Chonburi Sponsored

กรมทางหลวง แนะนำเส้นทางเลือกจากกรุงเทพฯสู่ภูมิภาคต่างๆ ช่วงเทศกาลปีใหม่ 2565

Chonburi Sponsored
Chonburi Sponsored

นายสราวุธ ทรงศิวิไล อธิบดีกรมทางหลวง เปิดเผยว่า ในช่วงเทศกาลปีใหม่ 2565 นี้ เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกแก่ผู้เดินทางและหลีกเลี่ยงปัญหาการจราจรติดขัดในช่วงเทศกาลดังกล่าว ตามข้อสั่งการของนายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ทั้งนี้ กรมทางหลวงจึงได้แนะนำเส้นทางเลือกบนทางหลวงสายหลักและสายรอง ซึ่งจะช่วยให้ประชาชนวางแผนการเดินทางล่วงหน้าได้เป็นอย่างดี ดังนี้

กรุงเทพฯ – ภาคเหนือ  
เส้นทางที่ 1 จากกรุงเทพฯไปรังสิต (ทางหลวงหมายเลข 1 ถนนพหลโยธิน) – จ.พระนครศรีอยุธยา – จ.อ่างทอง – จ.สิงห์บุรี (ทางหลวงหมายเลข 32 ถนนสายเอเชีย) – อ.มโนรมย์ (ทางหลวงหมายเลข 1 ถนนพหลโยธิน) จากนั้นมุ่งหน้าสู่จังหวัดนครสวรรค์

เส้นทางที่ 2 จากกรุงเทพฯไป จ.นนทบุรี (ทางหลวงหมายเลข 340 บางบัวทอง – สุพรรณบุรี) –จ.สุพรรณบุรี (ทางหลวงหมายเลข 340 สุพรรณบุรี – ชัยนาท) – จ.ชัยนาท (ทางหลวงหมายเลข 1 ถนนพหลโยธิน) จากนั้นมุ่งหน้า สู่จังหวัดนครสวรรค์

เส้นทางที่ 3 จากกรุงเทพฯไป รังสิต – อ.วังน้อย – จ.สระบุรี – จ.ลพบุรี (ทางหลวงหมายเลข 1 ถนนพหลโยธิน) – อ.ตากฟ้า (ทางหลวงหมายเลข 11) จากนั้นมุ่งหน้าสู่จังหวัดพิษณุโลก

เส้นทางที่ 4 จากกรุงเทพฯไปรังสิต – ต่างระดับคลองหลวง (ทางหลวงหมายเลข 1 ถนนพหลโยธิน) – เชียงรากน้อย (ทางหลวงหมายเลข 3214) – ทางหลวงหมายเลข 347 – ทางหลวงหมายเลข32 จากนั้นมุ่งหน้าเข้าสู่ภาคเหนือ

เส้นทางที่5 จากกรุงเทพฯไปวงแหวนตะวันออก (ทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองหมายเลข 9) – ต่างระดับมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(มจร.) – อ.วังน้อย (ทางหลวงหมายเลข 1 ถนนพหลโยธิน) –  ถนนโรจนะ (ทางหลวงหมายเลข 309) จากนั้นมุ่งหน้าสู่ทางหลวงหมายเลข 32 เข้าสู่ภาคเหนือ 

กรุงเทพฯ – ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
เส้นทางที่ 1 จากกรุงเทพฯไป จ.สระบุรี (ทางหลวงหมายเลข 1 ถนนพหลโยธิน) – ต.ม่วงค่อม (ทางหลวงหมายเลข 21) – อ.ท่าหลวง (ทางหลวงหมายเลข 2256) – อ.ด่านขุนทด (ทางหลวงหมายเลข 2148) – ทางหลวงหมายเลข 2 ถนนมิตรภาพ จากนั้นมุ่งหน้าสู่จังหวัดนครราชสีมา

เส้นทางที่ 2 จากกรุงเทพฯไป อ.วังน้อย (ทางหลวงหมายเลข 1 ถนนพหลโยธิน) – จ.สระบุรี – อ.ปากช่อง – อ.สีคิ้ว (ทางหลวงหมายเลข 2 ถนนมิตรภาพ) จากนั้นมุ่งหน้าสู่จังหวัดนครราชสีมา

