Chonburi Sponsored

โฆษกกองทัพเรือ แจงคลัสเตอร์ทหารเรือสัตหีบ ยันคุมโควิดได้ไม่มีแพร่ระบาด

Chonburi Sponsored
Chonburi Sponsored
สยามรัฐออนไลน์ 5 มกราคม 2565 11:55 น. ภูมิภาค โควิด-19

วันที่ 5 ม.ค.65 พลเรือโท ปกครอง มนธาตุผลิน โฆษกกองทัพเรือ เปิดเผยถึงกรณีที่สื่อบางสื่อรายงานข่าวสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรค Covid-19 ในจังหวัดชลบุรี พร้อมทั้งระบุว่าเกิดคลัสเตอร์ในเขตพื้นที่ทหารเรือ โดยมีการแพร่ระบาดอย่างต่อเนื่องไม่สามารถควบคุมได้ว่า กองทัพเรือมีความไม่สบายใจต่อข่าวดังกล่าว ซึ่งอาจทำให้ประชาชนในพื้นที่ โดยเฉพาะ อย่างยิ่งผู้ปกครองและครอบครัวของทหารใหม่ในสังกัดกองทัพเรือ มีความกังวลและตื่นตระหนก ในการนี้ ผู้บัญชาการทหารเรือ ได้ สั่งการให้ กรมแพทย์ทหารเรือ ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงอย่างเร่งด่วน

ทั้งนี้ จากรายงานของกรมแพทย์ทหารเรือ ระบุว่า ระหว่างวันที่ 26 ธันวาคม 2564-2 มกราคม 2565 มีรายงานการพบกำลังพลในสังกัดกองทัพเรือที่ติดเชื้อโควิค 19 ดังนี้
– วันที่ 26 ธันวาคม 2564 ไม่มีผู้ติดเชื้อ
– วันที่ 27 ธันวาคม 2564 มีผู้ติดเชื้อ 1 ราย
– วันที่ 28 ธันวาคม 2564 มีผู้ติดเชื้อ 2 ราย
– วันที่ 29 ธันวาคม 2564 มีผู้ติดเชื้อ 10 ราย
– วันที่ 30 ธันวาคม 2564 มีผู้ติดเชื้อ 7 ราย
– วันที่ 31 ธันวาคม 2564 มีผู้ติดเชื้อ 2 ราย
– วันที่ 1 มกราคม 2565 มีผู้ติดเชื้อ 9 ราย
– วันที่ 2 มกราคม 2565 มีผู้ติดเชื้อ 6 ราย

โฆษกกองทัพเรือ กล่าวต่อไปว่า กำลังพลของกองทัพเรือที่ติดเชื้อในพื้นที่สัตหีบ ตามรายงานข้างต้น ไม่ได้อยู่ในสังกัดหน่วยเดียวกัน ไม่มีความเชื่อมโยงสัมพันธ์กัน ไม่มีการระบาดเป็นกลุ่มก้อน (Cluster) และปัจจุบันสามารถควบคุมการแพร่ระบาดในพื้นที่ได้ ดังนั้น ข้อมูลข่าวสารที่ปรากฎที่ระบุว่า ไม่สามารถควบคุมได้ ถือว่าไม่เป็นความจริงแต่อย่างใด ซึ่งที่ผ่านมากองทัพเรือได้ให้ความสำคัญในการป้องกันการติดเชื้อให้กับกำลังพลในทุกระดับ โดยเป็นการออกมาตรการรองรับซึ่งสอดคล้องกับที่ ศบค. กำหนดและโรงพยาบาลในสังกัดของกองทัพเรือได้ให้การดูแลรักษาให้กับกำลังพล รวมถึงประชาชนทั่วไปที่ติดเชื้ออย่างเต็มที่มาโดยตลอด จึงขอให้ประชาชนสบายใจและอย่าตื่นตระหนกจากรายงานข่าวดังกล่าว ซึ่งมีความคลาดเคลื่อนไปจากความเป็นจริง

Chonburi Sponsored
อำเภอ สัตหีบ

ช่วงประมาณรัชกาลที่ 5 และรัชกาลที่ 6 สัตหีบเป็นเพียงหมู่บ้านชายทะเล ชาวบ้านประกอบอาชีพทำไร่ ทำนา หาของป่า และประมง การคมนาคมจะใช้ทางน้ำโดยเรือเมล์หรือเรือใบ ส่วนทางบกมีแต่ทางเกวียน ถนนไปชลบุรียังไม่มี ภูมิประเทศส่วนใหญ่ยังเป็นป่ารกทึบ การเดินทางระหว่างเมืองจึงใช้เรือเป็นหลัก ในหมู่บ้านสัตหีบ มีผู้ที่ชาวบ้านนับหน้าถือตามากอยู่คนหนึ่ง ชาวบ้านเรียกว่า "ยายแจง" แกมีฐานะดีมี ที่ดิน เรือ สวน ไร่นามากมาย ตลาดสัตหีบ หนองตะเคียนและโรงเรียนสิงห์สมุทรรวมถึงบริเวณเขาแหลมเทียนอันเป็นที่ตั้งของฐานทัพเรือสัตหีบในปัจจุบันก็เคยเป็นของแก ต่อมา เมื่อกรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ทรงฝึกภาคทะเลกับกองเรือและทรงพักที่อ่าวสัตหีบ ทรงเห็นว่าอ่าวสัตหีบเหมาะเป็นที่ตั้งหน่วยเรือ เพราะมีเกาะใหญ่น้อยช่วยกำบังคลื่นลม พระองค์จึงได้บอกถึงพระประสงค์ที่จะใช้บริเวณเขาแหลมเทียนเป็นที่ตั้งหน่วยทหารเรือ ยายแจงก็ยินดีที่จะถวายให้