Chonburi Sponsored

สยาม ฮิตาชิ เอลลิเวเตอร์ ผ่าวิกฤติโควิด-19 เดินหน้าส่งเสริมพนักงานและเศรษฐกิจในชุมชนผ่าน 3 โครงการ

Chonburi Sponsored
Chonburi Sponsored

บริษัท สยามฮิตาชิ เอลลิเวเตอร์ จำกัด บริษัทร่วมทุนกลุ่มสยามกลการ เปิดตัวโครงการ CSR ภายใต้คอนเซ้ปต์ Happiness Together  ผ่าน 3 โครงการ  ได้แก่ โครงการแปลงสาธิตสวน..เปิ้นกะตั๋ว   โครงการส่งเสริมวิสาหกิจชุมชนแปรรูปข้าวบ้านเนินตามาก และโครงการสนับสนุนและส่งเสริมผู้พิการให้มีงานทำ ภายใต้การดำเนินงานตามหลัก 3 ส. คือ ส่งเสริม  สนับสนุน และการมีส่วนร่วม เดินหน้านำพาพนักงานในองค์กรและชุมชนรอบข้างให้อยู่แบบพอเพียงและพึ่งพาตนเองได้ ฝ่าวิกฤติเศรษฐกิจและโควิด-19 ไปได้ด้วยรอยยิ้มและความสุข

คุณฉัตรชัย  เล้าตระกูล กรรมการผู้จัดการ บริษัท สยาม ฮิตาชิ เอลิเวเตอร์ จำกัด กล่าวว่า สยาม ฮิตาชิฯ เป็นบริษัทที่ดำเนินธุรกิจผลิตและจัดจำหน่ายลิฟท์โดยสาร บันไดเลื่อน และทางเลื่อนพร้อมอุปกรณ์ในช่วงภาวะวิกฤตโควิด-19 ตั้งแต่ต้นปี 2563 เป็นต้นมา พนักงานบางส่วนได้รับผลกระทบจากวิกฤติ ทางบริษัท ได้มองเห็นถึงปัญหาและช่วยสนับสนุนให้มีกิจกรรมหลังเลิกงาน เพื่อสร้างรายได้หมุนเวียนให้กับพนักงาน ประกอบกับมีนโยบายการทำ CSR ควบคู่กับการดำเนินธุรกิจ จึงได้จัดตั้งโครงการเพื่อส่งเสริมโรงงานอุตสาหกรรมให้มีความรับผิดชอบต่อสังคมและชุมชนอย่างยั่งยืน จำนวน 3 โครงการด้วยกัน ได้แก่ 1) โครงการแปลงสาธิต สวน..เปิ้นกะตั๋ว  2) โครงการส่งเสริมวิสาหกิจชุมชนแปรรูปข้าวบ้านเนินตามาก และ 3) โครงการสนับสนุนและส่งเสริมผู้พิการให้มีงานทำ เพื่อดูแลผลผลิตทางการเกษตร โดยนำ 3 คุณสมบัติของหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง (Sufficiency Economy Philosophy)   ในด้านความพอประมาณ ความมีเหตุผล และภูมิคุ้มกัน ของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพล  อดุลยเดชมหาราช  บรมนาถบพิตร มาเป็นแนวทางในการดำเนินโครงการ CSR ทั้ง 3 โครงการ ภายใต้การดำเนินงานด้วยหลัก 3 ส คือ  ส่งเสริม  สนับสนุน และการมีส่วนร่วม นอกจากนี้ ได้จัดตั้งคณะกรรมการและคณะทำงานด้านความรับผิดชอบต่อสังคมของบริษัทขึ้นมา เพื่อขับเคลื่อนโครงการให้เป็นรูปธรรมมากขึ้น  และให้พนักงานมีส่วนร่วมในกิจกรรมทุกโครงการ เพื่อเรียนรู้และนำไปพัฒนาต่อยอดเพื่อช่วยเหลือตนเองได้ 

คุณตันติกร ชัยนันท์   หัวหน้าโครงการส่งเสริม CSR ของสยาม ฮิตาชิฯ ได้กล่าวเพิ่มเติมว่า จุดเริ่มต้นของการทำโครงการ CSR เริ่มมาจากปี 2563 ได้มีการจัดตั้งโครงการส่งเสริมวิสาหกิจชุมชนแปรรูปข้าวบ้านเนินตามากขึ้น เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนโรงสีชุมชนบ้านเนินตามากเพื่อนำมาประกอบอาหารให้กับพนักงานได้รับประทานฟรี โดยโรงสีข้าวแห่งนี้เกิดขึ้นจากแนวความคิดของผู้นำหมู่บ้าน หมู่ที่ 7 ตำบลโคกเพลาะ อำเภอพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี ร่วมกับชาวบ้านในหมู่บ้าน เพื่อสร้างรายได้ในชุมชน เช่น การสีข้าวและจำหน่ายให้แก่สมาชิกกลุ่มและบุคคลทั่วไป  ทางบริษัทฯ เห็นควรที่จะเข้าไปสนับสนุน  จึงมีการทำสัญญาจัดซื้อข้าวสารเพื่อจัดส่งให้แก่ครัวของบริษัท

