Chonburi Sponsored

พายุฤดูร้อนพัดถล่มบ้านเรือนประชาชนใน อ.พนัสนิคม จ.ชลบุรี หลังคาปลิวว่อน 100 หลัง

Chonburi Sponsored
Chonburi Sponsored

เผยแพร่:   ปรับปรุง: โดย: ผู้จัดการออนไลน์



ศูนย์ข่าวศรีราชา –
พายุฤดูร้อนพัดถล่มบ้านเรือนประชาชนในชุมชนบ้านนาวังหิน อ.พนัสนิคม จ.ชลบุรี หลังคาปลิวว่อนรวม 100 หลัง ต้นไม้หักโค่นจำนวนมากโชคดีไม่มีใครเสียชีวิตจากเหตุการณ์ดังกล่าว

ผู้สื่อข่าวรายงานว่าเมื่อเวลา 16.00 น.วันนี้ ( 24 เม.ย.) ได้เกิดพายุฤดูร้อนพัดถล่มชุมชุนบ้านน้ำซับ ม. 10 ต.นาวังหิน อ.พนัสนิคม จ.ชลบุรี จนทำให้มีต้นไม้หักโค่นเป็นจำนวนมาก นอกจากนั้นยังมีบ้านเรือนประชาชนถูกลมพัดหลังคาปลิวว่อนกว่า 100 หลัง รวมทั้งร้านสะดวกซื้อในตลาดสดริมข้างทาง รวมถึงลานจอดรถและศาลารอรถก็ได้รับความเสียหายเช่นกัน

จากการสอบถาม น.ส.ปรียานุส นิยม อายุ 33 ปี ชาวบ้าน ต.นาวังหิน อ.พนัสนิคม ซึ่งเป็นหนึ่งในผู้ที่ได้รับความเสียหายบอกว่าขณะกำลังนั่งเล่นอยู่ภายในบ้านได้เกิดลมกรรโชกก่อนจะมีฝนตกอย่างหนักและ เพียงไม่ถึง 3 นาทีหลังคาบ้านและข้าวของที่อยู่ภายในบ้าน รวมไปถึงร้านขายของในตลาดก็ถูกลมพัดได้รับความเสียหาย และยังพัดต้นไม้ขนาดใหญ่หักโค่น


ด้าน ร้อยตรีศราวุธ กรจิระเจริญ นายอำเภอพนัสนิคม และนายมานพ สีนวล นายกเทศบาลตำบลนาวังหิน ได้เร่งลงพื้นที่ตรวจสอบความเสียหาย โดยเบื้องต้นพบว่ามีบ้านเรือนประชาชนถูกพายุพัดหลังคาปลิวว่อนจำนวน 100 หลัง

โดยเจ้าหน้าที่งานป้องกันและบรรเทาสาธารณะภัย จะเร่งให้การช่วยเหลือในเบื้องต้นก่อน พร้อมทั้งเร่งเปิดเส้นทางจราจรที่มีต้นไม้หักโค่น รวมทั้งหาที่พักอาศัยให้กับผู้ประสบภัยก่อนประเมินมูลค่าความเสียหายเพื่อให้การเยียวยาต่อไป

Chonburi Sponsored
อำเภอ พนัสนิคม

สมัยเมืองพนัสนิคม ในปี พ.ศ. 2371 กำเนิดเมืองขึ้นในสมัยรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระบรมราชานุญาตให้กลุ่มลาวอาสาปากน้ำมาสร้างภูมิลำเนาขึ้นในพื้นที่รกร้างระหว่างเมืองชลบุรีกับเมืองฉะเชิงเทรา พระราชทานนามเมืองว่าพนัสนิคม (บางเอกสารเขียน“พนัศนิคม”) มีฐานะเป็นเมืองจัตวา ขึ้นกับกรมท่า กรุงเทพมหานคร ให้ท้าวอินทิสาร (บางเอกสารเขียน”อินทพิศาล”) หรือ ท้าวทุม ปลัดลาว เมืองสมุทรปราการ บุตรชายคนโตของท้าวไชย (บางเอกสารเขียน”ศรีวิไชย”) อุปราชเมืองนครพนม ให้เป็นเจ้าเมืองพนัสนิคมคนแรกและพระราชทานราชทินนามและบรรดาศักดิ์ที่พระอินทอาษา (บางเอกสารเขียน“อินทรอาษา, อินทอาสา, อินทราษา“) มีข้อความในพระราชพงศาวดารว่า “พวกลาวอาสาปากน้ำ ตั้งขึ้นเมื่อครั้งในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้าสุลาลัย ภายหลังเมื่อปีชวดสัมฤทธิศก พวกลาวไม่สบาย ขอไปตั้งอยู่ที่เมืองพระรถ จึงโปรดให้ตัดเอาแขวงเมืองชลบุรี เมืองฉะเชิงเทรา มาตั้งเป็นเมืองขึ้นชื่อเมืองพนัศนิคม เจ้าเมืองชื่อพระอินทอาษา” (พระราชพงศาวดาร กรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 3 เล่ม 2 ของ เจ้าพระยาทิพากรวงศ์ ฉบับคุรุสภา พิมพ์ครั้งที่หนึ่ง พ.ศ. 2504 หน้า 180) โดยลาวบุกเบิกเมืองพนัสนิคม เป็นลาวเมืองนครพนม อ้างถึงการอพยพมาสยามครั้งแรกนำโดยท้าวไชย อุปราชเมืองนครพนม เป็นโอรสในพระบรมราชา (ท้าวกู่แก้ว) เจ้าเมืองนครพนม (เมืองนครพนมในอดีต เป็นหัวเมืองในราชอาณาจักรล้านช้างเวียงจันทน์ ประเทศราชของสยาม) ไม่สมัครใจอยู่ในปกครองของพระบรมราชา (มัง) เจ้าเมืองนครพนมคนใหม่ จึงอพยพพาสมัครพรรคพวก บุตรหลาน ท้าวเพี้ย ขอพึ่งพระบรมโพธิสมภารพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย เมื่อกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2352 และโปรดเกล้าฯให้ตั้งบ้านเรือนอยู่คลองมหาวงษ์ เมืองสมุทรปราการ ยุคนั้นจึงเรียกคนกลุ่มนี้ว่าพวกลาวอาสาปากน้ำ แต่ทนสภาพแวดล้อมไม่ไหว เพราะเป็นชาวดอนน้ำจืด ถูกให้ไปอยู่เมืองลุ่มน้ำกร่อยและเค็ม เลยขอเปลี่ยนไปอยู่ที่อื่น ซึ่งสภาพใกล้เคียงที่ดอน ลาวนครพนมกลุ่มนี้ได้บุกเบิกสร้างเมืองพนัสนิคม