เส้นทางที่ 3 จากกรุงเทพฯไป จ.นครนายก (ทางหลวงหมายเลข 305) – อ.บ้านนา (ทางหลวงหมายเลข 3051) – อ.แก่งคอย (ทางหลวงหมายเลข 3222) – อ.ปากช่อง (ทางหลวงหมายเลข 2 ถนนมิตรภาพ) จากนั้นมุ่งหน้าสู่จังหวัดนครราชสีมา หรือจากอ.บ้านนาไร่ ใช้ทางหลวงหมายเลข 33 มุ่งหน้าสู่อ.กบินทร์บุรีสู่อ.อรัญประเทศ

เส้นทางที่ 4 จากกรุงเทพฯไป จ.ฉะเชิงเทรา (ทางหลวงหมายเลข 314 หรือ ทางหลวงหมายเลข 304) –   
อ.พนมสารคาม – อ.กบินทร์บุรี – อ.วังน้ำเขียว – อ.ปักธงชัย (ทางหลวงหมายเลข 304) จากนั้นมุ่งหน้าสู่จังหวัดนครราชสีมา

เส้นทางที่ 5 จากกรุงเทพฯไป อ.วังน้อย (ทางหลวงหมายเลข 1 ถนนพหลโยธิน) – จ.สระบุรี – อ.ปากช่อง     – อ.สีคิ้ว (ทางหลวงหมายเลข 2 ถนนมิตรภาพ) – ทางหลวงพิเศษหมายเลข 6 (ทางเบี่ยงที่กม.65+200) จากนั้นมุ่งหน้าสู่จังหวัดนครราชสีมา

กรุงเทพฯ – ภาคตะวันออก
เส้นทางที่ 1 จากกรุงเทพฯไป จ.ชลบุรี (ทางหลวงพิเศษหมายเลข 7 สาย กรุงเทพฯ – ชลบุรี – พัทยา)

เส้นทางที่ 2 จากกรุงเทพฯไป อ.บางปะกง (ทางหลวงหมายเลข 34 ถนนบางนา-ตราด) จากนั้นมุ่งหน้าสู่จังหวัดชลบุรี โดยใช้ทางหลวงหมายเลข 3 ถนนสุขุมวิท

เส้นทางที่ 3 จากกรุงเทพฯไป อ.พนัสนิคม – จ.ชลบุรี (ทางหลวงหมายเลข 304)

เส้นทางที่ 4 จากกรุงเทพฯไปทางหลวงหมายเลข 34 ถนนเทพรัตน – ทางพิเศษบูรพาวิถี (บางนา – ชลบุรี)จากนั้นมุ่งหน้าสู่จังหวัดชลบุรี โดยใช้ทางหลวงหมายเลข 3 ถนนสุขุมวิท

กรุงเทพฯ – ภาคใต้ 
เส้นทางที่ 1 จากกรุงเทพฯไป จ.สมุทรสาคร – จ.สมุทรสงคราม (ทางหลวงหมายเลข 35) – แยกวังมะนาว – จ.เพชรบุรี (ทางหลวงหมายเลข 4 ถนนเพชรเกษม) จากนั้นมุ่งหน้าสู่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์

เส้นทางที่ 2 จากกรุงเทพฯไป อ.สามพราน – อ.นครชัยศรี – จ.นครปฐม – จ.ราชบุรี – แยกวังมะนาว –  จ.เพชรบุรี (ทางหลวงหมายเลข 4 ถนนเพชรเกษม) จากนั้นมุ่งหน้าสู่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์

เส้นทางที่ 3 จากกรุงเทพฯไป ถนนบรมราชชนนี (ทางหลวงหมายเลข 338 ปิ่นเกล้า – นครชัยศรี) – อ.นครชัยศรี –จ.นครปฐม – จ.ราชบุรี – แยกวังมะนาว – จ.เพชรบุรี (ทางหลวงหมายเลข 4 ถนนเพชรเกษม) จากนั้นมุ่งหน้าสู่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์