ในปี 2564 ทางสยาม ฮิตาชิฯ ได้จัดตั้งอีก 2 โครงการ ได้แก่  โครงการสนับสนุนและส่งเสริมผู้พิการให้มีงานทำ เพื่อดูแลผลผลิตทางการเกษตร โดยร่วมมือและจัดทำ MOU ระหว่างศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีทางการเกษตรประจำตำบลโคกเพลาะ และองค์การบริหารส่วนตำบลโคกเพลาะ เพื่อส่งเสริมผู้พิการให้มีงานทำ ด้วยการเพาะเห็ดนางฟ้าและปลูกผักปลอดสารพิษ โดยผลผลิตที่ได้ทางบริษัทสยาม ฮิตาชิฯ ได้นำกลับมาประกอบอาหารให้พนักงานได้รับประทาน และแจกจ่ายผลผลิตให้กับโรงเรียนในเขตพื้นที่ใกล้เคียง  เพื่อส่งเสริมอาหารกลางวันแก่เด็กนักเรียนและผู้ยากไร้ในชุมชน นอกจากนี้ ได้จัดตั้งโครงการแปลงสาธิตสวน…เปิ้นกะตั๋วขึ้น โดยเริ่มการทำแปลงสาธิตปลูกผักไร้สาร เป็นจำนวน 5 แปลง เพื่อเป็นตัวอย่างให้กับพนักงานและให้ความรู้เพื่อถ่ายทอดในการนำไปปลูกผักต่อไป  

คุณตันติกรได้สรุปทิ้งท้ายว่า โครงการ CSR ทั้ง 3 โครงการ ได้ดำเนินงานตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง  และแนวคิดระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) ทั้งนี้ เพื่อช่วยส่งเสริม สนับสนุนทรัพยากรแวดล้อมที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด  สร้างการมีส่วนร่วมในชุมชนและพนักงานในบริษัท หมุนเวียนวัตถุดิบ แล้วแปลงเป็นสินค้า ทั้งหมดนี้คือคุณประโยชน์ของการดำเนินโครงการ CSR ตามหลัก 3 ส. ที่ได้วางไว้เพื่อเข้าสู่มิติภาคปฏิบัติแบบยั่งยืนได้ต่อไป 


Chonburi Sponsored
อำเภอ พนัสนิคม

สมัยเมืองพนัสนิคม ในปี พ.ศ. 2371 กำเนิดเมืองขึ้นในสมัยรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระบรมราชานุญาตให้กลุ่มลาวอาสาปากน้ำมาสร้างภูมิลำเนาขึ้นในพื้นที่รกร้างระหว่างเมืองชลบุรีกับเมืองฉะเชิงเทรา พระราชทานนามเมืองว่าพนัสนิคม (บางเอกสารเขียน“พนัศนิคม”) มีฐานะเป็นเมืองจัตวา ขึ้นกับกรมท่า กรุงเทพมหานคร ให้ท้าวอินทิสาร (บางเอกสารเขียน”อินทพิศาล”) หรือ ท้าวทุม ปลัดลาว เมืองสมุทรปราการ บุตรชายคนโตของท้าวไชย (บางเอกสารเขียน”ศรีวิไชย”) อุปราชเมืองนครพนม ให้เป็นเจ้าเมืองพนัสนิคมคนแรกและพระราชทานราชทินนามและบรรดาศักดิ์ที่พระอินทอาษา (บางเอกสารเขียน“อินทรอาษา, อินทอาสา, อินทราษา“) มีข้อความในพระราชพงศาวดารว่า “พวกลาวอาสาปากน้ำ ตั้งขึ้นเมื่อครั้งในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้าสุลาลัย ภายหลังเมื่อปีชวดสัมฤทธิศก พวกลาวไม่สบาย ขอไปตั้งอยู่ที่เมืองพระรถ จึงโปรดให้ตัดเอาแขวงเมืองชลบุรี เมืองฉะเชิงเทรา มาตั้งเป็นเมืองขึ้นชื่อเมืองพนัศนิคม เจ้าเมืองชื่อพระอินทอาษา” (พระราชพงศาวดาร กรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 3 เล่ม 2 ของ เจ้าพระยาทิพากรวงศ์ ฉบับคุรุสภา พิมพ์ครั้งที่หนึ่ง พ.ศ. 2504 หน้า 180) โดยลาวบุกเบิกเมืองพนัสนิคม เป็นลาวเมืองนครพนม อ้างถึงการอพยพมาสยามครั้งแรกนำโดยท้าวไชย อุปราชเมืองนครพนม เป็นโอรสในพระบรมราชา (ท้าวกู่แก้ว) เจ้าเมืองนครพนม (เมืองนครพนมในอดีต เป็นหัวเมืองในราชอาณาจักรล้านช้างเวียงจันทน์ ประเทศราชของสยาม) ไม่สมัครใจอยู่ในปกครองของพระบรมราชา (มัง) เจ้าเมืองนครพนมคนใหม่ จึงอพยพพาสมัครพรรคพวก บุตรหลาน ท้าวเพี้ย ขอพึ่งพระบรมโพธิสมภารพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย เมื่อกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2352 และโปรดเกล้าฯให้ตั้งบ้านเรือนอยู่คลองมหาวงษ์ เมืองสมุทรปราการ ยุคนั้นจึงเรียกคนกลุ่มนี้ว่าพวกลาวอาสาปากน้ำ แต่ทนสภาพแวดล้อมไม่ไหว เพราะเป็นชาวดอนน้ำจืด ถูกให้ไปอยู่เมืองลุ่มน้ำกร่อยและเค็ม เลยขอเปลี่ยนไปอยู่ที่อื่น ซึ่งสภาพใกล้เคียงที่ดอน ลาวนครพนมกลุ่มนี้ได้บุกเบิกสร้างเมืองพนัสนิคม