ อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี โดยพื้นที่ที่พบการระบาดของโรคพิษสุนัขบ้าในประเทศไทย ในช่วงระยะ 1 เดือนย้อนหลัง และยังอยู่ในระยะของการเฝ้าระวังโรค ได้แก่ ชลบุรี สงขลา สมุทรปราการ อุบลราชธานี และนครสวรรค์ ทั้งนี้ หากประชาชนต้องการข้อมูลหรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม ได้ที่เว็บไซต์ สำนักควบคุมป้องกันและบำบัดโรคสัตว์ และสามารถติดตามสถานการณ์โรคพิษสุนัขบ้าได้ที่ www.thairabies.net

โรคพิษสุนัขบ้า เกิดจากเชื้อไวรัส เป็นโรคอันตรายติดต่อได้ในคนและสัตว์ สามารถติดได้ในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมทุกชนิด เช่น สุนัข แมว โค กระบือ หนู กระรอก กระต่าย ลิง ค้างคาว เป็นต้น ในประเทศไทย สัตว์ที่พบว่ามีการติดเชื้อโรคพิษสุนัขบ้าสูงสุด คือ สุนัข โดยในปี 2564 ข้อมูลจากระบบฐานข้อมูล Thai Rabies Net พบว่า สุนัขพบผลบวกต่อโรคพิษสุนัขบ้าสูงถึง 86% จากจำนวนสัตว์ที่พบผลบวกทั้งหมด โรคนี้ติดต่อได้จากการสัมผัสกับน้ำลายจากการถูกกัด ข่วน หรือเลียบริเวณที่มีบาดแผล รอยถลอก รอยขีดข่วน หรือถูกเลียบริเวณเยื่อบุตา หรือปาก นอกจากนี้ การชำแหละซากสัตว์หรือรับประทานผลิตภัณฑ์ดิบจากสัตว์ที่เป็นโรคพิษสุนัขบ้า ก็สามารถติดโรคได้

Chonburi Sponsored
อำเภอ สัตหีบ

ช่วงประมาณรัชกาลที่ 5 และรัชกาลที่ 6 สัตหีบเป็นเพียงหมู่บ้านชายทะเล ชาวบ้านประกอบอาชีพทำไร่ ทำนา หาของป่า และประมง การคมนาคมจะใช้ทางน้ำโดยเรือเมล์หรือเรือใบ ส่วนทางบกมีแต่ทางเกวียน ถนนไปชลบุรียังไม่มี ภูมิประเทศส่วนใหญ่ยังเป็นป่ารกทึบ การเดินทางระหว่างเมืองจึงใช้เรือเป็นหลัก ในหมู่บ้านสัตหีบ มีผู้ที่ชาวบ้านนับหน้าถือตามากอยู่คนหนึ่ง ชาวบ้านเรียกว่า "ยายแจง" แกมีฐานะดีมี ที่ดิน เรือ สวน ไร่นามากมาย ตลาดสัตหีบ หนองตะเคียนและโรงเรียนสิงห์สมุทรรวมถึงบริเวณเขาแหลมเทียนอันเป็นที่ตั้งของฐานทัพเรือสัตหีบในปัจจุบันก็เคยเป็นของแก ต่อมา เมื่อกรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ทรงฝึกภาคทะเลกับกองเรือและทรงพักที่อ่าวสัตหีบ ทรงเห็นว่าอ่าวสัตหีบเหมาะเป็นที่ตั้งหน่วยเรือ เพราะมีเกาะใหญ่น้อยช่วยกำบังคลื่นลม พระองค์จึงได้บอกถึงพระประสงค์ที่จะใช้บริเวณเขาแหลมเทียนเป็นที่ตั้งหน่วยทหารเรือ ยายแจงก็ยินดีที่จะถวายให้