หากประชาชนต้องการสอบถามข้อมูลการเดินทางเพิ่มเติมหรือแจ้งเหตุด่วนเหตุร้ายระหว่างเดินทาง สามารถติดต่อได้ที่สายด่วนกรมทางหลวง 1586 (โทรฟรีทุกเครือข่ายตลอด 24 ชั่วโมง) สายด่วนมอเตอร์เวย์ 1586 กด 7 และตำรวจทางหลวง 1193
#กระทรวงคมนาคม
#กรมทางหลวง
#เดินทางอุ่นใจปลอดภัยไปกับกรมทางหลวง
#สายด่วนกรมทางหลวง1586

Chonburi Sponsored
อำเภอ พนัสนิคม

สมัยเมืองพนัสนิคม ในปี พ.ศ. 2371 กำเนิดเมืองขึ้นในสมัยรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระบรมราชานุญาตให้กลุ่มลาวอาสาปากน้ำมาสร้างภูมิลำเนาขึ้นในพื้นที่รกร้างระหว่างเมืองชลบุรีกับเมืองฉะเชิงเทรา พระราชทานนามเมืองว่าพนัสนิคม (บางเอกสารเขียน“พนัศนิคม”) มีฐานะเป็นเมืองจัตวา ขึ้นกับกรมท่า กรุงเทพมหานคร ให้ท้าวอินทิสาร (บางเอกสารเขียน”อินทพิศาล”) หรือ ท้าวทุม ปลัดลาว เมืองสมุทรปราการ บุตรชายคนโตของท้าวไชย (บางเอกสารเขียน”ศรีวิไชย”) อุปราชเมืองนครพนม ให้เป็นเจ้าเมืองพนัสนิคมคนแรกและพระราชทานราชทินนามและบรรดาศักดิ์ที่พระอินทอาษา (บางเอกสารเขียน“อินทรอาษา, อินทอาสา, อินทราษา“) มีข้อความในพระราชพงศาวดารว่า “พวกลาวอาสาปากน้ำ ตั้งขึ้นเมื่อครั้งในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้าสุลาลัย ภายหลังเมื่อปีชวดสัมฤทธิศก พวกลาวไม่สบาย ขอไปตั้งอยู่ที่เมืองพระรถ จึงโปรดให้ตัดเอาแขวงเมืองชลบุรี เมืองฉะเชิงเทรา มาตั้งเป็นเมืองขึ้นชื่อเมืองพนัศนิคม เจ้าเมืองชื่อพระอินทอาษา” (พระราชพงศาวดาร กรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 3 เล่ม 2 ของ เจ้าพระยาทิพากรวงศ์ ฉบับคุรุสภา พิมพ์ครั้งที่หนึ่ง พ.ศ. 2504 หน้า 180) โดยลาวบุกเบิกเมืองพนัสนิคม เป็นลาวเมืองนครพนม อ้างถึงการอพยพมาสยามครั้งแรกนำโดยท้าวไชย อุปราชเมืองนครพนม เป็นโอรสในพระบรมราชา (ท้าวกู่แก้ว) เจ้าเมืองนครพนม (เมืองนครพนมในอดีต เป็นหัวเมืองในราชอาณาจักรล้านช้างเวียงจันทน์ ประเทศราชของสยาม) ไม่สมัครใจอยู่ในปกครองของพระบรมราชา (มัง) เจ้าเมืองนครพนมคนใหม่ จึงอพยพพาสมัครพรรคพวก บุตรหลาน ท้าวเพี้ย ขอพึ่งพระบรมโพธิสมภารพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย เมื่อกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2352 และโปรดเกล้าฯให้ตั้งบ้านเรือนอยู่คลองมหาวงษ์ เมืองสมุทรปราการ ยุคนั้นจึงเรียกคนกลุ่มนี้ว่าพวกลาวอาสาปากน้ำ แต่ทนสภาพแวดล้อมไม่ไหว เพราะเป็นชาวดอนน้ำจืด ถูกให้ไปอยู่เมืองลุ่มน้ำกร่อยและเค็ม เลยขอเปลี่ยนไปอยู่ที่อื่น ซึ่งสภาพใกล้เคียงที่ดอน ลาวนครพนมกลุ่มนี้ได้บุกเบิกสร้างเมืองพนัสนิคม