Chonburi Sponsored

กองทัพเรือโดย ฐานทัพเรือสัตหีบ ขยายเวลาบริการ ตรวจคัดกรองโควิด-19 ฟรี อีก 1 วัน ของขวัญปีใหม่ชาวสัตหีบ

Chonburi Sponsored
Chonburi Sponsored
สยามรัฐออนไลน์ 5 มกราคม 2565 19:45 น. ภูมิภาค โควิด-19

จากกรณี กองทัพเรือโดยฐานทัพเรือสัตหีบ พล.ร.ท.นฤพล เกิดนาค ผู้บัญชาการฐานทัพเรือสัตหีบร่วมกับอำเภอสัตหีบและเทศบาลเมืองสัตหีบ นำ จนท.จัดตั้งหน่วยบริการตรวจคัดกรองเชิงรุก แบบ Antigen Test Kit (ATK) ให้กับข้าราชการทหาร ครอบครัว และพี่น้องประชาชน ที่เดินทางกลับจากเทศกาลปีใหม่ 2565 ฟรี ระหว่างวันที่ 4-5 ม.ค.65 นั้น

หลังจากการตั้งจุดให้บริการ ทั้ง 4 จุด ประกอบด้วย ที่ตลาดเช้าหน้าที่ทำการสำนักงานเทศบาลเมืองสัตหีบ ที่สวนกรมหลวงชุมพร (หนองตะเคียน) ที่สโมสร รพ.อาภากรเกียรติวงศ์ ฐานทัพเรือสัตหีบ (เฉพาะข้าราชการทหาร และครอบครัว) และที่โรงเรียนวัดช่องแสมสาร โดยมี จนท. จาก รพ.อาภากรเกียรติวงศ์ ฐานทัพเรือสัตหีบ จนท. จากสาธารณสุขอำเภอสัตหีบ และ จนท. จากสาธารณสุขเทศบาลเมืองสัตหีบ ร่วมให้บริการตรวจโควิด 19 ในครั้งนี้ฟรี โดยไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น ปรากฏว่ามีผู้เข้ามารับการตรวจเป็นจำนวนมาก

พล.ร.ท.นฤพล เกิดนาค ผู้บัญชาการฐานทัพเรือสัตหีบ เห็นว่าเพื่อให้บริการดังกล่าวเป็นไปอย่างทั่วถึง จึงได้ขยายระยะเวลาให้บริการตรวจโควิด 19 ฟรี เพิ่มขึ้นอีก 1 วัน ในวันที่ 6 ม.ค.65 ระหว่างเวลา 08.30 น. ถึงเวลา 10.30 น. ที่สวนกรมหลวงชุมพร (หนองตะเคียน) อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี ให้กับกำลังพล ทร. และประชาชนทั่วไป ในพื้นที่สัตหีบ เพื่อเป็นการเฝ้าระวังการติดเชื้อในพื้นที่ หลังช่วงเทศกาลปีใหม่ 2565

พล.ร.ท.นฤพล เกิดนาค ผู้บัญชาการฐานทัพเรือสัตหีบ กล่าวว่า กองทัพเรือ โดยฐานทัพเรือสัตหีบ ร่วมกับอำเภอสัตหีบ และเทศบาลเมืองสัตหีบ มีความห่วงใยพี่น้องประชาชนที่เดินทางกลับจากการเยี่ยมภูมิลำเนาและกลับมาปฎิบัติงานในพื้นที่ จึงได้จัดตั้งหน่วยบริการตรวจคัดกรองโควิด-19 ฟรี ขึ้นในครั้งนี้

ซึ่งเป็นไปตามนโยบายของ ผู้บัญชาการทหารเรือ ที่มีความห่วงใยในกำลังพล และครอบครัว รวมถึงพี่น้องประชาชน ที่อยู่ในพื้นที่รับผิดชอบของกองทัพเรือ

Chonburi Sponsored
อำเภอ สัตหีบ

ช่วงประมาณรัชกาลที่ 5 และรัชกาลที่ 6 สัตหีบเป็นเพียงหมู่บ้านชายทะเล ชาวบ้านประกอบอาชีพทำไร่ ทำนา หาของป่า และประมง การคมนาคมจะใช้ทางน้ำโดยเรือเมล์หรือเรือใบ ส่วนทางบกมีแต่ทางเกวียน ถนนไปชลบุรียังไม่มี ภูมิประเทศส่วนใหญ่ยังเป็นป่ารกทึบ การเดินทางระหว่างเมืองจึงใช้เรือเป็นหลัก ในหมู่บ้านสัตหีบ มีผู้ที่ชาวบ้านนับหน้าถือตามากอยู่คนหนึ่ง ชาวบ้านเรียกว่า "ยายแจง" แกมีฐานะดีมี ที่ดิน เรือ สวน ไร่นามากมาย ตลาดสัตหีบ หนองตะเคียนและโรงเรียนสิงห์สมุทรรวมถึงบริเวณเขาแหลมเทียนอันเป็นที่ตั้งของฐานทัพเรือสัตหีบในปัจจุบันก็เคยเป็นของแก ต่อมา เมื่อกรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ทรงฝึกภาคทะเลกับกองเรือและทรงพักที่อ่าวสัตหีบ ทรงเห็นว่าอ่าวสัตหีบเหมาะเป็นที่ตั้งหน่วยเรือ เพราะมีเกาะใหญ่น้อยช่วยกำบังคลื่นลม พระองค์จึงได้บอกถึงพระประสงค์ที่จะใช้บริเวณเขาแหลมเทียนเป็นที่ตั้งหน่วยทหารเรือ ยายแจงก็ยินดีที่จะถวายให้